ศาลแพ่งยกคำร้อง นศ.ยื่นฟ้อง “บิ๊กตู่-ผบ.ทสส.” ยกเลิกมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ศาลแพ่งยกคำร้อง นศ.ยื่นฟ้อง "บิ๊กตู่-ผบ.ทสส." ยกเลิกมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

วันที่ 23 ส.ค.65 ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวคดีที่ ตัวแทน นิสิตและนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย นายกองค์การบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงกลาโหม และพล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด( ผบ.ทสส. ) เป็นจำเลย ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอน พ.ร.ก.บริหารราขการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ม.9, ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 47 และ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ฉบับที่ 15 หลังจากเมื่อวานนี้ ศาลได้ทำการไต่สวนฉุกเฉินฝ่ายโจทก์มี น.ส.เจนิสษา แสงอรุณ นายกองค์การบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับพวกรวม 2 ปาก เข้าเบิกความ

ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า โจทก์ทั้งเจ็ดยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 47 ) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ข้อ 3 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามชุมนุม การทำกิจกรรมการมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)(ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ข้อ 5 และวรรคท้าย ได้ความตามทางไต่สวนว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2565

จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 47) ลงวันที่27 ก.ค. 2565 ข้อ 3 ความว่า ” ..การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ย่อมกระทำได้ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบ ระงับยับยั้ง หรือยุติการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือมั่วสุม ที่จัดขึ้นโดยมีลักษณะต่อการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) กำหนดมาตรการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม รวมไปถึงกำหนดมาตรการอื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ได้…”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 จำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบได้ออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ฉบับที่ 15) ลงวันที่1 ส.ค. 2565 ข้อ 5 ความว่า “ให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมการสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม” และในวรรคท้าย ความว่า “หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา 18แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ” ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว

โจทก์ทั้งเจ็ดอ้างว่าเป็นกฎหมายระดับรองซึ่งออกมาเพื่อเพิ่มโทษบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะซึ่งเป็นพระราชบัญญัติและกฎหมายระดับสูงกว่าโดยมีการกำหนดโทษหนักขึ้นไปกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ทั้งการระบุเนื้อความไว้ในข้อกำหนด ฯ ข้อ 3 ยังเป็นการเปิดช่องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงกำหนดมาตรการขึ้นเองเป็นการเฉพาะให้สามารถระงับยับยั้งหรือยุติการชุมนุม ได้ด้วยตนเองทันที โดยไม่ต้องผ่านกลไกการร้องขอต่อศาลเหมือนที่ได้รับการคุ้มครองไว้ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ข้อกำหนด ฯ และประกาศ ฯซึ่งออกโดยจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการสร้างภาระให้แก่โจทก์เกินสมควรแก่เหตุ และเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของโจทก์ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560

ศาลเห็นว่า แม้ว่าข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ข้อ 3 วรรคท้าย ให้อำนาจศูนย์ปฏิบัติการณ์แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) กำหนดมาตรการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม แต่การออกมาตรการดังกล่าวย่อมต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อที่ 3 กล่าวคือ ต้องออกมาตรการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประกาศของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องการห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 1 ส.ค. 2565ข้อ 5 ซึ่งเป็นมาตรการที่ออกโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยอาศัยนัยยะตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฎว่าเนื้อความในข้อกำหนดส่วนใดว่าผู้ที่จะชุมนุมหรือจัดให้มีการชุมนุมจะต้องดำเนินการตามมาตรการของประกาศดังกล่าวอย่างไร และไม่ปรากฎ ว่ามีการกำหนดมาตรการใดอย่างไรที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค

 

ดังนั้นประกาศฉบับดังกล่าวจึงถือว่ายังไม่ได้ออกตามความในข้อ 3 วรรคท้าย ของข้อกำหนดที่จำเลยที่ 1 ประกาศ อันน่าจะเป็นผลให้ประกาศของจำเลยที่ 2 ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อกำหนดดังกล่าวที่จะนำมาบังคับใช้กับผู้ชุมนุม ซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งเจ็ดในการจัดการชุมนุมภายใต้สิทธิที่มีอยู่โดยชอบตามรัฐธรรมนูญได้ แต่ตามทางไต่สวนของ

โจทก์ทั้งเจ็ดก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้ดำเนินการใด ๆ ตามข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวจนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ประกอบกับเนื้อความในข้อ 3 วรรคท้าย ของข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเพียงการวางเงื่อนไขในการออกมาตรการเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ออกมาตรการย่อมไม่ถือว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการการทำของจำเลยทั้งสอง ในชั้นนี้จึงยังไม่มีเหตุจำเป็นและสมควรในการที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้เพื่อระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 (2)มาตรา 255 (2) (ข) ประกอบมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น