“มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ” เผย 9 ปัจจัย สัญญาณเสี่ยง ปลายปี 65 มีโอกาสน้ำท่วมสูง

"มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ" เผย 9 ปัจจัย สัญญาณเสี่ยง ปลายปี 65 มีโอกาสน้ำท่วมสูง

วันที่ 28 ส.ค. 65 นพดล มากทอง โฆษกมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ก “มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ” ว่าภาระกิจ ติดตามข้อมูลล่วงหน้า ฝน ฟ้า อากาศ เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ อย่าเพิ่งเชื่อไปทั้งหมด ข้อมูลวันนี้ชี้ไปในทำนองว่า ปลายปี 65 ความน่าจะเป็น คือมีโอกาสน้ำท่วมสูง !!!

หลากหลายข้อมูล เมื่อมาบูรณาการ เป็น “สภาข้อมูล” มี 9 เหตุและปัจจัยดังนี้ !!!

1. ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.65. กับฝนสะสมในฤดูฝนสูงกว่าค่าปกติ !!!

2. ปรากฏการณ์ลานีญายังทรงพลังช่วงปลายปีทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าฝั่งตะวันออก ความชื้นสูง !!!

3. ปรากฏการณ์ไอโอดีเป็นลบทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียสูงกว่าฝั่งตะวันตก ความชื้นสูง !!!

4. ข้อมูลจากแบบจำลองต่างๆ กว่า 90 % พยากรณ์สอดคล้องกัน ปลายฤดูปี 65 จะมีฝนมาก !!!

ข่าวที่น่าสนใจ

5. ปริมาณฝนคาดการณ์ช่วงปลายปี (สิงหาคม-พฤศจิกายน) มีสูงกว่าค่าปกติ และมากกว่าปี 2564 ที่ผ่านมา หากปริมาณฝนในภาคกลางมีมากกว่า 18 % ของค่าปกติ มีความเสี่ยงสูงจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ 2554 แต่พฤติกรรมน้ำหลากจะไม่เหมือนกัน (ถ้าฝนตกเหนือเขื่อน ปริมาตรรองรับน้ำเขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือยังมีประมาณ 50% แต่หากตกใต้เขื่อน จะสร้างปัญหาให้กับภาคกลางแบบน้ำท่วมทุ่ง ค่อยๆหลากเข้าเมือง) สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนกลาง ตอนล่าง) ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ได้เช่นกัน !!!

6. จำนวน ทิศทาง และความรุนแรงของพายุจรตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (โดยในปีนี้มีการคาดการณ์จะเกิดพายุ 23 ลูก ช่วงครึ่งปีแรกเกิดแล้ว10 ลูก ยังเหลืออีกประมาณ 13 ลูก) !!!

7. กรมอุตุนิยมวิทยา โดยว่าที่ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธบดีและโฆษกกรมอุตุฯ ให้สัมภาษณ์พิเศษรายการ “ชั่วโมงเตือนภัย” ล่าสุด เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 65 พยากรณ์ข้อมูลเชิงสถิติว่า เดือนกย.ถึงกลางเดือนต.ค. จะเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากสุด ฝนที่ตกหลังจากนี้จะเป็นฝนที่ส่งผลให้เกิดน้ำหลาก !!!

8. ปี 65 ภาคเหนือ แม้เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิต์ ยังรับน้ำได้อีกเยอะ แต่ฝนสะสมภาคกลางสูงใกล้เคียงปี 54 !!!

9. ความสามารถรับน้ำของลุ่มน้ำลดลง บีบให้ระดับน้ำสูงขึ้น (เช่นปีที่แล้วในภาคกลางปริมาณน้ำมีน้อยกว่าปี 2554 ประมาณ 20% แต่ระดับน้ำสูงเท่า หรือมากกว่า) !!!

บทเรียนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 นอกจากการเมืองว่าด้วยน้ำ ยังมีความสูญเสียที่ไม่มีข้อมูลล่วงหน้าให้มีเวลาเตรียมการ !!!

 

วันนี้มีข้อมูลเพื่อเตรียมการ ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา พวกกระผม และผู้มีหน้าที่แจ้งเตือนล่วงหน้า จะได้ไม่ต้องถูกกล่าวหาว่า “ทำไมไม่เห็นแจ้งเตือนล่วงหน้ากันเลย มัวแต่ทำอะไรกันอยู่ ” ขอบคุณ ทุกๆ ข้อมูล ขอรับ กระผ๊ม !!!

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เวียงแหงโมเดล! เยาวชนคนรุ่นใหม่ One Young World เครือซีพี ปักธง FIGHT หมอกควันชายแดนไทย-พม่า เรียนรู้-ชวนชุมชมร่วมลด PM 2.5
ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล
กรมวิทย์ฯ บริการ มอบของขวัญปีใหม่ประชาชน 2568 ..ฟรี !! ฝึกอบรมเสริมทักษะด้าน วทน. ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นขอการรับรองทุกขอบข่าย เสริมความสามารถของห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล
"ณเดชน์-เบลล่า" ขึ้นแท่นดาราแห่งปี "หมูเด้ง" ข่าวเด่นแห่งปีของจริงกลบทุกกระแส
เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น