“ไวรัสเวสต์ไนล์” ที่มากับยุงป้องกันยังไง แนะแล้ว 3 วิธี เช็ค

ไวรัสเวสต์ไนล์

"ไวรัสเวสต์ไนล์" West Nile Virus เชื้ออันตรายที่มาพร้อมกับยุง WHO ระบุมีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะ 3 วิธีป้องกัน

“ไวรัสเวสต์ไนล์” อาการไข้เวสต์ไนล์ ไข้เวสต์ไนล์ การติดต่อ ไข้เวสต์ไนล์ ป้องกัน โดยล่าสุดทางด้าน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาการ วิธีป้องกัน วิธีการรักษา ของ ไวรัสเวสต์ไนล์ (West Nile Virus) เชื้อไวรัสอันตรายที่มาพร้อมกับยุง หลัง WHO ระบุมีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศได้ ไวรัสนี้เป็นอย่างไรติดตามได้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

West Nile Virus ก่อให้เกิดโรคเชื้อไวรัส เวสต์ไนล์โดยมียุงเป็นพาหะ ถูกพบครั้งแรกในอำเภอเวสต์ไนล์ ประเทศอูกานดา พ.ศ. 2480 ต่อมา พ.ศ. 2542 พบการระบาดครั้งใหญ่ในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการรายงานผู้ป่วยหลายพันรายต่อปี ปัจจุบันเชื้อนี้พบการระบาดในทวีปยุโรปตะวันออกกลาง เอเชียตะวันตก แคนาดา เวเนซุเอลา แอฟริกา ออสเตรเลีย และ อิตาลี

 

ล่าสุดมีการรายงานผู้ป่วยที่ประเทศอิตาลี จำนวน 94 ราย และพบผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย ซึ่งเชื้อไวรัสนี้เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เป็นเชื้อที่มีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศได้

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

 

 

อาการ

  • ผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนน้อยมีอาการเล็กน้อย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นตามผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโต แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดศีรษะมาก ไข้สูง คอแข็ง มึนงง เสียการทรงตัว ชัก เป็นอัมพาต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจเสียชีวิตได้ พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก

 

การรักษา

  • ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค และไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้ ใช้การรักษาตามอาการ และวิธีประคับประคองทั่วไป

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

 

การป้องกัน

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงเป็นประจำ
  • ไม่ควรออกไปนอกบ้านช่วงเวลากลางคืน
  • หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านช่วงเวลากลางคืน ควรใช้ยาทาผิวหนังป้องกันแมลงหรือยุงกัด เพื่อลดอัตราการติดเชื้อ

 

การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

  • ปัจจุบันใช้วิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค Real time RT-PCR โดยสามารถส่งตรวจได้ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวอย่างที่ใช้ตรวจ คือ EDTA plasma หรือ Serum ซึ่งเก็บในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ นำส่งที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ควรเก็บตัวอย่างเลือดในระยะที่มีไข้ หรือภายใน 5 วัน หลังผู้ป่วนเริ่มมีอาการ

 

 

ไวรัสเวสต์ไนล์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น