“ศบค.” เตรียมพิจารณาแผนรับมือ เป็นโรคเฝ้าระวัง 1 ต.ค.นี้

เลขาฯสมช.เผยที่ประชุม ศบค. เตรียมพิจารณาแผนกระจายยารักษาโควิด-19 พิจารณาแผนรับมือการประกาศเป็นโรคเฝ้าระวัง 1 ตุลาคมนี้ ประเมินอีกครั้งยุบศบค.

18 ส.ค.65.-พลเอกสุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เปิดเผยว่าการประชุม ศบค.ในวันพรุ่งนี้จะมีการพิจารณาข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขที่จะกำหนดกรอบแนวทางโรค โควิด-19 เป็นโรคที่จะต้องเฝ้าระวัง 1 ตุลาคมนี้ เพราะที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ โควิด-19 ศบค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อประกาศเป็นโรคเฝ้าระวังแล้วจะยุบ ศบค.หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และต้องประเมินสถานการณ์ว่าจำเป็นจะต้องใช้กฎหมายพิเศษหรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ข้อเสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการขยายเวลาการเปิดผับจนถึงเวลาตี 4 นั้น ในวันพรุ่งนี้ในที่ประชุม กระทรวงการท่องเที่ยวฯก็จะไม่เสนอเรื่องนี้ แต่หากมีการเสนอ ทาง ศบค.ก็ต้องให้ข้อกังวลว่าจะส่งผลกระทบด้านใดบ้าง พร้อมกันนี้รับทราบสถานการณ์ภาพรวมของการติดเชื้อโรคภูมิภาคและในประเทศไทย โรับทราบรายงานสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจตัวเลขต่างๆที่เติบโตขึ้นรวมถึงข้อจำกัดที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม รวมถึงรายงานสถานการณ์การเปิดด่านใช้แดนที่เปิดมาได้หนึ่งเดือนกว่าว่ามีความคืบหน้าอย่างไร มีความติดขัดหรือต้องปรับปรุงอย่างไร ภายใต้การควบคุมที่ให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้นกว่านี้ รวมถึงแผนการกระจายยา ยกระดับให้ดีขึ้น หลังจากที่กระจายไปยังโรงพยาบาลเอกชน และคลินิกเวชกรรมแล้ว ต่อไปก็จะขยายไปยังร้านขายยาชั้นหนึ่งให้จำหน่ายยาได้ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์

นอกจากนี้ที่ประชุมเตรียมพิจารณาแผนที่ต้องชัดเจน ไปสู่โรคติดต่อไม่ร้ายแรงหรือประกาศเป็นโรคประจำถิ่นโดยจะมีการเสนอในที่ประชุมให้รับทราบและย้ำว่าเรื่องนี้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติที่สามารถพิจารณาได้อยู่แล้วโดยคณะแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการโรคติดต่อ โดยจะต้องมีการเตรียมแผนประเมินสถานการณ์ไว้หากมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุขก็จะพิจารณาจะปรับอย่างไรก็ต้องว่าไปตามนั้น แต่ในแผนนี้มีความสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนเนื่องจากต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปเตรียมแผนรองรับอีก โดยใช้กลไก พ.ร.บ.โรคติดต่อแห่งชาติ และจะต้องมีการพิจารณา กฎหมายพิเศษอื่นๆอีกหรือไม่ ทั้งนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดก็จะทำงานเป็นหมวกสองใบคือมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเตรียมในพื้นที่ตามกรอบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุข เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครก็ต้องเตรียมบูรณาการจังหวัดข้างเคียงพื้นที่แปลงใหญ่ปริมณฑลซึ่งมีความเชื่อมโยงกันค่อนข้างมีความใกล้ชิดเพื่อให้ทุกส่วนได้เตรียมการไว้ โดยการประชุมพรุ่งนี้จะสรุปแผนอย่างชัดเจน

เลขาฯสมช. ยังย้ำว่าเมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงแล้ว ยังจำเป็นต้องใช้กฎหมายฉุกเฉินหรือไม่นั้นเห็นว่า ขณะนี้ยังใช้อยู่เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องกำกับควบคุมคนเดินทางเข้าออกประเทศ และห้ามในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะก่อเกิดให้เกิดโรคระบาด ซึ่งเมื่อดูเหมือนตัวเลขพบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่มาตรการในการรองรับทั้งการรักษาพยาบาลการกระจายยาการดูแลรักษาตนเองของผู้ป่วย ที่ประชาชนดำเนินการอยู่เป็นไปในทิศทางที่ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สภาองค์กรของผู้บริโภค ร้อง "ผู้ว่าฯกทม." เร่งตรวจสอบความปลอดภัยอาคารสูง 50 เขต ภายใน 30 วัน หลัง 11 ชุมชน แจ้งเบาะแส พบบางแห่ง ทำผิดกม.
ชี้เป้า วิธีจ่ายค่าไฟ แบบไม่มีค่าธรรมเนียม
"นายกฯ" ไข้กลับ หน้าซีด อ่อนเพลีย หลังลงพื้นที่นครพนม เรียกทีมแพทย์เช็กอาการด่วน
"CPF เคียงข้างยามวิกฤต" ชวนคนไทยส่งต่อพลังแห่งการให้ รพ.รามาธิบดี
"อธิบดีกรมอุทยานฯ" แจงยิบปมเงินรายได้ ยอมรับเตรียมปลด ‘ทราย สก๊อต’ พ้นที่ปรึกษา เหตุทัศนคติไม่ตรงกัน วอนรถทัวร์ดูข้อเท็จจริง
"พิพัฒน์" นำทีมเยี่ยมกลุ่มอาชีพอิสระ เครือข่ายแรงงาน นครพนม รับฟังปัญหา พร้อมเดินหน้ากองทุนหนุนพัฒนาอาชีพ
ATC ยื่นจม.ฉบับ 2 ขอ “นายกฯ” เร่งแจงข้อเท็จจริง ปมตึกสตง.ถล่ม ภายใน 15 วัน
สนามไชย 2 ชู "โครงการพระราชดำริ" มุ่งพัฒนาคน-ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต
"ดีเอสไอ" เตรียมเรียก "40 วิศวกร" ร่วมออกแบบ-ก่อสร้าง สอบข้อเท็จจริง ปมตึกสตง.ถล่ม
"นายกฯ“ กราบสักการะพระธาตุประสิทธิ์ นครพนม ขอปชช.มั่นใจ รัฐบาลพร้อมทำเต็มที่ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น