พรุ่งนี้บอร์ดกสทช.ถกรวม TRUE-DTAC รักษาการเลขาฯยันไม่กระทบค่าบริการคุมได้

พรุ่งนี้บอร์ดกสทช.ถกรวม TRUE-DTAC รักษาการเลขาฯยันไม่กระทบค่าบริการคุมได้

จากการที่คณะกรรมการกสทช.มีกำหนดประชุมในวันที่ 7 ก.ย. และถูกจับตาว่าจะมีการนำวาระคำร้องขอรวมธุรกิจ ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC หรือไม่ อย่างไร

ล่าสุด วันนี้( 6 ก.ย.65) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ว่า การประชุมบอร์ด กสทช. ในวันพรุ่งนี้ (7 ก.ย.65) จะมีวาระพิจารณารายงานการขอรวมธุรกิจ ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC รวมอยู่ด้วย

พร้อมกับระบุที่ผ่านมา สำนักงานกสทช. ได้ทำตามประกาศปี 2561 มาโดยตลอด นับจากบริษัททั้ง 2 ได้ยื่นรายงานการรวมธุรกิจต่อเลขาธิการ กสทช. ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2565 และทางสำนักงานฯได้ใช้เวลาตวจสอบเอกสาร ประมาณ 90 วัน ก่อนนำส่งให้กสทช. พิจารณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2565 ส่วนขั้นตอนพิจารณาถือเป็นกระบวนการของคณะกรรมการ กสทช. ในการดำเนินการ และในขั้นตอนพิจารณาของคณะกรรมการกสทช.ได้สั่งการเพิ่มเติมก่อนหน้า ได้มีการสั่งให้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำข้อมูลหลายๆ ด้านมาประกอบการพิจารณา ทั้งมิติของเศรษฐศาสตร์ สังคม เป็นต้น

สำหรับการพิจารณาในวันพรุ่งนี้ (7 ก.ย.65) นายไตรรัตน์ ระบุว่า สรุปสุดท้ายต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการ กสทช. 5 ท่าน โดยถ้าเห็นตรงกัน ก็จะกำหนดมาตรการออกมา แต่ถ้าเห็นไม่ตรงกัน ก็อาจจะพิจารณากำหนดมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งที่ผ่านมา ทางบอร์ดกสทช. ก็มีคำถามเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ ต่อเนื่องจากข้อมูลที่สำนักงาน กสทช. ทำส่งไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ถ้าพรุ่งนี้ ท่านกรรมการฯเห็นว่าข้อมูลที่มีครบ ก็จะตัดสินเลยได้ ถ้ารู้สึกว่าสามารถดำเนินการได้ พร้อมกำหนดมาตรการเพิ่มเติมออกมา แต่ถ้าท่านกรรมการฯคิดว่า ทำไม่ได้ ไม่เหมาะสม ก็อาจจะยังไม่ให้ทำ ก็แล้วแต่ท่าน โดยเมื่อคณะกรรมการกสทช. ตัดสินใจอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นเป็นกระบวนการที่ทางสำนักงาน กสทช. จะเป็นฝ่ายนำมาปฏิบัติตามกับฝ่ายผู้ประกอบการ”

เมื่อสอบถามถึงอำนาจของกสทช. ในการพิจารณาอนุมัติการรวมธุรกิจ นายไตรรัตน์ ยืนยันว่า กสทช.มีอำนาจโดยตรงในการพิจารณา บนพื้นฐานของประกาศกสทช.ปี 2561 ที่สามารถจะดำเนินการพิจารณาคำร้องได้

โดยการพิจารณารวมธุรกิจ ตามประกาศกสทช.ปี 61 ใช้คำว่าเมื่อพิจารณาแล้ว จะเป็นการ “รับทราบ” และ “กำหนดหลักเกณฑ์” หรือ “ไม่กำหนดหลักเกณฑ์” แต่อย่างไรก็ตาม การรวมธุรกิจหรือควบรวมกิจการทุกเคส ต้องผ่านการรับทราบของกสทช. หากกสทช.ไม่เห็นด้วย ก็ไม่สามารถรวมธุรกิจกันได้

“เราไม่ได้มีอำนาจในการอนุญาต ถ้าอะไรที่เราจะต้องอนุญาต ก็จะอยู่ในพ.ร.บ.ที่ให้เราอนุญาต แต่การควบรวม เป็นเพียงแค่ กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น ถ้ารู้สึกว่า ดีลนี้เกิดขึ้นแล้วมันจะทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม เราก็กำหนดหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมในลักษณะการแข่งขัน”

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ กสทช. จะไม่มีอำนาจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาต แต่กสทช. มีอำนาจในการกำกับดูแลตามข้อ 12 แห่งประกาศเรื่องการรวมธุรกิจฯ ปี 2561 ในการกำหนดเงื่อนไขหรือนำมาตรการเฉพาะ สำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง มาบังคับใช้เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ ยกตัวอย่าง กสทช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การรวมธุรกิจดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ

– ตลาดที่เกี่ยวข้องมีดัชนีการกระจุกตัว (Herfindahl-Hirschman Index: HHI) มากกว่า 2,500 และเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 100 หรือไม่
– มีอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่
– มีการครอบครองโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่

 

ส่วนข้อกังวลของบางฝ่าย กรณีเมื่อมีการรวมธุรกิจแล้ว จะทำให้มีปรับราคาตามอำเภอใจ หรือไม่ นายไตรรัตน์ กล่าวว่า สภาพตลาดปัจจุบันทุกวันนี้ สำนักงานกสทช. มีหน้าที่ควบคุมราคาอยู่แล้ว หรือเป็นหน่วยกำกับดูแลที่ไม่ให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภคอยู่แล้ว จึงยืนยันชัดเจนได้ว่าประเด็นเรื่องราคา กสทช. สามารถกำกับดูแลได้อยู่แล้ว

ขณะที่ประเด็นเกี่ยวกับการผูกตลาดโทรคมนาคม นายไตรรัตน์ ระบุว่า ไม่ได้กังวล เพราะว่า ธุรกิจแบบนี้ เป็นธุรกิจเฉพาะ ต้องมีผู้ที่มีความรู้เข้ามา และมีเงินทุนพอสมควร เพราะฉะนั้น หน้าที่ของกสทช. คือกำกับดูแลไม่ให้การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น และคุ้มครองผู้บริโภคใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด ในราคาที่เหมาะสม ไม่มีการเอาเปรียบผู้บริโภค อันนี้มั่นใจได้เลย

ส่วนการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ให้ส่งเรื่องต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความอำนาจของกสทช.ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมธุรกิจโทรศัพท์มือถือ นายไตรรัตน์ ระบุว่า อยู่ระหว่างรอคำตอบจากกฤษฎีกา ว่าจะมีความเห็นประกอบการพิจารณาของกสทช. อย่างไรได้บ้าง และทราบว่าขณะนี้ทางกฤษฎีกาได้รับหนังสือจากนายกรัฐมนตรีแล้ว และ คิดว่าคงไม่นานในการตอบกลับมา เพราะทางกฤษฎีกาคงต้องทำงานโดยเร่งด่วนเช่นกัน

สำหรับประธานกรรมการ และกรรมการ กสทช. รวม 5 ท่าน ประกอบด้วย

1. ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการ

2. พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ (ด้านกิจการกระจายเสียง)

3. ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ (ด้านกิจการโทรทัศน์)

4. นายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการ (ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)

5. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการ (ด้านอื่นๆที่ จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ข) ด้านเศรษฐศาสตร์) )

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง จ.ภูเก็ต เน้นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และผู้พ้นโทษ
ถล่มโกดัง! ยึดฝ้ายชุบไอซ์ 1.65 ตัน ตะครุบนกต่อสาวไทย-รอส่งออสเตรเลีย
ตร.จับ 2 เจ้าหนี้ ปล่อยเงินกู้ดอกโหด ลูกหนี้เครียดยิงตัวตายคาหอพัก
รัฐบาลกัมพูชายืนยันไม่เกี่ยวเหตุสังหารอดีตสส.ฝ่ายค้านที่ไทย
“รองผวจ.ประจวบฯ” พร้อมปฏิบัติตามกม. ปมอัลไพน์ ชาวบ้านเชื่อวัดธรรมิการาม ไม่อยากได้ที่ดินคืน
“แสตมป์” รับแล้ว “กลัวติดคุก” ยันโดนขู่ยัดคดี 112 ผวาจนต้องถอนฟ้องคู่กรณี
“Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาเอกมัย”พบกับผลิตภัณฑ์สินค้าดีมีคุณภาพของสหกรณ์นำมาจำหน่ายสู่คนเมือง
เที่ยว ‘งานวัดโบราณ’ รับตรุษจีนที่เหอหนาน
บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น