ครั้งแรกของโลกโรค "กินไม่หยุด" หยุดได้ เมื่อนักวิจัยจาก University of Pennsylvania ทดลองปลูกถ่ายอุปกรณ์บนสมอง ชี้สามารถช่วยลดความอยากอาหารได้จริง
ข่าวที่น่าสนใจ
ช่วงปี 2017 ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่การศึกษาที่น่าสนใจระบุว่า สมองส่วน nucleus accumbens อาจเชื่อมโยงกับพฤติกรรมบางอย่างที่มากจนเกินพอดี ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมการ “กินไม่หยุด” หรือ โรค Binge Eating Disorder (BED) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจนส่งผลให้มีพฤติกรรมการกิน โดยนักวิจัยปลูกถ่ายอุปกรณ์บนสมองส่วนนี้ของหนูทดลองและทำการปล่อยสัญญาณไฟฟ้า เพื่อขัดขวางสัญญาณสมองที่คอยกระตุ้นให้หนูกินอาหาร ซึ่งสามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวได้จริง
ถึงแม้แนวคิดควบคุมพฤติกรรมทางสมองในมนุษย์จะไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ปลูกถ่ายอุปกรณ์ที่สมอง เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะต่า งๆ เช่น โรคลมบ้าหมูและโรคพาร์กินสันก็ตาม แต่อุปกรณ์รุ่นก่อน ๆ มักอาศัยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่ตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เพื่อจัดการพฤติกรรมของผู้ป่วย ซึ่งแตกต่างกับงานวิจัยชิ้นนี้ ที่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้แบบเจาะจงและเรียลไทม์ การศึกษาใหม่นี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกเกี่ยวกับแนวคิดที่อาจใช้ได้ในมนุษย์
จากรายงานใน Nature Medicine นักวิจัยได้อธิบายถึงถึงผลลัพธ์จากการทดลองกับมนุษย์ โดยทีมวิจัยได้ผ่าตัดฝังอุปกรณ์ลงบนสมองของผู้ป่วยโรค “กิน ไม่หยุด” ซึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินและติดสุรา 2 คน โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะคอยดักจับและขัดขวางสัญญาณสมองที่เกี่ยวกับความรู้สึกอยากอาหารของผู้ป่วย ซึ่งทีมวิจัยจะทำการสังเกตพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ในช่วงแรกนักวิจัยจะเน้นตรวจสอบสัญญาณคลื่นสมองของผู้ป่วยเมื่อรู้สึกอยากอาหาร ซึ่งรวมถึงวิธีสุดแสนทรมานใจสำหรับสายกิน อย่างการชวนทานบุฟเฟต์จานเด็ดที่มีปริมาณแคลอรี่สูงปรี๊ด ทีมวิจัยก็ได้ปรับตั้งค่าอุปกรณ์ที่ปลูกถ่ายไว้ให้คอยตรวจจับสัญญาณสมองที่สอดคล้องกับรูปแบบของสัญญาณความอยากที่บันทึกไว้และคอยส่งสัญญาณไฟฟ้า เพื่อรบกวนทุกครั้ง
จากการติดตามผลเป็นเวลา 6 เดือน ทีมวิจัยเผยว่า อุปกรณ์สามารถทำงานได้ผลดี โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยทั้ง 2 คน ดื่มสุราลดลงและเกิดความรู้สึกสูญเสียการควบคุมลดลง (ส่วนหนึ่งการของการกินแบบขาดสติ) โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ป่วยแต่ละรายน้ำหนักลดลงประมาณ 11 ปอนด์ (5 กก.) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้มีการปรับโภชนาการเข้ามาช่วย
ด้าน Casey Halpern ผู้วิจัยอาวุโสกล่าวว่า การศึกษานำร่องครั้งแรกเน้นความปลอดภัยและความเป็นไปได้เป็นหลัก ดังนั้น จึงยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าวิธีกระตุ้นสมองแบบนี้ได้ผลจริง เพื่อควบคุมพฤติกรรมการกินที่มากเกินไป แต่สิ่งบ่งชี้ได้จากการทดลองในครั้งนี้ คือ อุปกรณ์ดังกล่าวมีความปลอดภัยและไม่ส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมให้แน่ชัดเ พื่อแยกว่าสัญญาณสมองแบบไหนที่เป็นสัญญาณความอยากอาการ โดยไม่สับสนกับสัญญาณสมองที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายรู้สึกหิว เพราะ ต้องการอาหารจริง ๆ อ่านรายงานวิจัยเพิ่มเติม : คลิกที่นี่
ข้อมูล : newatlas
ข่าวที่เกี่ยวข้อง