“ดร.พรภวิษย์” มั่นใจผลดีผนึก TRUE-DTAC ไม่ควรขวางพัฒนาเทคโนฯแข่งขันโลก

"ดร.พรภวิษย์" มั่นใจผลดีผนึก TRUE-DTAC ไม่ควรขวางพัฒนาเทคโนฯแข่งขันโลก

จากประเด็นปัญหาที่กสทช.ยังไม่พิจารณาคำร้องขอควบรวมธุรกิจ ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC โดยอ้างว่ายังไม่ได้รับข้อมูลที่สั่งให้คณะอนุกรรมการทั้ง 4 คณะ ประกอบด้วย 1.อนุกรรมการฯ ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง 2. คณะอนุกรรมการฯด้านเศรษฐศาสตร์ 3.คณะอนุกรรมการฯด้านเศรษฐศาสตร์ และ 4.คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี รวมถึงคณะที่ปรึกษา เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน และกำหนดจะพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งในวันทื่ 14 กันยายน 2565

ล่าสุด ผศ. ดร.พรภวิษย์ บุญศรีเมือง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฎสวนสุนันทา หนึ่งในนักวิชาการที่เข้าร่วมให้ความเห็นกับกสทช. เกี่ยวกับกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าว TOPNEWS ถึงมุมมองความเห็นเรื่องการรวมธุรกิจของ 2 บริษัท ว่า ควรจะปล่อยให้การควบรวมเป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากแนวคิดรวมธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัจจุบันให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการปรับเปลี่ยน ขณะที่ผลจากการควบรวมนั้น จะทำให้ภาคเอกชนมีโอกาสทำให้ต้นทุนต่้ำลง และมีความจำเป็นจะต้องควบรวมเพื่อเป็นทางออกของธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีปรับขึ้นราคาจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์ เพราะจะไม่เป็นผลดีกับแข่งขันทางการตลาดแน่นอน

สำหรับประเด็นข้อกังวลเรื่องการควบรวมธุรกิจ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะตัวเลขค่าบริการ จากการที่ผู้ให้บริการมีจำนวนลดลง ผศ. ดร.พรภวิษย์ ให้ความเห็นว่า กลไกเรื่องของการควบคุมราคานั้น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีหลักการอยู่แล้ว ในการที่จะควบคุมราคาไม่ให้เกินเพดาน โดยถึงแม้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือเพียง 4 ราย แต่กสทช.มีการวางหลักเกณฑ์ราคาขั้นสูง เพื่อไม่ทำให้ค่าบริการสูงเกินไป ซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้ก็จะยังคงอยู่แม้การควบรวมธุรกิจจะทำให้ผู้ประกอบการจาก 4 เหลือ 3 รายก็ตาม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของกสทช. ในการพิจารณาคำร้องควบรวมธุรกิจโทรศัพท์มือถือนั้น ผศ. ดร.พรภวิษย์ ระบุ ส่วนตัวมองว่า การควบรวมเป็นกลไกตลาดอย่างหนึ่ง ดังนั้นการขัดขวางกลไกตลาด จึงเหมือนเป็นการปิดกั้นการแข่งขันรูปแบบหนึ่ง

และในอีกมุมหนึ่ง ถ้าการควบรวมทำให้จากผู้ประกอบการ 4 เหลือ 3 ราย แล้วอ้างว่า การแข่งขันจะน้อยลง ส่วนตัวเห็นว่าการเอาจำนวนส่วนแบ่งตลาดมาคำนวณ เป็นเรื่องที่จินตนาการหรือคิดเอาเองล่วงหน้า เพราะถ้าคิดกลับกัน ในกรณีถ้าไม่ให้ควบรวม แล้วมีรายหนึ่งรายใดเจ๊งไป สุดท้ายก็จะเหลือผู้ประกอบการจาก 4 รายเป็น 3 รายเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ กรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า การควบรวมเป็นการผูกขาด ทำให้การแข่งขันไม่กระจายตัว ผศ. ดร.พรภวิษย์ ระบุว่า การควบรวมแล้วทำให้เกิดการผูกขาด คือ การมองมิติเดียว เพราะถ้ามองอีกมิติหนึ่ง ต้องถามว่าทำไมภาครัฐไม่ทำสภาพแวดล้อมให้มีรายเล็กเข้าสู่ตลาดได้มากกว่านี้ ทำไมถึงมีสภาพแวดล้อมทำให้บริษัทธุรกิจต้องพิจารณาถึงแผนการควบรวมกันเพื่อความอยู่รอด

รวมถึงมองว่า การจะผูกขาด หรือไม่ผูกขาดของธุรกิจ จริงๆ แล้วอยู่ที่ผู้กำกับดูแล คือ กสทช. นั่นเอง และเชื่อว่าที่ผ่านมา กสทช ทำหน้าที่ได้ดีในการกำกับดูแลส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมที่ไม่ทำให้ธุรกิจการสื่อสารเกิดการผูกขาด

เช่นเดียวกับข้อกังวลว่า เมื่อควบรวมแล้ว ราคาค่าให้บริการจะสูงขึ้น จนกระทบผู้บริโภค หรือ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ผศ.ดร.พรภวิษย์ ยืนยันว่า ข้อกังวลดังกล่าวไม่จริง เพราะกสทช. มีมาตรการในการกำกับดูแล โดยหนึ่งในมาตรการ คือการกำหนดเพดานราคาขั้นสูง ที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเรียกเก็บได้ และการกำหนดเพดานขั้นสูงนั้น กสทช.ก็คำนวนมาจากเหตุและผล บนพื้นฐานที่ว่าผู้ประกอบการอยู่ได้ ผู้ใช้บริการจ่ายในราคาที่เหมาะสม และไม่แพงจนเกินไป

ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.พรภวิษย์ ยังชี้ให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของตลาดการแข่งขันทุกวันนี้ ว่า สินค้าทุกอย่างปรับขึ้นราคา แต่ทำไมวันนี้กิจการโทรคมนาคมเราต้องกดมันไว้ ในเมื่อค่าแรงบุคลากรในการทำงาน เงินเดือนพนักงาน ค่าไฟฟ้าที่ Network ต้องใช้ทุกอย่างขึ้นหมด และในกิจการโทรคมนาคมก็ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก อย่าง Base Station หรือสถานีฐาน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ความกังวลในเรื่องของค่าบริการที่สูงขึ้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุและผลที่เป็นจริง ซึ่งเหตุและผลตัวนี้ ก็คือการกำกับดูแลของกสทช. เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ซึ่งกสทช.ยืนอยู่ข้างผู้บริโภคและผู้ประกอบการอย่างเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายอยู่แล้ว

 

“วันนี้กสทช มีหน้าที่กำกับดูแลส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ถ้าผู้ประกอบการทำผิดไปจากประกาศของกสทช. กสทช. ก็สามารถดำเนินการได้ กสทช. สามารถดำเนินการประกาศใหม่ ถ้าผู้ประกอบการทำผิดจากประกาศ กสทช. สามารถทำหนังสือแจ้งให้ปรับปรุง ถ้าไม่ปรับปรุงสามารถถอดถอนใบอนุญาตได้ กสทช.ออกกฎระเบียบได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว”

สุดท้าย ผศ.ดร.พรภวิษย์ มองว่า การควบรวมกิจการ TRUE -DTAC จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในระยะยาว และธุรกิจโทรคมนาคมของไทย โดยหากมีการควบรวมธุรกิจเกิดขึ้น จะสร้างความเข้มแข็งด้านเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการ และสามารถมีเงินทุนในการทำเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ โดยภาครัฐหรือกสทช.ในฐานะผู้กำกับ และ ควบคุม ไม่จำเป็นต้องขัดขวาง แต่ควรสนับสนุนภายใต้หลักการที่้เป็นธรรม ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียโอกาส จากการแข่งขันด้านนวัตกรรมการสื่อสาร

“ผมว่าตรงนี้ มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ลดต้นทุนที่จะสร้างนวัตกรรมได้ เพื่อที่จะไปแข่งได้”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กลับมาอีกครั้งกับ "คอนเสิร์ตเพชรในเพลง" ในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 8 เม.ย.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมฟรี
จนท.สนธิกำลัง "บุกจับบ่อนเสือมังกร" นนทบุรี รวบนักพนันนับร้อยราย
"สยามพิวรรธน์" ผนึกกำลังพันธมิตร เปิดศูนย์กลางรับบริจาค จากเหตุธรณีธรณีพิบัติภัย ช่วย รพ.ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ "สยามรวมใจ ไทยช่วยไทย"
"อนุทิน" ตั้ง คกก. สอบข้อเท็จจริง เหตุตึก สตง. ถล่ม ขีดเส้นตาย 7 วัน ต้องรู้เรื่อง
"สันธนะ" เข้าให้ปากคำตร.คดีถูก "บังมัด คลองตัน" ตบหน้าผับ ด้านผกก.ยันเป็นคดีลหุโทษ ต้องดำเนินคดี
"รมว.นฤมล" เผยความพร้อม เตรียมจัดงานวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 8-9 พ.ค. 68
จับตา! “รอยเลื่อนภาคใต้” ใกล้ถึงคาบอุบัติซ้ำ “กูรู” เตือน “เขื่อนเชี่ยวหลาน”
จีนสั่งเก็บภาษีสินค้าสหรัฐ 34% ตอบโต้ทรัมป์
สถานทูตจีนตอบคำถามปมบริษัทจีนร่วมก่อสร้างตึกสตง.
ยูน ซ็อกยอลแถลงขอโทษหลังถูกศาลเกาหลีใต้ถอดถอน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น