“พล.อ.ประวิตร” เร่งดึงหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ร่วมจัดตั้งระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า

"พล.อ.ประวิตร" เร่งดึงหน่วยงานภาครัฐ -เอกชน ร่วมจัดตั้งระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า

เมื่อ 25 ส.ค.65 10.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่1/2565 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ที่ประชุมได้รับทราบ แนวทางการถ่ายโอนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จาก ก.ดีอีเอส มาสังกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มท. ตั้งแต่ 15 ก.ย.59 ทั้งนี้ศูนย์เตือนภัยจะปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในภาวะปกติ ภาวะที่มีความเสี่ยง และภาวะที่มีการเกิดภัยพิบัติ พร้อมทั้งได้รับทราบ ความคืบหน้าระบบการเฝ้าระวังและช่องทางการแจ้งเตือน โดยมีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อให้มีการรับมือและอพยพ ผ่านอุปกรณ์การเตือนภัยประกอบด้วย

หอเตือนภัยจำนวน 338 หอ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จำนวน 163 แห่งติดตั้ง ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขตทั้ง 18 เขต 70 จังหวัด และสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด จำนวน 285 แห่ง รับข้อมูลผ่านสัญญาณดาวเทียมและกระจายการแจ้งเตือนด้วยระบบคลื่นวิทยุไปยังหอเตือนภัยขนาดเล็กจำนวน 674 แห่ง และส่งถึงหอกระจายข่าวภายในชุมชน และหมู่บ้าน ต่อไป

จากนั้นที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการบริหารการเตือนภัย ด้วยดิจิทัลแบบบูรณาการที่มีมาตรฐานสากล” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ หลัก และสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี และเห็นชอบการดำเนินการแจ้งเตือนภัยโดยใช้ระบบ Cell Broadcast ด้วยการแจ้งเตือนภัยไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถระบุพื้นที่ที่จะทำการแจ้งเตือน ไปยังอุปกรณ์สื่อสารจำนวนมากในการส่งเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินการจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ,กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน สทนช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

พล.อ.ประวิตร ได้กำชับกระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนงาน จะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ เพื่อยกระดับการแจ้งเตือนสู่ระดับที่สูงขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและปฏิบัติงานได้จริง เพื่อลดความเสี่ยง ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิ น้ำท่วมฉับพลัน ไฟป่า แผ่นดินไหวหรือ สึนามิ เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น