“นายกฯตู่” ย้ำทุกหน่วยงาน รักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ หลังถูกแฮกถี่

นายกรัฐมนตรีกำชับทุกหน่วยงานให้ความสำคัญการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ หลัง กมช. ประเมินแนวโน้มเหตุการณ์ภัยคุกคามและมูลค่าความเสียหายมีมากขึ้น

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้กำชับทุกส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการมีมาตรการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เก็บรักษาฐานข้อมูลที่สำคัญของประชาชน เนื่องจากแนวโน้มของเหตุการณ์และมูลค่าความเสียหายที่มาจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สูงขึ้น ตามจำนวนผู้ใช้และเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตและดิจิทัล

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ รัฐบาลได้วางกลไกการเฝ้าระวังและรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ผ่านคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) และมีสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยดำเนินการในทางปฏิบัติตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา โดยมีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายหลักในการกำหนดภารกิจ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ล่าสุด กมช. ได้รายงานถึงการดำเนินงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.2564-มี.ค.2565) พบว่ามีเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐ 144 ครั้ง แยกประเภทภัยคุกคามที่พบมากที่สุดได้ ดังนี้ 1. Hacked Website ซึ่งเป็นลักษณะของการพนันออนไลน์ การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website Defacement) 52 ครั้ง 2. ข้อมูลรั่วไหล 26 ครั้ง 3. จุดอ่อนช่องโหว่ 23 ครั้ง 4. Ransomware หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ 11 ครั้ง และ5. อื่นๆ 32 ครั้ง

สำหรับประเภทของหน่วยงานที่ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. หน่วยงานด้านการศึกษา 36 ครั้ง 2. หน่วยงานด้านสาธารณสุข 29 ครั้ง 3. หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ 24 ครั้ง 4.หน่วยงานด้านพลังงานและสาธารณูปโภค 8 ครั้ง และ 5. ผู้ประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่เว็บไซต์หรือที่เป็นดาต้าเซ็นเตอร์ 7 ครั้ง โดยศูนย์ประสานรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศปช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ สกมช. ได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยปฏิบัติการต่างๆ ตามขั้นตอน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กมช. ได้ประเมินแนวโน้มเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ว่า การโจมตีด้วยการปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) มีโอกาสพบบ่อยครั้งและอาจมีรูปแบบที่แตกต่างไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และช่องทางการโจมตี หรือการโจมตีบนคลาวด์ก็อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นการโจมตีที่ทำได้ง่ายและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง สำหรับกรณีข้อมูลรั่วไหลในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและจะก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายแก่องค์กรเป็นจำนวนมาก

“นายกรัฐมนตรีให้ทุกหน่วยงานเพิ่มความเข้มข้นในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการประสานงานรับคำปรึกษาจาก ศปช. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ สกมช. เพื่อให้มีแนวทางในการป้องกัน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือแนวทางปฏิบัติสากล ทั้งการเตรียมการและป้องกันการเกิดภัยคุกคาม การตรวจจับและวิเคราะห์ภัยคุกคาม การระงับและปราบปรามภัยคุกคาม และการฟื้นฟูระบบงานเกิดผลกระทบ เป็นต้น” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เกมแล้ว! หนุ่มแต่งรถประดับไฟสี ธีมคริสต์มาส ขับเฉิดฉายทั่วถนน ปรับฉ่ำๆ 2 ข้อหา
แจ้ง 4 ข้อหาหนัก 'อส.เมากร่าง' ยิงสนั่นกลางร้านข้าวต้ม ดับ 2 ศพ เปิดวงจรปิดอีกมุม เห็นวินาทีก่อเหตุชัด
ตร.ไซเบอร์ ขยายผลตามรวบ "ผู้จัดหาบัญชีม้า" แก๊งลวง "ชาล็อต" กว่า 4 ล้านบาท
“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี
เวียงแหงโมเดล! เยาวชนคนรุ่นใหม่ One Young World เครือซีพี ปักธง FIGHT หมอกควันชายแดนไทย-พม่า เรียนรู้-ชวนชุมชมร่วมลด PM 2.5
ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล
กรมวิทย์ฯ บริการ มอบของขวัญปีใหม่ประชาชน 2568 ..ฟรี !! ฝึกอบรมเสริมทักษะด้าน วทน. ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นขอการรับรองทุกขอบข่าย เสริมความสามารถของห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล
"ณเดชน์-เบลล่า" ขึ้นแท่นดาราแห่งปี "หมูเด้ง" ข่าวเด่นแห่งปีของจริงกลบทุกกระแส
เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น