“นักอาชญาวิทยา” ตอกหน้า “ส.ต.ท.หญิง” หยุดอ้าง ป่วยจิตเวช เพื่อหนีผิด

"นักอาชญาวิทยา" ตอกหน้า "ส.ต.ท.หญิง" หยุดอ้าง ป่วยจิตเวช เพื่อหนีผิด

จากกรณี ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม ผบ.หมู่ กก.4 บก.ส.1 อ้างเป็นภรรยา ส.ว. ถูกดำเนินคดีข้อหาค้ามนุษย์ ทำร้ายร่างกาย อดีตทหารหญิงยศสิบโท ที่ถูกดึงตัวมาเป็นทหารรับใช้ / ความคืบหน้าล่าสุด พ.ต.อ.ธานินทร์ ฉัตรเจริญพร รอง ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี รรท.ผกก.สภ.เมืองราชบุรี เปิดเผยว่า ได้มีการเบิกตัว ส.ต.ท.หญิง มาตรวจสุขภาพจิตที่โรงพยาบาลราชบุรี ตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่าป่วยทางจิต ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้บางเวลา เป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา ส่วนครั้งที่สองเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 โดยครั้งที่สองเป็นการตรวจตามแพทย์นัด เพื่อตรวจดูอาการสภาพจิต ผลตรวจทั้งสองครั้ง แพทย์จะออกผลให้ทราบในวันที่ 9 กันยายน 2565 หากผลตรวจผู้ต้องหาเข้าเกณฑ์ป่วยเป็นโรคจิตเวช ก็ไม่มีผลทางคดี แต่หากผู้ต้องหาเข้าเกณฑ์ป่วยเป็นโรคจิตเภท ถึงจะมีผลทางคดี

จากประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทีมข่าวท็อปนิวส์ได้ไปสัมภาษณ์ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล นักอาชญาวิทยา ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งให้ความเห็นกับคดีของสิบตำรวจโทหญิงรายนี้ ไว้อย่างน่าสนใจ กับการอ้างว่า “ป่วยจิตเวช” อาจไม่พ้นความผิดตามกฎหมาย เพราะการดำเนินคดีกับผู้ก่อคดี ที่อ้างความเป็นผู้ป่วยทางจิต หรือ ผู้ป่วยจิตเวช แม้จะมีประวัติการรักษาอยู่แล้วก็ตาม กฎหมายมีข้อกำหนดให้ทำการตรวจประเมินทางนิติจิตเวช เพื่อรับรองสภาวะทางจิต จากสถานพยาบาลประกอบการ พิจารณาโทษตามกระบวนการยุติธรรม

ข่าวที่น่าสนใจ

พร้อมขอให้ประชาชน เชื่อมั่นในการตรวจประเมินทางนิติจิตเวชประกอบการพิจารณาในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในทางปฏิบัติความเจ็บป่วยทางจิต ที่จะมีผลต่อการรับโทษ เขียนไว้ชัดเจนในประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 65 ซึ่งผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น เพียงแต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

 

นั่นหมายถึง ต่อให้มีใบรับรองว่าป่วยทางจิต หรืออยู่ในกระบวนการรักษา ก็ต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าความเจ็บป่วยนั้น ส่งผลต่อความสามารถในการรู้ผิดชอบ หรือการควบคุมตนเองมากน้อยแค่ไหน เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่รักษาจนบรรเทาแล้วไปก่อคดีฆาตกรรม ก็ไม่สามารถนำมาใช้เป็นเหตุยกเว้นการรับโทษหรือรับโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้

นอกจากนี้ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ ยังได้กล่าวเน้นย้ำว่า “… ต้องไม่ลืมว่า สิบตำรวจโทหญิงรายนี้ เข้ารับราชการเป็นตำรวจได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติข้อ 1 ที่สำคัญที่สุด คือต้องไม่มีประวัติป่วยทางจิต มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้ารับราชการได้ …”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น