“กรุงเทพธนาคม” พร้อมอุทธรณ์-เจรจา BTSC ศาลปกครองนัดพิพากษาหนี้ก้อนแรก 7 ก.ย.

"กรุงเทพธนาคม" พร้อมอุทธรณ์-เจรจา BTSC ศาลปกครองนัดพิพากษาหนี้ก้อนแรก 7 ก.ย.

สืบเนื่องจากการที่ ศาลปกครองกลาง ได้แจ้งนัดอ่านคำพิพากษา วันที่ 7 กันยายน 2565 เวลา 11.00 น. ในคดีหมายเลขดำที่ 1242/2564 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC (ผู้ฟ้องคดี) กับ กรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว)

โดยคดีดังกล่าว BTSC ได้ฟ้อง กรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน กระทำผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สัญญาเลขที่ กธ.ส.006/55 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 จากการที่ไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือ ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2562 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าตอบแทนตามสัญญาแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงนำคดีมาฟ้อง

ล่าสุด นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยกับ TOPNEWS ว่า กรณีศาลปกครองนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 7 ก.ย.2565 เป็นผลจากการบริษัท ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 2564 โดยเป็นการฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) เรื่องหนี้ค้างชำระ ค่าบริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 (ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า) และส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) โดยเฉพาะยอดหนี้ รวมภาระดอกเบี้ย ณ วันฟ้องอยู่ที่ จำนวนกว่า 12,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบัน หรือประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ BTSC รับจ้างบริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ภาระหนี้ต่างๆ ที่บริษัทกรุงเทพธนาคม และ กทม. ค้างจ่ายให้กับ BTSC เพิ่มสูงกว่า 4 หมื่นล้านบาทแล้ว แบ่งเป็น ค่าจ้างจากการเดินรถและบำรุงรักษา (O&M) กว่า 2 หมื่นล้านบาท และค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) อีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท

“อย่างไรก็ตามผลสรุปทั้งหมด ส่วนตัวอยากให้รอวันที่ 7 กันยายน แต่เรื่องนี้เรายื่นฟ้องมาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีที่แล้ว ส่วนมูลหนี้ค้างชำระ เรื่องสัญญาจ้างเดินรถ ต้องเป็นยอดหนี้ ณ วันฟ้อง ซึ่งอยู่ที่ 12,000 กว่าล้านบาท ขณะที่ปัจจุบัน เฉพาะค่าจ้างเดินรถ ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท อีก 2 หมื่นล้านบาท เป็นค่าติดตั้ง”

ทั้งนี้ เมื่อศาลมีคำพิพากษา ในวันที่ 7 ก.ย. 2565 แล้ว หลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างคงต้องไปศึกษา วิธีจัดการต่อไป อาจจะมีการเจรจาก็ได้ หรือ จะทำอย่างไร จากเดิมที่เคยไปพบกับทางบอร์ดของ KT ก็ได้มีการคุยกันแล้วหนึ่งรอบ ส่วนเรื่องศาลก็ตกลงกันแล้วว่าให้เดินคู่ขนานไป แต่ตนไม่สามารถให้รายละเอียดได้มากกว่านี้

ส่วน กรณีที่ผู้ว่าฯกทม. มีแผนจะเก็บค่าโดยสาร ส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อจะนำรายได้ส่วนหนึ่งมาชำระหนี้ให้ BTSC ในปลายเดือนก.ย.นี้ นายสุรพงษ์ ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ แต่ทางบีทีเอสได้มีการเตรียมการไว้บ้าง แต่เข้าใจว่า ทางกทม. จะต้องรอสภากทม.พิจารณาอนุมัติก่อน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อนหน้านั้น นายสุรพงษ์ ระบุว่า การฟ้องร้องดังกล่าว เป็นการฟ้องเฉพาะในส่วนของสัญญาจ้างเดินรถที่มีมูลหนี้ประมาณ 12,000 ล้านบาท ยังไม่ได้รวมหนี้ในส่วนของสัญญาการจ้างก่อสร้างงานระบบเดินรถและอาณัติสัญญาณประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการฟ้องร้องต่อไป

“การที่กทม.ค้างหนี้ค่าจ้างเดินรถนี้ถือว่าส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมาก เพราะบริษัทต้องไปหาแหล่งเงินกู้เพื่อมาจ่ายค่าเดินรถในส่วนนี้ไปเรื่อยๆ ขณะที่ปัจจุบัน รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายยังคงให้บริการฟรีตามที่ กทม.กำหนด ไม่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลง ซึ่งการจะจัดเก็บค่าโดยสารเมื่อใดเป็นอำนาจการพิจารณาของ กทม.ไม่เกี่ยวกับบริษัท ส่วนเรื่องสัมปทานของสายสีเขียวขณะนี้ก็ยังไม่ทราบความคืบหน้าใดๆ”

ประเด็นสำคัญ ณ ปัจจุบัน จากการตรวจสอบของ TOP NEWS พบว่าความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวของ ภาครัฐ และ กทม. ทำให้เกิด ภาระหนี้สะสมค้างจ่าย รวมต้นทุนจากการระดมเงิน เฉพาะในส่วน บริษัท BTSC แล้วกว่า 4 หมื่นล้านบาท

รวมอัตราดอกเบี้ย เงินกู้สำหรับค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล( E&M ) ปีละ 1,200 ล้านบาท หรือ คิดเป็นวันละประมาณ 3.3 ล้านบาท ขณะที่ภาระดอกเบี้ย เงินกู้ ค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษา (O&M) ปีละ 5,000 ล้านบาท หรือ คิดเป็นวันละประมาณ 13.7 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ ยังมีภาระที่หน่วยงานรัฐต้องรัฐ ต้องรับผิดชอบด้วย อาทิเช่น ภาระดอกเบี้ย เงินกู้ของรฟม. จากงานโยธาก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) โดยมีกระทรวงการคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ ประมาณปีละ 1,500 ล้านบาท (ตามอัตราดอกเบี้ยรายปี) หรือ คิดเป็นวันละประมาณ 4.1 ล้านบาท

 

 

ขณะเดียวกันเมื่อสอบถามความเห็นกรณีนี้กับ ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ในฐานะ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ว่า ขณะนี้คือ ศาลปกครองกลางยังไม่ได้มีการอ่านคำพิพากษาคดีดังกล่าว เป็นเพียงการแถลงความเห็นของผู้แถลงคดี ซึ่งเป็นความเห็นเบื้องต้น ดังนั้น ต้องฟังคำพิพากษาในวันที่ 7 ก.ย.นี้ ว่าจะออกมาอย่างไร

และถึงแม้ผู้แถลงคดีจะมีความคิดเห็นและเสนอว่า คำร้องคดีของ BTSC มีมูล แต่รายละเอียดของคดีนั้น ยังไม่มีผลผูกพันใดๆ โดยสุดท้ายจะต้องรอฟังคำพิพากษา และเมื่อศาลมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ทางด้านบริษัท กรุงเทพธนาคม พร้อมจะนำคำพิพากษามาศึกษาว่า มีประเด็นใดบ้างที่จะสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ เราก็จะยื่นอุทธรณ์ตามกระบวนการ

รวมถึงอีกด้านหนึ่ง บริษัท กรุงเทพธนาคม ได้เดินหน้าเจรจา และประนีประนอมหนี้กับ BTSC มาโดยตลอด ถือเป็นการดำเนินการในรูปแบบคู่ขนานกันไป รวมถึงได้มีการหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และหลังคำพิพากษา จะมีการนัดหารือกับทางผู้บริหาร BTSC อีกครั้ง

ส่วนในวันที่ 7 ก.ย นี้ ตนไม่ได้เดินทางไปศาลปกคลองกลาง แต่จะส่งเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไปฟังคำพิพากษาของศาล พร้อมคัดสำเนามาศึกษาถึงแนวทางการดำเนินการต่อจากนี้

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น