“หมอศิริราช” ลุ้นยอดติดเชื้อโควิดรายสัปดาห์ ชี้ข้อดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

“หมอศิริราช” ลุ้นยอดติดเชื้อโควิดรายสัปดาห์ ชี้ข้อดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันนี้ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ผู้ป่วยอาการรุนแรงวันนี้ ลงต่ำกว่า 900 ราย ติดต่อกันเป็นวันที่ 4 แต่ยังต้องรอลุ้นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายสัปดาห์ในวันพรุ่งนี้ว่า จะลงไปต่ำกว่า 2 แสนราย ได้หรือไม่ คงไม่น่ามีข้อสงสัยกันแล้วว่า วัคซีนเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้มนุษยชาติก้าวข้ามวิกฤตการณ์โควิด-19 ไปได้ ตราบใดที่ยังไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ที่แหวกภูมิเดิมอยู่เรื่อยๆ และไม่มีโคโรนาไวรัสอื่นที่มนุษย์ไปเอามาจากการรุกรานสัตว์อื่นที่อยู่ร่วมโลก

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุว่า ในทางสากลการประกาศภาวะฉุกเฉิน ถูกนำมาใช้ในหลายประเทศทั่วโลก เพื่อรับมือโควิด-19 ประกอบด้วยมาตรการ ปิดชายแดน ห้ามจับกลุ่มในที่สาธารณะ งดการพิธีกรรมทางศาสนารวมกัน ปิดเรียน และห้ามออกนอกบ้านเป็นบางเวลา ซึ่งประเทศไทยก็เคยใช้มาครบบ้าง ไม่ครบบ้าง จนปัจจุบันแทบไม่เหลือแล้วแต่ที่ไม่ค่อยพูดถึงกันของที่มาเบื้องหลังซึ่งสำคัญสุดคือ กลไกรัฐ และกระบวนการทางการเมืองปกติไม่สามารถรับมือได้ เพราะประชาชนมีการตอบสนองที่หลากหลาย ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมได้ทันภัยร้ายที่คุกคามชีวิตเร่งด่วน อีกทั้งไม่สามารถบูรณาการระบบปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐได้คล่องแคล่ว ข้อหลังนี้เป็นเพราะบ้านเรามีนักการเมืองฉ้อฉลเข้าไปแทรกแซงข้าราชการประจำมาตลอดเกือบร้อยปี ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 หวังว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าและครั้งต่อๆ ไป จะช่วยให้การเมืองไทยพัฒนาขึ้น หมดหวังแล้วกับนักการเมืองหน้าเดิมๆ ของทุกค่ายในปัจจุบัน ที่โลดแล่น แลบลิ้น ปลิ้นตาหลอกลวงเอาผลประโยชน์ชาติเข้าพกเข้าห่อตัวเองไปวันๆ

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุอีกว่า สำหรับผมแล้ว การคงพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไว้หรือไม่ ไม่ได้สลักสำคัญอะไรนัก ที่ผ่านมา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้จำกัดสิทธิทางการเมืองใคร เพราะยังมีการประท้วงทางการเมืองและเรื่องปากท้องให้เห็นอยู่ประปราย พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เขาตัดสินใจเข้ามาเพราะประเทศมีระบบบริหารจัดการโควิด-19 ที่น่าเชื่อถือ ที่เป็นผลทางอ้อมจากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เสียมากกว่า

การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างฝ่ายกุมอำนาจรัฐ และฝ่ายยื้ออำนาจรัฐ ก็ไม่เห็นถูกจำกัดเพราะพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แถมมีการผสมพันธุ์ความโลภ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันเกลื่อนกล่น สรุปความแล้ว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สำหรับผมมีดี 2 ประการ 1.ทำให้หน่วยราชการทำงานร่วมกันได้ราบรื่นขึ้นแทนการแย่งกันเป็นใหญ่ 2.ปกป้องข้าราชการที่ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชนจากการแทรกแซงของนักการเมือง คงพอตอบกันในใจได้แล้วว่า เราควรคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อบริหารสถานการณ์โควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพไปอีกนานแค่ไหนดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น