รู้จัก “มาลาเรีย” ขึ้นสมอง ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อันตรายถึงชีวิต

มาลาเรีย, ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง, โรคมาลาเรีย, ยุงก้นปล่อง, กรมการแพทย์, ภาวะแทรกซ้อน, เชื้อมาลาเรีย

ทำความรู้จัก ภาวะ "มาลาเรีย" ขึ้นสมอง ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ที่คร่าชีวิตผู้คนหลักล้านคนต่อปีทั่วโลก

“มาลาเรีย” ชิ คุ น กุน ยา โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โรคร้ายมาแรงในช่วงฤดูฝน กรมการแพทย์ เผยข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนอย่าง มาลา เรียขึ้นสมอง อาการเป็นอย่างไร ส่งผลกระทบอะไรบ้าง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยโรคมาลาเรียเกิดจากการที่ยุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรค เข้าสู่ร่างกาย หลังจากปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะพัฒนาทำให้เกิดเป็นโรค มีไข้สูง ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ ภาวะมาลา เรียขึ้นสมอง

 

 

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า การติดเชื้อเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยแถบเส้นศูนย์สูตร แม้ว่าปัจจุบันจะมีเป็นที่รู้จักและมีความเข้าใจมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีผู้เสียชีวิตในระดับหลักล้านคน/ปีทั่วโลก

 

 

 

มาลาเรีย, ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง, โรคมาลาเรีย, ยุงก้นปล่อง, กรมการแพทย์, ภาวะแทรกซ้อน, เชื้อมาลาเรีย

 

 

 

ภาวะมาลา เรียขึ้นสมอง ถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของการติดเชื้อโดยปกติจะมีแค่เชื้อชนิดฟัลซิปารัม ที่ทำให้เกิดมาลา เรียขึ้นสมอง ส่วนมาลา เรียเกิดจากเชื้อที่เรียกว่า พาสโมเดียม ซึ่งในมนุษย์มีเชื้อมาลา เรียที่ติดต่อได้ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

  • เชื้อพลาสโมเดียมฟัล ชิปารัม
  • เชื้อพลาสโมเดียมไวแวกซ์
  • เชื้อพลาสโมเดียมมาลาเรอิ
  • เชื้อพลาสโมเดียมโอวาเล

 

 

 

และอาจพบเชื้ออีกชนิดที่มาจากลิงสู่คน เรียกว่า เชื้อพลาสโมเดียมโนไซ ซึ่งในทั้งหมด เชื้อชนิดฟัลซิปารัม เป็นเชื้อที่มีความรุนแรงสุด ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบจนถึงอาการทางสมองและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

 

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะผ่านจากไปยังเซลล์ตับและเข้าไปอาศัยในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อไปอุดกั้นระบบไหลเวียนขนาดเล็ก ทำให้สมองขาดเลือดไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ

 

 

 

มาลาเรีย, ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง, โรคมาลาเรีย, ยุงก้นปล่อง, กรมการแพทย์, ภาวะแทรกซ้อน, เชื้อมาลาเรีย

ในบางรายมีลักษณะความดันในสมองเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการผิดปกติเช่น

  • มีพฤติกรรมสับสน
  • ภาวะเพ้อ
  • เกิดอาการชัก

ในกรณีนี้แม้จะมีการอุดกั้นเกิดขึ้น แต่ลักษณะการอุดกั้นไม่ใช่เส้นเลือดใหญ่ จึงไม่ได้พบผู้ป่วยที่มีลักษณะแขนขาอ่อนแรงเหมือนในผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ

 

 

 

อาการอย่างอื่นที่สามารถพบได้ เช่น

  • อาการปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อตามตัว
  • คอแข็ง
  • บางรายอาจมีอาการกัดฟันค้าง ไม่เปิดปาก
  • หรืออาจมีอาการเกร็งของร่างกายผิดปกติ

 

 

 

อาการอย่างอื่นที่อาจตรวจเจอร่วม ได้แก่

  • ตับโต ตัวเหลือง
  • ปอดมีน้ำคั่ง
  • ไตวาย
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • มีเลือดออก หรือความดันตก

 

 

 

มาลาเรีย, ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง, โรคมาลาเรีย, ยุงก้นปล่อง, กรมการแพทย์, ภาวะแทรกซ้อน, เชื้อมาลาเรีย

 

 

 

ในการวินิจฉัยประวัติ คือ ส่วนสำคัญ การตรวจเจอเชื้อในเลือด โดยการดูผ่านสไลด์จะเป็นวิธีที่ยืนยันการวินิจฉัยได้ดีที่สุด ในผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะอาการทางจิต เช่น

  • หวาดระแวง หลงผิด
  • บุคลิกภาพเปลี่ยน เห็นภาพหลอน
  • ภาวะสับสน ซึมเศร้า

ภาวะดังกล่าว อาจไม่ได้เจอบ่อย มักจะเจอในช่วงที่กำลังหายจากโรค หรือช่วงที่ขณะให้ยารักษามาลา เรียบางชนิด เนื่องจาก ภาวะมาลา เรียขึ้นสมองถือเป็นภาวะฉุกเฉินถ้าได้รับการยืนยันการวินิจฉัย ผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาที่รวดเร็ว เหมาะสม และคอยสังเกตภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รมว.ต่างประเทศสหรัฐไปปานามาหลังทรัมป์ขู่ยึดคลอง
รวบอดีตอัยการ เบี้ยวนัดฟังคำพิพากษา คดีรับสินบน 1 แสนบาท ช่วยผู้ต้องหา คดียาเสพติด
"ซูเปอร์โพล" เผยผลสำรวจคนไทยหนุนตัดไฟประเทศเพื่อนบ้าน แก้อาชญากรรมข้ามชาติ เชื่อลดปัญหาได้
สุดเศร้า "2 นักสืบ บช.น." ถูกรถปูนชนอัดท้ายรถพ่วงดับ ขณะไล่ล่าแก๊งค้ายาเสพติด
"พิชัย" หารือ "รมต.พาณิชย์-อุตสาหกรรม" บาห์เรน ยกระดับสัมพันธ์การค้า จัดทำ FTA เชื่อม 2 ปท.
‘ซัวเถา’ จัดมหกรรมดอกไม้ไฟสุดยิ่งใหญ่รับตรุษจีน
เม็กซิโก-แคนาดา-จีนประกาศสงครามการค้ากับสหรัฐ
ทรัมป์ไฟเขียวกำแพงภาษีแคนาดา เม็กซิโกและจีนแล้ว
สรุปผล 47 นายกอบจ. "เพื่อไทย" คว้าชัย 10 ที่นั่ง "ภูมิใจไทย" 9 สู้สูสี "ปชน." ได้แค่ 1 ที่
ผู้โดยสารดับยกลำจากเหตุเครื่องบินกู้ชีพตกที่สหรัฐ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น