"เนบิวลา" ทารันทูลา กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ สร้างความตื่นตาตื่นใจอีกครั้ง เมื่อกล้องสามารถถ่ายภาพเนบิวลา สุดคมชัดเหนือจินตนาการ จนเห็นกลุ่มดาวฤกษ์หลายหมื่นดวงภายในเป็นครั้งแรกของโลก
ข่าวที่น่าสนใจ
ตื่นตาตื่นใจกันอีกครั้ง กับภาพถ่ายอวกาศสุดอลังการจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ที่คราวนี้ได้เผยภาพถ่ายของ เนบิว ลาทารันทูลา สุดคมชัดเหนือจินตนาการ โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเผยว่า ภาพถ่ายนี้เป็นภาพที่ได้จากอุปกรณ์เก็บข้อมูลความละเอียดสูงต่าง ๆ ที่สังเกตการณ์ในย่านรังสีอินฟราเรด ทำให้เห็นดาวฤกษ์อายุน้อยหลายหมื่นดวงที่ไม่เคยถ่ายได้มาก่อนในเน บิวลาทารันทูลา ตามชื่อกลุ่มดาวปลากระโทงแทง (Dorado) ซึ่งเป็นกลุ่มฝุ่นและแก๊สขนาดใหญ่ในอวกาศ และเป็นแหล่งก่อกำเนิดของดาวฤกษ์จำนวนมาก
จากภาพถ่ายความละเอียดสูงในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ในภายในเนบิว ลาทารันทูลา ที่มีความคล้ายคลึงกับมุมหลบซ่อนของแมงมุมทารันทูลา ขณะที่กลุ่มฝุ่นแก๊สดูคล้ายเส้นใยพลิ้วไหว และยังสามารถบันทึกภาพกาแล็กซีที่อยู่เบื้องหลังห่างไกลออกไปได้อีกด้วย ทั้งนี้ เนบิว ลาทารันทูลาเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่อยู่ในกาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารของทางช้างเผือก ซึ่งส่วนกลางจะมีกระจุกดาวเกิดใหม่มีมวลรวมประมาณ 500,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และปล่อยพลังงานออกมามหาศาล
โดยนักดาราศาสตร์จะให้ความสนใจเน บิวลานี้เป็นพิเศษ เนื่องจาก มีองค์ประกอบทางเคมีที่ใกล้เคียงกับเอกภพ ในยุคที่เอกภพมีอายุเพียงไม่กี่พันล้านปี (ปัจจุบันเอกภพมีอายุประมาณ 13,800 ล้านปี) ดังนั้น การศึกษาการก่อตัวของดาวฤกษ์ในเนบิว ลาแห่งนี้ จะช่วยทำความเข้าใจถึงสภาพในอดีตของเอกภพและการก่อตัวของดาวฤกษ์ในยุคแรกเริ่มด้วย
ภาพนี้เป็นภาพถ่ายล่าสุดที่เผยแพร่จาก JWST สู่สาธารณชน หลังจากที่ปล่อย JWST ขึ้นสู่อวกาศในวันคริสต์มาสปีที่แล้ว (2021) และส่งภาพถ่ายชุดแรกกลับมาเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้ และในชุดภาพถ่ายล่าสุดนี้ ยังมีภาพอื่นร่วมกับเนบิวลาทารันทูลาด้วย อย่างภาพถ่าย วงแหวนไอน์สไตน์ (Einstein ring) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ความโน้มถ่วงกาแล็กซีด้านหน้าบิดทางเดินของแสงจากกาแล็กซีที่อยู่ด้านหลัง ทำให้ภาพกาแล็กซีด้านหลังปรากฏเป็นรูปวงแหวน
ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และ space
ข่าวที่เกี่ยวข้อง