สภาฯผู้บริโภค พร้อมหนุนถ้าผนึก TRUE-DTAC สร้างประโยชน์ปชช.

สภาฯผู้บริโภค พร้อมหนุนถ้าผนึก TRUE-DTAC สร้างประโยชน์ปชช.

ท่ามกลางแรงกดดันต่างๆ แต่สุดท้ายกสทช.ต้องตัดสินใจ บนพื้นฐานประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน สำหรับการพิจารณาแผนควบรวมธุรกิจ ระหว่างบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC

ขณะที่ในการเดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านของ นายพรหมศร วีระธรรมจารี นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ในฐานะแนวร่วมคณะราษฎร พร้อมด้วย นางสาวปาณิสรา ตุงคะสามน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาองค์กรของผู้บริโภค หลังจากลุ่มดังกล่าวเคยไปยื่นหนังสือกับ เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำ ประเทศไทย มาแล้วก่อนหน้า โดยอ้างว่า จะทำให้เหลือผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมน้อยลง เพียงสองราย และจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งในแง่การพัฒนาคุณภาพบริการและการกำหนดราคา

ล่าสุด TOP NEWS ได้มีโอกาสพุดคุยกับนางสาวปาณิสรา ในฐานะตัวแทนของสภาองค์กรของผู้บริโภค ตอบคำถามในประเด็นว่า การยื่นคำร้องดังกล่าว จะสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค ทรู และดีแทค อย่างไร นางสาวปาณิสรา ระบุว่า สภาผู้บริโภคยืนยันจะอยู่ข้างประชาชน ในฐานะผู้บริโภค ซึ่งในการดำเนินงานจะต้องพิจารณาถึงเสียงส่วนใหญ่ รวมถึงผลการศึกษาจากต่างประเทศ ว่าเป็นไปในทิศทางไหน แต่หากควบรวมแล้วดีขึ้น สภาองค์กรผู้บริโภคก็พร้อมที่จะสนับสนุน

ส่วนประเด็นการควบรวมของ 2 ค่ายมือ ที่ผู้บริหารยืนยันจะมีการนำเอานวัฒนกรรม เทคโนโลยี มาพัฒนาเพื่อให้การบริการที่ดีขึ้น รวมถึงค่าบริการที่ถูกลง นางสาวปาณิสรา ระบุว่า เป็นเรื่องของอนาคต ผู้บริโภคจะได้รับหลักประกันใด เพื่อสร้างความมั่นใจ ว่า หากมีการควบรวมแล้วผู้ประกอบการจะไม่เพิ่มค่าบริการ และเทคโนโลยีที่ได้มาจะดีจริง อย่างที่ให้สัญญาไว้ก่อนการควบรวม เนื่องจากที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับการยืนยันที่หนักแน่นใจเรื่องนี้จากทางผู้ประกอบการเลย ว่าการควบรวมครั้งนี้ ประชาชนจะได้อะไร

ขณะที่มีข้อเสนอแนะของนักวิชาการ ออกมาแสดงความเชื่อมั่นว่า ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการควบรวมกิจการครั้งนี้ โดยเฉพาะทางด้านการแข่งขัน และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้ดีขึ้น นางสาวปาณิสรา กล่าวว่า จากข้อศึกษาที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้ยากที่การควบรวมจะทำให้ค่าบริการถูกลง มีแต่ค่าบริการจะสูงขึ้น จากผู้ให้บริการที่น้อยราย และจากการศึกษาในต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า การควบรวมจาก 3 ราย ไป 2 ราย ผู้เล่นรายที่ 3 จะเกิดขึ้นยากและใช้เวลานาน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่จะเห็นค่าบริการที่ลดลง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ ก่อนหน้าในการนำเสนอความเห็น ผ่านเวทีรับฟังของกสทช. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรภวิษย์ บุญศรีเมือง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้ให้ความเห็นว่า “สมควรควบรวม” และเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ที่ค่าบริการมือถือจะสูงขึ้นหลังควบรวม TRUE และ DTAC ตามผลการศึกษา กสทช. เพราะเกินเพดานราคาที่ กสทช. กำหนด หรือยกโมเดลมาอ้างอิงว่า จะเกิดการฮั้วจนทำให้ค่าบริการจะสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 10.79% หรือหากมีการฮั้วกัน ค่าบริการจะเพิ่มโดยเฉลี่ยจะเป็น 202.30% จากราคาเดิม

เพราะเมื่อมาพิจารณาความเป็นจริงแล้ว ปรากฏว่าเป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง เนื่องจากประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดและการกำกับดูแลโครงสร้างอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศปี 2562 กำหนดให้ค่าบริการมือถือประเภทเสียงต้องไม่เกิน 60 สตางค์ต่อนาที ซึ่งปัจจุบันค่าบริการมือถือประเภทเสียงเฉลี่ยอยู่ที่ 55 สตางค์ต่อนาที ซึ่งยังต่ำกว่าราคาเพดานอยู่ 5 สตางค์ต่อนาทีหรือคิดเป็นประมาณ 9.76% ของราคาปัจจุบันนั่นเอง พูดง่าย ๆ ว่าราคาค่าบริการจะไม่สามารถเพิ่มขึ้นเกิน 9.76% จากราคาที่เป็นอยู่ได้

สรุปคือ หลังการควบรวม TRUE และ DTAC ค่าบริการโทรศัพท์มือถือจะสูงขึ้นตามผลการศึกษา กสทช. นั้นไม่มีทางเป็นไปได้เลย นอกเสียจากว่า กสทช. จะเป็นผู้ลดอัตราเพดานราคาลงมาเอง และค่าบริการจะสูงขึ้นหรือไม่นั้น ไม่ได้เกิดจากการควบรวมเพียงอย่างเดียว แต่เกิดได้จากหลายปัจจัย อาทิ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านต้นทุน เป็นต้น

 

 

ทางด้าน ดร. รุจิระ บุนนาค อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระบุว่า การควบรวม TRUE และ DTAC นับว่ามีประโยชน์อยู่พอสมควร ซึ่ง กสทช.ควรมองตรงนี้ด้วย ไม่ใช่มองแต่เรื่องการแข่งขันอย่างเดียว โดยเฉพาะข้อเท็จจริงเรื่องการควบรวมฯดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการที่มากขึ้น เพราะสถานีที่ให้ในการรับส่งมีมากขึ้น และมีช่องสัญญาณมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคจะได้รับการบริการที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ดร.รุจิระ ระบุด้วยว่า ในการพิจารณากรณีการควบรวม TRUE และ DTAC มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ กสทช.ต้องพิจารณา ไม่ใช่แค่มุ่งเน้นแต่เรื่องการสื่อสารด้วยเสียง หรือการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูล และเห็นว่าผลการศึกษาของอนุกรรมการฯ กสทช. ที่ผ่านมากำลังมองข้ามตัวแปรที่สำคัญ คือ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ไปหรือไม่

“โดยเฉพาะกรณีที่กสทช.เคยคาดการณ์ผิดในเรื่องประมูลทีวีดิจิทัล โดยไม่ได้มองถึงเรื่อง OTT (Over-the-top) ที่จะเข้ามาทางสื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจทีวีดิจิทัล ทำให้ทุกอย่างคลาดเคลื่อนไปหมดเลย พอมาย้อนมาถึงเรื่องนี้ เรื่อง OTT จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะ OTT เอง ก็ให้บริการข้อความ เสียง และวิดีโอ อีกทั้งผลศึกษาของ Mckinsey พบว่า ปัจจุบันบริษัทโทรคมนาคมต้องลงทุน 5G เพิ่มขึ้น 300% แต่มีรายได้และกำไรลดลง”

 

 

 

ส่วน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรวุธ กิจกุศล อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ระบุว่า ตนอยากให้ผู้ศึกษาได้พิจารณาเกี่ยวกับสถานะและความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจด้วย เพราะเมื่อพิจารณาจากส่วนแบ่งตลาดและสัดส่วนกำไรของบริษัทมือถือ 3 เจ้าใหญ่ จะพบว่าแตกต่างกันค่อนข้างมาก และการที่นำบริษัทที่แข็งแกร่งมากๆ มาแข่งขันกับบริษัทที่แข็งแกร่งน้อยกว่าในสัดส่วนที่เห็นได้ชัด ทำให้การแข่งขันลดระดับลง

“หากปล่อยไว้ในสภาพอย่างนี้ ก็จะมีบางเจ้า ที่ถอยออกจากตลาดไป สุดท้ายก็จะเหลือผู้ให้บริการ 2 เจ้า อย่างที่กำลังจะรวมกันวันนี้ แต่จะเหลือ 2 เจ้าที่ต่างกันเยอะมาก และถ้าพิจารณาจากเหตุผลที่ 2 บริษัทนี้จะรวมกัน ผมเห็นว่า ถ้านำสูตรนี้ไปเป็นตัวแปรด้วย จะทำให้การแข่งขันมีมากกว่าเดิมหรือเปล่า อย่างตอนนี้ ยังไม่มีการควบรวม AIS ก็ออกโปรฯพยายามดึงให้คนเปลี่ยนค่าย ดังนั้น ถ้าทั้ง 2 บริษัทนี้ได้รวมกัน ผมคิดว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์สูงสุด”

 

เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของความเห็นนักวิชาการที่ให้เหตุผลในเชิงประจักษ์ โดยมั่นใจว่าการควบรวมุธุรกิจ TRUE และ DTAC จะให้ผลดีมากกว่า ส่วนองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การแข่งขันเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค ก็คือ กสทช. ที่จะเป็นฝ่ายควบคุม และกำกับ ให้การแข่งขันทั้งหมดเกิดขึ้นด้วยความเป็นธรรม

โดยกรณีดังกล่าว นางสาวปาณิสรา ตุงคะสามน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาองค์กรของผู้บริโภค ยอมรับว่า การออกมายื่นหนังสือคัดค้านการควบรวมธุรกิจ เนื่องจากสภาองค์กรผู้บริโภค ไม่มั่นใจการกำกับดูแลเรื่องอัตราค่าบริการ และการทำหน้าที่ปกป้องสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคของกสทช. เท่านั้น

ทั้งนี้จากการตรวจสอบเห็นได้ชัดเจนว่า ภายใต้ดีลควบธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ระหว่าง TRUE และ DTAC มีข้อมูลที่ชัดเจนในระดับสำคัญว่า จะนำไปสู่การแข่งขันของผู้ให้บริการค่ายต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขหลักคือศักยภาพการให้บริการ และ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคจะได้รับมากขึ้น เพียงแต่ว่า กสทช.ต้องควบคุมและกำกับ ให้กระบวนการต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และอธิบายรายละเอียดทั้งหมดให้ประชาชนหรือผู้บริโภคเข้าใจและเกิดความเชื่อมั่นเท่านั้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มค้างค่าเช่าหลักหมื่น ทิ้งขยะกองโตท่วมห้องไว้ให้เจ้าของหอดูต่างหน้า
"ศาลอุทธรณ์" ยืนโทษคุก 8 เดือน "สมบัติ ทองย้อย" อดีตการ์ดเสื้อแดง โพสต์หมิ่น "พล.อ.ประยุทธ์" 2 ข้อความ
สพฐ. ชูศึกษานิเทศก์ทั้งประเทศ กลไกขับเคลื่อน "เรียนดี มีความสุข" สร้างคุณภาพสู่ห้องเรียน
“เต้ อาชีวะ” เดือด! จัดหนัก UN ปล่อยต่างด้าวล้นรพ.รัฐ แย่งคิวคนไทย
ปัตตานีระทึก คนร้ายชักปืน จี้ "พนง.ร้านสะดวกซื้อ" ชิงเงินสด 1.2 ล้าน หนีลอยนวล
เตรียมพบเทศกาลนานาชาติ พลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 "จันทบุรีนครอัญมณี" ปีที่ 5 ชูเอกลักษณ์เมืองจันท์ อัญมณีอันเลื่องชื่อ
“สมศักดิ์” นำร่อง “ตู้ห่วงใย” บริการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ 
"พงษ์ศักดิ์" ยื่นร้องกกต. ขอระงับรับรองผลเลือกตั้งนายกอบจ.ขอนแก่น ชี้พบเหตุหาเสียงส่อผิดกม.
“กฤษอนงค์” ไร้เงาคนยื่นประกัน นอนคุกคืนแรก ด้าน “บอสพอล” มอบทีมกม.ยื่นค้านประกันตัว
‘ทะเลสาบน้ำเค็ม’ โผล่กลางทะเลทรายในมองโกเลียใน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น