รู้จักอาการ “เจ็บหน้าอก” ในเด็ก ที่ผู้ใหญ่ควรรู้ก่อนเข้าใจผิด

ทำความเข้าใจอาการ "เจ็บหน้าอก" ในเด็ก ที่ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองควรรู้ ก่อนเข้าใจผิด

แพทยสภา เผยข้อมูลเกี่ยวกับอาการ “เจ็บหน้าอก” ในผู้ป่วยเด็ก ที่พ่อแม่และผู้ป่วยมักกังวลและอาจเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหัวใจ พร้อมแนะอาการแบบไหนที่ควรพาเด็กไปพบแพทย์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเด็กที่มาโรงพยาบาล ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการส่วนใหญ่มักเป็นเด็กโตและวัยรุ่น พ่อแม่และตัวผู้ป่วยเองมักกังวลกลัวจะเป็นโรคหัวใจ ทั้งที่สาเหตุส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจหรือโรคที่มีความรุนแรง

จากการศึกษาในต่างประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่

  • ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
  • รองลงมาเป็นโรคของกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณหน้าอก ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเด็กในวัยนี้ มักมีกิจกรรมที่ใช้แรงแขนมากหรือจัดท่าทางของกิจกรรมไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนัก แบกเป้หนังสือจำนวนมาก เป็นต้น
  • บางครั้งได้รับอุบัติเหตุถูกกระแทกบริเวณหน้าอกมาก่อน (ส่วนใหญ่เด็กไม่ทันรู้ตัวหรือจำเหตุการณ์ไม่ได้)
  • ขณะสาเหตุที่เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดพบได้น้อยมาก

 

 

 

เจ็บหน้าอก, อาการเจ็บหน้าอก, เจ็บหน้าอกในเด็ก, โรคหัวใจ, แพทยสภา

 

 

 

การวินิจฉัย

  • แพทย์จะซักประวัติลักษณะอาการเจ็บ หน้าอก ความรุนแรง อาการที่เกิดร่วม เช่น อาการเป็นลม ใจสั่น เป็นต้น
  • ประวัติอุบัติเหตุ กิจกรรมที่ทำอยู่ขณะมีอาการ
  • โรคประจำตัว การใช้ยา และการผ่าตัดการตรวจร่างกาย
  • การกดบริเวณหน้าอก หากพบตำแหน่งที่กดเจ็บชัดเจน ช่วยให้สงสัยสาเหตุของโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
  • การตรวจฟังเสียงหัวใจและฟังเสียงปอด หากผิดปกติก็จะช่วยให้สงสัยโรคของระบบเหล่านี้เพิ่มขึ้น
  • นอกจากนี้ การส่งตรวจเพิ่มเติมต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ตรวจพิจารณา

 

 

 

เจ็บหน้าอก, อาการเจ็บหน้าอก, เจ็บหน้าอกในเด็ก, โรคหัวใจ, แพทยสภา

อาการเจ็บหน้า อก ที่ผู้ปกครองควรพาเด็กไปตรวจที่โรงพยาบาล ได้แก่

  • ลักษณะอาการเจ็บ หน้าอกที่มีความจำเพาะกับโรคหัวใจ เช่น เจ็บแน่น ๆ เหมือนถูกกดทับบริเวณกลางหน้าอก บางครั้งมีอาการปวดร้าวไปที่แขนซ้าย อาการเจ็บมักรุนแรงจนต้องหยุดพักจากกิจกรรมที่ทำอยู่ หรือตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนเป็นต้น
  • มีอาการเจ็บ หน้าอกขณะออกกำลังกาย
  • มีอาการเป็นลมร่วมด้วย
  • ใจสั่น หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
  • มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจ
  • มีประวัติครอบครัวที่สงสัยโรคพันธุกรรมเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ประวัติญาติพี่น้องที่เสียชีวิตในอายุน้อยหรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น

 

 

 

เจ็บหน้าอก, อาการเจ็บหน้าอก, เจ็บหน้าอกในเด็ก, โรคหัวใจ, แพทยสภา

 

 

 

การรักษา

  • ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกส่วนใหญ่ไม่รุนแรง การใช้ยามักไม่มีความจำเป็น
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บรุนแรง การใช้ยาแก้ปวดหรือยากลุ่มลดการอักเสบ(NSAIDs) มักได้ผลดีสำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุและผู้ป่วยที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคหัวใจ
  • การให้ความมั่นใจเป็นส่วนสำคัญในการรักษา เพื่อลดความวิตกกังวลของพ่อแม่และผู้ป่วย

 

 

 

ข้อมูล : แพทยสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”
รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ฯ นำ จนท.ตรวจสารเสพติดทหารใหม่ 2,911 นาย เพื่อค้นหาผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
รถบรรทุกปูนพลิกคว่ำขวางถนนรถติดยาวหลายกิโล
รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภาคอีสาน คุมเข้มแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมเร่งขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง
เลือกตั้งสหรัฐ: ทั้งสองพรรคมั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง
แคปซูลส่งกลับ 'เสินโจว-18' ของจีนแตะพื้นโลกปลอดภัย
ผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ "หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง" เอาผิดฐานฉ้อโกง หลังหลอกให้สั่งซื้อวัตถุมงคลแพงลิ่ว
แวะปั๊มก่อนเลย พรุ่งนี้น้ำมันขึ้นราคา เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับทุกชนิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น