“กอนช.” ประกาศเตือนพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำ เฝ้าระวังน้ำท่วม 22-25 ส.ค.

"กอนช." ประกาศเตือนพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำ เฝ้าระวังน้ำท่วม 22-25 ส.ค.

วันนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. ออกประกาศฉบับที่ 31/2565 เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน โดยรายละเอียดระบุว่า กอนช. ได้ติดตามสถานการณ์ฝนตกบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 19 – 20 สิงหาคม 2565 พบว่าในหลายพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากสะสมมากกว่า 150 มิลลิเมตร ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินคาดการณ์ปริมาณฝนตกในช่วงวันที่ 20 – 22 สิงหาคม 2565 จะมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ 90 มิลลิเมตร และคาดการณ์สถานการณ์น้ำในลำน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 0.50 – 1.00 เมตร จึงขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาไหลหลากเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำเกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ และพื้นที่ชุมชน ในช่วงวันที่ 22 – 25 สิงหาคม 2565 ดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

1.ลุ่มน้ำป่าสัก เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณ อำเภอหล่มเก่า และหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ คาดการณ์ระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำป่าสักประมาณ 0.60 เมตร
2. ลุ่มน้ำชี เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำชี บริเวณ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำยัง บริเวณ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ลำปะทาว บริเวณ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
3. ลุ่มน้ำมูล เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำมูล บริเวณ อำเภอเมืองอุบลราชธานี พิบูลมังสาหาร วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ลำเซบก บริเวณ อำเภอม่วงสามสิบ ดอนมดแดง และตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี ลำโดมใหญ่ บริเวณ อำเภอน้ำยืน นาจะหลวย บุณฑริก เดชอุดม นาเยีย และพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้ 1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

 

2. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ สถานีสูบน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ และระดับน้ำในลำน้ำ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการน้ำบาดาลระยะไกล แก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนน้ำให้แก่ประชาชน ต.นาข่า จ.อุดรธานี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น