งวดเข้ามาทุกทีกับประเด็นการนับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่เกิน 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรค 4 ที่ระบุว่า “ นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง” อย่างที่ทราบว่าเรื่องนี้กลายเป็น “ประเด็นร้อน” ที่ฝ่ายค้านฝ่ายตรงข้าม หยิบมาเป็นข้ออ้างในการรุกไล่ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ให้พ้นไปจากตำแหน่งผู้นำ หลังนั่งเป็นนายกฯบริหารประเทศมา 7 ปีเศษแล้ว อย่างที่ทราบว่าความเห็นในการนับวาระการดำรงตำแหน่งของพล.อ.ประยุทธ์ถูกมองออกมาเป็นหลายมุม จากบุคคลหลากหลายฝ่ายมากมายในสังคม แต่เท่าที่สดับตรับฟังมาจากผู้รู้ บุคคลหลากหลายวงการ มัดรวมกันแล้วพอจะเห็นแนวทางการตีความเรื่องนี้ออกเป็น 3 แนวทาง
แนวทางแรกคือการนับวาระการดำรงตำแหน่งของพล.อ.ประยุทธ์นับตั้งแต่การเป็นนายกฯครั้งแรกเมื่อ 24 ส.ค.2557 ภายหลังก่อรัฐประหารเข้าควบคุมอำนาจบริหารประเทศ ก่อนจะได้รับการโปรดเกล้าเป็นนายกฯ แนวทางนี้เห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์จะครบวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่เกิน 8 ปี ในวันที่ 23 ส.ค.2565 นี้ แนวทางที่สองคือให้นับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ ต้องเริ่มจากวันที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน คือนับตั้งแต่ 6 เม.ย.2560 แนวทางนี้เห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์จะครบวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่เกิน 8 ปี ในวันที่ 5 เม.ย.2568 คือ เหลือเวลาเป็นนายกฯได้อีก 2 ปีเศษ แนวทางที่สามคือให้นับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ จากวันที่ขึ้นเป็นนายกฯสมัย 2 ตามรัฐธรรมนูญ 2560 คือตั้งแต่ 9 มิ.ย.2562 แนวทางนี้เห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์จะครบวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่เกิน 8 ปี ในวันที่ 8 มิ.ย.2570 คือ เหลือเวลาเป็นนายกฯได้นานถึง 4 ปีเศษ ความจริงการตีความ “ทางออก” ของเรื่องนี้มีถึง 3 ทาง แต่ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล ฝ่ายตรงข้าม ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายแค้น พยายามนำเสนอเรื่องการตีความเพียงมุมเดียว คือ พล.อ.ประยุทธ์ต้องพ้นไป บิ๊กตู่มิควรอยู่ต่อ มาเสนอเป็นคำตอบหลักเพียงทางออกเดียวให้กับประชาชนและสังคมได้รับรู้ ทั้งๆที่ความจริงการดำรงอยู่ของพล.อ.ประยุทธ์ต่อไปนั้น มีผู้รู้อีกมากมายมีคนใหญ่คนโตอีกหลากหลาย ออกมาแสดงความเห็นต่างว่ายังสามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้อีกมาก ไม่ใช่แค่ตีความที่เป็น “โทษ” เพื่อขับไล่ไสส่งให้พล.อ.ประยุทธ์พ้นตำแหน่งไปอย่างเดียว แต่ยังสามารถตีความที่เป็น “คุณ” ให้พล.อ.ประยุทธ์อยู่ต่อไปได้ ทั้งการอยู่ต่ออีก 2 ปี หรืออยู่ยาวไปอีก 4 ปี
เพียงแต่การนำเสนอข่าวของ “สื่อหลัก” หรือ “สื่อในกระแส” ส่วนใหญ่ พุ่งเป้าที่จะเอาความเห็นของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ฝ่ายที่เกลียดพล.อ.ประยุทธ์ ฝ่ายที่อยู่คนละด้านกับรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการให้พล.อ.ประยุทธ์ครบวาระ 8 ปี ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ และต้องพ้นจากความเป็นนายกฯไปในทันที นำเสนอเป็นด้านหลักเผยแพร่เป็นข่าวสำคัญไปสู่ประชาชนและสังคม โดยไม่หยิบความเห็นที่แตกต่าง แง่มุมที่มองตรงกันข้าม โดยเฉพาะประเด็นที่มีผู้รู้หลายคนตีความว่าพล.อ.ประยุทธ์ควรได้ไปต่อ ไม่ว่าจะ 2 ปี หรือ 4 ปี มานำเสนอเพื่อหักล้างหรือเป็นความรู้ในแง่มุมอื่นบ้างให้กับประชาชนหรือสังคมเลย แม้อาจจะมีการนำเสนอจริงแต่ก็ “น้อยมากๆ” ถ้าเทียบกับข่าวในทำนองว่านายกฯต้องพ้นจากตำแหน่งไป ดูเหมือนความมุ่งมั่นที่จะเสนอ “ข่าวร้าย” หวังบดขยี้นายกฯไล่บี้พล.อ.ประยุทธ์มีมากกว่าการนำเสนอ “ข่าวดี” ว่านายกฯได้ไปต่อ ต้องเรียกว่าต่างกันราวฟ้ากับเหว หนำซ้ำล่าสุดยังมีความพยายาม จัดกิจกรรม เปิดโหวต วาระ “นายกรัฐมนตรีควรอยู่เกิน 8 ปีหรือไม่” โดยเครือข่ายนักวิชาการ “เสียงประชาชน” 8 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 8 สื่อสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลและสื่อออนไลน์ เท้าความอ้างเหตุผลว่า ประสบความสำเร็จในการจัดโหวตครั้งแรก จากการให้ประชาชนโหวตความเห็นช่วง ลงมติไว้วางใจ-ไม่ไว้วางใจนายกฯและรัฐมนตรีรวม 11 คน คู่ขนานกับการเปิดศึกซักฟอกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 22-23 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา โดยคราวนั้นมีผู้เข้าร่วมโหวตถึง 524,806 หมายเลข ยกประโยชน์ของการทำว่า ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่เป็นครั้งแรกที่มีการดำเนินการลักษณะที่ทำให้ “เสียงประชาชน” ที่เป็นเจ้าของประเทศ “ดังขึ้น” และ “ มีความหมายมากขึ้น” โดยไม่จำเป็นต้องแสดงออกด้วยการชุมนุมเพียงอย่างเดียว เที่ยวนี้จึงจัดโหวตเป็นครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของนักวิชาการจาก 4 มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเพิ่มมหาวิทยาลัยจากภูมิภาคอีก 4 แห่ง รวมเป็น 8 แห่งประกอบด้วย ธรรมศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.รังสิต, ม.บูรพา, ม.เชียงใหม่, ม.สงขลานครินทร์ และ ม.อุบลราชธานี
ขณะที่สื่อมวลชนที่เข้าร่วมกิจกรรม เดิมมี โทรทัศน์ดิจิทัล 4 ช่อง คือ พีพีทีวี, เนชั่น, ไทยรัฐทีวี และ ช่องเวิร์คพอยท์ แต่เที่ยวนี้มีสื่อโซเชียลมีเดียร่วมด้วยอีก 4 แห่งคือ 1.The Standard 2. the Matter 3.the Momentum และ 4.the Reporters โดยจะมีการเปิดโหวตด้วยคำถามที่ว่า ” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำรงตำแหน่งนายกฯ เกิน 8 ปีหรือไม่? ” โดยจะเปิดให้โหวตตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันเสาร์ที่ 20 ส.ค.และปิดโหวตเวลา 24.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 21 ส.ค. 2565 และประกาศผลในวันจันทร์ที่ 22 ส.ค. 2565 ก่อนหน้าวันเดดไลน์ที่ฝ่ายตรงข้ามมองว่าพล.อ.ประยุทธ์ต้องพ้นตำแหน่งไปในวันที่ 23 ส.ค. เพียง 1 วัน แถมท้ายยังยืนยันวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ “ มิได้มีความมุ่งหมายที่จะดำเนินการในทางที่จะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่นายกฯหรือต่อผู้ใด หากประสงค์ที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ได้แสดงออกซึ่งเสียงประชาชนซึ่งมิได้มีผลทางกฎหมาย แต่คือเสียงประชาชนที่ทุกฝ่ายควรจะได้รับฟัง” พูดจาสวยหรูดูดีมีหลักการ แต่ถามจริงว่าเป้าหมายลึกๆของโครงการนี้ต้องการอะไรกันแน่ ต้องการฟังเสียงของประชาชนจริงๆ หรือ เป็นแนวร่วมฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล โหมกระแสกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ฟันพล.อ.ประยุทธ์ อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ อย่าคิดว่าคนไทยไม่รู้ทัน 8 สื่อกระแสหลัก 4 ทีวีดิจิตอล 4 เพจข่าวออนไลน์ ใครตามการเมืองรู้ดี 8 สื่อนี้อยู่ฝ่ายไหนอยู่พวกใคร นำเสนอข่าวแต่ละเรื่องเขียนข่าวแต่ละวันไล่ตีประยุทธ์ไล่ทุบรัฐบาล สันดานเป็นยังไงธาตุแท้เป็นแบบไหน คนไทยอาจไม่รู้คนนอกอาจไม่ทัน แต่คนในวงการน้ำหมึกคนในแวดวงสื่อด้วยกันเขารู้ทัน “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่” อย่ามาอ้างว่าต้องการฟังเสียงประชาชน แค่คำถามที่ใช้โหวตฟังเสียงจากชาวบ้าน ก็ปลายปิดเป็นอคติกับพล.อ.ประยุทธ์แบบอุบาทว์ ตั้งธงถามชาวบ้านว่า ” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำรงตำแหน่งนายกฯ เกิน 8 ปีหรือไม่ ? ” ขอถามกลับดังๆ ถึงสื่อ 8 เจ้า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ตัดสินเลยว่า 8 ปีนับจากไหน นับยังไง รวบหัวรวบหางตีความตั้งคำถามว่าพล.อ.ประยุทธ์อยู่เกิน 8 ปีหรือไม่ แค่คำถามที่ตั้งไม่ต้องถามคนจบด็อกเตอร์ เด็กป.4 อ่านออกเขียนได้ก็ดูรู้ว่าโคตรอคติเอียงข้างทำลายพล.อ.ประยุทธ์แบบสุดโต่ง
ถ้าเป็นสื่อที่บริสุทธิ์ใจเป็นสื่อที่เป็นกลางจริงเป็นสื่อที่หวังดีคิดดีกับบ้านเมือง ไม่ต้องมาทำโหวตชี้นำสังคมให้แตกแยก เพราะความเห็นเรื่อง 8 ปีพล.อ.ประยุทธ์ ท้ายสุดก็ต้องรอฟังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดลงมา จะให้หยุดจะให้ไปต่อก็ค่อยว่ากัน แต่เป็นสื่อไม่ควรเอาวิชาความรู้ของตัวเอง มาชี้นำสังคมมาชี้โพรงให้กระรอกแบบนี้ บอกตามตรงมันอุบาทว์ เอาตรงๆจัญไรเกินไป พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้โกงสักสลึง ไม่ได้ทำเลวร้ายอะไรกับบ้านเมือง อยู่มา 8 ปี ทำงานหามรุ่งหามค่ำ พาประเทศผ่านวิกฤติมาก็มาก ไม่มีเรื่องเสียหายด่างพร้อย เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งก็เป็นปัญหาที่ต้องตีความทางกฎหมาย มุมมองใครเห็นอย่างไรก็ว่าไป จะคัดค้านจะสนับสนุนอย่างไรก็ไม่ว่ากัน แต่ไม่ควรใช้ความเป็นสื่อเอาความเชี่ยวชาญของตัวเองมาจัดโหวตให้แฟนคลับของตัวเองคล้อยตาม เพราะรู้กันอยู่ว่าสื่อแต่ละเจ้าก็มีธงของตัวเอง มีผลประโยชน์ทับซ้อนกันทั้งนั้น หวังผลโหวตเอาไปกดดันศาลชี้นำสังคมด้วยวิธีการแบบนี้ มันเหมือนประจานกิเลสโชว์ความเงี่ยนของตัวเองที่ต้องการจะไล่พล.อ.ประยุทธ์ผลักไสคนทำดีเพื่อชาติบ้านเมืองมากเกินไป ทำไมไม่บ่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามครรลอง อดใจรอฟังการพิจารณาสุดท้ายคำวินิจฉัยปลายทางจากศาลรัฐธรรมนูญอีกไม่กี่วันจากนี้ไม่ได้เลยหรือ
จรรยาบรรณเอาไปซุกไว้ที่ไหน จริยธรรมที่ชอบเอามาสอนเอาเรียกร้องคนอื่น คุณมึงเอาไปเก็บไว้ที่ใด ถ้าเป็นนายกฯคนที่ตัวเองชอบ เป็นรัฐบาลฝั่งที่ตัวเองชื่นชม ได้ประโยชน์ได้โครงการได้อามิสสินจ้าง ก็อวยกันเช้ายันเย็นชมกันไม่ขาดปาก ทำอะไรผิดก็ไม่เคยตรวจสอบเสียหายอย่างไรก็เห็นในหน้าข่าวบนจอทีวี โกงชาติบ้านเมืองจนฉิบหายก็ไม่เคยต่อว่าท้วงติง วางระเบิดเผาบ้านจุดไฟลามเมือง สร้างกรรมเลวกับแผ่นดินชั่วช้าสารพัดก็ปล่อยไหลไฟเขียวหมด เพราะสมประโยชน์ร่วมกันแต่ปางก่อน “คนชั่ว” กับ “สื่อเลว” ผสมพันธุ์กันบ้านเมืองเลยฉิบหายมาจนถึงวันนี้ คนดีเลยต้องเหนื่อยหนัก สื่อภักดีก็ต้องสู้กับความเลวชนิดถวายหัวเพื่อให้ชาติบ้านเมืองสถาบันดำรงอยู่ จัดโหวตรอบนี้หวังปั่นหัวคนไทยสร้างกระแสชี้นำสังคมให้หลงผิด หวังกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เชือดพล.อ.ประยุทธ์ รับงานฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลต้องการปูทางให้เพื่อไทย สร้างสะพานให้ฝ่ายทักษิณกลับมาครองเมืองอย่างนั้นหรือ สื่อแต่ละแห่ง ยุคนี้ก็รู้กันอยู่ว่ายืนข้างไหน เป็นฝ่ายใคร ตั้งตัวเป็นทีวีโจมตีรัฐบาลวางตัวเป็นเพจสามานย์หวังล้มนายกฯ ด้อยค่าสถาบัน เรื่องพวกนี้คนไทยที่รู้เท่าทันเขาดูรู้เขามองออก ถามหาความรับผิดชอบเรื่อง “ความเป็นกลาง” ของสื่อเหล่านี้คงไม่มี เพราะอินจัดเข้าเส้นกันหมด ชั่วดีถี่ห่างอย่างไรแยกแยะกันไม่ออก จะให้ไปเรียกร้ององค์กรสื่อมาตรวจสอบก็ลำบาก เพราะพวกเดียวกันทั้งนั้น ปากว่าตาขยับมุบมิบช่วยกันเองล้วนๆ
เรื่องอย่างนี้ต้องฝากตรงๆไปถึงรัฐบาล รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงอุตส่าห์เจียดเงินเอางบประมาณไปอุดหนุนยกงบไปประเคนให้ทำโฆษณา สุดท้ายสื่อชั่วก็เอาภาษีชาวบ้านเอางบประมาณที่รัฐให้ไปมาด่ารัฐบาลมาวิพากษ์วิจารณ์นายกฯอีก ถึงเวลาแล้วยังที่พล.อ.ประยุทธ์จะตรวจสอบเมื่อไหร่รัฐบาลจะตาสว่างสักที สื่อหลายแห่งเอางบประมาณที่รัฐให้ไปใช้จ่ายกันแบบระยำตำบอน สุดท้ายก็ใช้งบนั้นมาแว้งกัดพล.อ.ประยุทธ์มาโจมตีรัฐบาลสารพัดเรื่อง วันนี้ได้เวลาแล้วยังที่จะสังฆกรรมเรื่องนี้ ฝากนายกฯส่งคนไปเอ็กซเรย์กันให้ชัดๆ รัฐมนตรีคนไหนเอางบไปถลุงให้สื่อเลวๆ เอาเงินไปให้ประเคนให้สื่อคิดชั่วทำลายชาติทำร้ายสถาบัน เป็นอีแอบโจมตีเจ้านายเป็นผีชั่วร้ายทำลายนายกฯ ตัดงบให้เหี้ยนริบเงินมาให้หมด อย่าเอาเงินไปสนับสนุนให้ใช้แม้แต่บาทเดียว ไม่งั้นสื่อหยาบช้าใจทรามพวกนี้ไม่มีหลาบจำ เรื่องแบบนี้หน่วยงานรัฐต้องเชือดไก่ให้ลิงดู ไม่งั้นสื่อระยำใจบาปพวกนี้ไม่มีทางกลัว เรื่องพรรค์อย่างนี้ไม่เห็นโรงศพไม่หลั่งน้ำตา 8 มหาวิทยาลัยก็ต้องไปตรวจสอบ ครูบาอาจารย์ในความดูแลรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยท่าน ฝักใฝ่ทุนนิยมสามานย์รับงานคนโกงชาติฝ่ายล้มสถาบันหรือไม่ อย่าเอาแต่นั่งกินเงินเดินอมภาษีไปวันๆ อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายแห่งคือตัวดี หลายคนยุยงปลุกปั่นนักศึกษา หลายคนรับงานให้สัมภาษณ์ล้มนายกฯคว่ำรัฐบาล บางคนเขียนบทความโจมตีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เรื่องพวกนี้อธิการบดี ฝ่ายบริหารแต่ละมหาวิทยาลัยต้องลงไปดู อย่าปล่อยให้อาจารย์สายแดงนักวิชาการล้มเจ้าเข้าไปอิงแอบใช้สถานศึกษาอันมีเกียรติของท่าน รับงานคนชั่วเสนอความเห็นในทางอับปรีย์ชี้นำสังคมให้หลงผิด ฝากไว้ด้วยใจพิสุทธิ์ ถ้าท่านเป็นสื่อดี เป็นนักข่าวดี เป็นอาจารย์ดี เป็นมหาวิทยาลัยดี คิดทำแต่เรื่องดีก็ไม่ต้องร้อนตัว เพราะจะมีแต่คนชั่วเท่านั้นที่ถูกบาปกรรมตามสนองลงทัณฑ์
/////////////////