วิจัยชี้ “เห็ด ขี้ควาย” ช่วยลดปริมาณดื่มสุราในผู้ป่วย 83%

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

"เห็ด ขี้ควาย" ฉายาเห็ดวิเศษไม่เกินจริง หลังนักวิจัยชี้ สารไซโลไซบินสามารถแก้ปัญหาสุขภาพจิตและอาการเสพติดได้

“เห็ด ขี้ควาย” เจ้าของฉายาเห็ดวิเศษ สร้างความประหลาดใจให้กับวงการแพทย์อีกครั้ง เมื่อผลวิจัยชี้ สารหลอนประสาทชนิดไซโลไซบิน ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิตและอาการเสพติด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“เห็ด ขี้ควาย” สร้างความประหลาดใจให้กับวงการแพทย์อีกครั้ง เมื่องานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA Psychiatry ชี้ว่า สารไซโลไซบิน (psilocybin) หรือสารออทฤทธิ์ทางประสาท สามารถแก้ปัญหาสุขภาพจิตและอาการเสพติดได้

 

 

 

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

 

 

 

โดยทีมวิจัยได้แบ่งอาสาสมัครที่มีปัญหาติดสุราเรื้อรังจำนวน 93 ราย ออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มแรก : ได้รับแคปซูลเห็ดขี้ควาย 2 โดส
  • กลุ่มสอง : ได้รับยาหลอก

การทดลองใช้เวลาทดสอบ 8 เดือน ร่วมกับการรักษาทางจิตบำบัด

 

 

 

ผลลัพธ์กลับทำให้นักวิจัยถึงกับอึ้ง

1. ผู้ป่วยที่รับเห็ดขี้ควาย 2 โดส

  • ดื่มสุราลดลงถึง 83%
  • และอีก 50% สามารถหยุดดื่มแอลกอฮอล์ได้

2. กลุ่มยาหลอก

  • 51% สามารถลดปริมาณการดื่มสุรา
  • ในขณะที่ 25% สามารถหยุดดื่มได้

ทำให้ผู้เชี่ยวชาญประหลาดใจกับการค้นพบนี้ ซึ่งต่อยอดจากงานก่อนหน้านี้ที่แสดงให้เห็นว่า สารไซโลไซบิน นั้นอาจสามารถรักษาอาการติดยาเสพติดได้

 

 

 

ด้าน Michael Bogenschutz ผู้อำนวยการ NYU Langone Center for Psychedelic Medicine และผู้ทำการวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า “ผลลัพธ์ในครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการแพทย์มาก การติดสุราเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรง ซึ่งวิธีการบำบัดและยารักษาในปัจจุบันมีน้อย”

 

 

 

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนก็มองว่า งานวิจัยในครั้งนี้ทดลองกับอาสาสมัครเพียง 93 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กเกินไปที่จะระบุผลลัพธ์ได้ชัด ต่างกับนักวิจัย psychedelic จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ บอกว่านี่คือก้าวสำคัญ เพราะก่อนหน้านี้กลุ่มตัวอย่างมีเพียง 10 รายเท่านั้น

 

 

 

ซึ่ง Michael Bogenschutz ยืนยันว่า การวิจัยด้านสารไซโลไซบินจะดำเนินต่อไป และในครั้งหน้ากลุ่มตัวอย่างจะเพิ่มเป็น 200 ราย พร้อมลดจำนวนโดสลงเหลือเพียง 1 โดสเท่านั้น ซึ่งล่าสุด ทางองค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ ก็อนุญาตให้ทีมวิจัยดำเนินการต่อแล้ว

 

 

 

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

 

 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว ทีมวิจัยได้ทดลองเทียบประสิทธิภาพของสารไซโลไซบินกับยาต้านซึมเศร้าทั่วไปชนิด SSRI ปรากฏว่า ผลลัพธ์ออกมาดีเกินคาด มีประสิทธิภาพพอ ๆ กับยาที่ใช่รักษาในปัจจุบัน ทั้งนี้ TOP News ขอย้ำว่า งานวิจัยในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ อย่าเก็บมองลองทานเองเด็ดขาด เนื่องจาก เห็ดชนิดหากทานเข้าไปอาจเกิดประสาทหลอนอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจติดขัดและอาจเสียชีวิตได้

 

 

 

ข้อมูล : futurism

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดซวย "โคมลอยปีใหม่" ตกใส่รถเก๋ง หวิดวอดทั้งคัน ด้านเจ้าของรถถึงกับเซ็ง
"รมว.สุดาวรรณ" เดินหน้าคัดเทศกาล - ประเพณีทั่วไทย ประกาศยกระดับสู่ระดับชาติ - นานาชาติ หวังเป็นแม่เหล็กดึงนักท่องเที่ยว ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power - สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน
"สืบนครบาล" ซ้อนแผนปลอมตัวเป็นนร. รวบ "ตั้ม สถาปนิก" นักไถเงิน นร.-นศ. กว่า 200 รายทั่วไทย
น.1 เรียกสอบอาจารย์ ม.ดัง ปมอบรมอาสาตำรวจ ย้ำต้องสอบให้เสร็จภายในวันนี้ หากผิดจริงฟันวินัย-อาญา
"โฆษกมหาดไทย" ยืนยัน 23 ม.ค. 68 นี้ พร้อมให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
ราคาทองวันนี้ พุ่งแรงครึ่งพัน ทองรูปพรรณขายออกบาทละ 43,850 บาท
บขส.โคราช คนยังแน่น แห่ซื้อตั๋วเดินทางเข้ากทม.ต่อเนื่อง หลังหยุดยาวเทศกาลปีใหม่
เสียงร้องไห้ดังระงม รับ 7 ผู้เสียชีวิต รถปิกอัพคว่ำ หนุ่มเล่านาทีสุดช็อก โทรศัพท์แม่โทรหา ได้รู้ข่าวร้ายดับยกคัน
ป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน "นายกฯอิ๊งค์" รวยอู้ฟู่ 1.39 หมื่นล้านบาท
คึกคัก ปชช.-นนท. แห่ซื้อของฝากร้านดัง จ.ลำปาง จนต้องเพิ่มการผลิตเป็นเท่าตัว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น