“รัฐบาล” แจงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยึดเกณฑ์เดิมไม่จ่ายซ้ำซ้อน

"รัฐบาล" แจงการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังยึดเกณฑ์เดิมไม่จ่ายประโยชน์ซ้ำซ้อน หลังมีการแชร์ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ระบุระเบียบใหม่ให้ข้าราชการบำนาญรับเบี้ยยังชีพได้

วันที่ 2 ก.ย. 65 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ได้มีการส่งต่อข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุว่าขณะนี้ได้มีการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้กลุ่มผู้ได้รับบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษหรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันจากรัฐ สามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้อีกทางหนึ่งด้วยนั้น

รัฐบาลขอชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุยังยึดหลักเกณฑ์ตามระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุ (กผส.) และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่เพิ่มเติม พ.ศ. 2561 ที่กำหนดไม่ให้มีการจ่ายเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนกับประโยชน์อื่น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้เกิดกรณีที่ผู้สูงอายุที่รับบำนาญ หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน เช่น การรับบำนาญต่อจากบุตรที่เสียชีวิตแล้ว ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วย กระทั่งเกิดกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฟ้องร้องเรียกเบี้ยยังชีพคืนเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้สูงอายุจากกรณีดังกล่าว คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้คืนเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่รับประโยชน์ซ้ำซ้อนที่ได้นำเงินมาคืนทางราชการแล้ว จำนวน 28,345 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 245.24 ล้านบาท รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถอนฟ้องหรือระงับการบังคับคดีกรณีที่ได้มีการดำเนินคดีเรียกคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยทั้งหมดให้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ ครม.มีมติ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า จากปัญหาข้างต้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงอยู่ระหว่างการนำเสนอแนวทางการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุ(กผส.) เพื่อให้เกิดความชัดเจน เมื่อมีระเบียบของ กผส. ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทรวงมหาดไทยจะได้ปรับปรุงระเบียบให้สอดคล้องกัน และประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป

 

ดังนั้น ในระหว่างระเบียบการจ่ายเบี้ยยังชีพยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เกิดความชัดเจน การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ ปัจจุบันจึงยังต้องยึดหลักเกณฑ์เดิมนั่นคือ ต้องเป็นผู้ มีสัญชาติไทย อายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใจจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงผู้พิการหรือผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติ ครม.

“ขณะนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างดำเนินการวางแนวนโยบายและกฎระเบียบให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากระทบกับผู้สูงอายุอีก เมื่อมีความชัดเจนแล้วจะประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป จึงขอให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุติดตามตรวจสอบประกาศระเบียบที่เป็นทางการ ไม่หลงเชื่อข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์โดยง่าย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น