วันที่ 9 กันยายน 256 เริ่มจากอินเดีย นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี กล่าวว่าเขารู้สึกเจ็บปวดต่อการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ พร้อมกล่าวยกย่องพระองค์ในฐานะผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับประเทศและประชาชน และแสดงความเสียใจต่อราชวงศ์และประชาชนชาวอังกฤษ
ผู้นำทั่วโลกต่างถวายความอาลัยต่อการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นำโดยประเทศในเครือจักรภพ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ
ข่าวที่น่าสนใจ
ในอีกด้านหนึ่งของโลก นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ของแคนาดากล่าวว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งเป็นประมุขของแคนาดาด้วยนั้น ทรงมีชีวิตอยู่ในเวลาส่วนใหญ่ของช่วงชีวิตของชาวแคนาดา และพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ทำเพื่อชาวแคนาดาจะยังคงเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศตลอดไป
ขณะที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กล่าวยกย่องพระองค์ในฐานะผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยศักดิ์ศรี และความมั่นคงที่ไม่มีใครเทียบได้ ซึ่งพระองค์ทรงทำให้ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกานั้น ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ส่วนเยอรมนี ซึ่งในพระชนม์ชีพของพระองค์ สหราชอาณาจักรได้เปลี่ยนจากศัตรู ไปสู่พันธมิตรอันทรงพลัง นายโอ ลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า พระองค์จะถูกจดจำในฐานะ สัญลักษณ์แห่งความปรองดองระหว่างเยอรมัน-อังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อันน่าสะพรึงกลัว
ด้านประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ยกย่องพระองค์ว่า เป็นพันธมิตรของฝรั่งเศส ผู้ซึ่งนำประเทศ ได้อย่างโดดเด่น
ส่วนที่องค์การสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงต่างร่วมยืนถวายอาลัยเป็นเวลา 1 นาที และนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวยกย่องพระองค์ในความสง่างาม เปี่ยมศักดิ์ศรี และความทุ่มเท และทรงยืนหยัดอย่างมั่นคงตลอดหลายทศวรรษของการเปลี่ยนแปลง
แม้แต่ประธานาธิบดีชาอีร์ โบลโซนาโรแห่งบราซิลซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับสหราชอาณาจักร ก็ออกมาแสดงความอาลัย พร้อมประกาศไว้ทุกข์ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน และขนานนามพระองค์ว่า ทรงเป็นพระราชินีของทุกคน
ในนครวาติกัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสกล่าวว่า พระองค์เสียใจอย่างสุดซึ้งกับการสิ้นพระชนม์ของพระนาง และจะสวดอธิษฐานแด่พระราชินีผู้ล่วงลับและกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3
อีกทั้งผู้นำสหภาพยุโรปต่างแสดงความเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ โดยเริ่มจากนายชาร์ลส์ มิเชล ประธานสภาสหภาพยุโรป ที่ขนานนามพระองค์ว่าเป็นทรงเป็นผู้นำที่มั่นคง ตามมาด้วยการถวายอาลัยของ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม, ส่วน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ พร้อมสมเด็จพระราชินีมักซิมา และเจ้าหญิงเบียทริซ กล่าวว่า รู้สึกผูกพันอย่างแน่นแฟ้น กับสหราชอาณาจักรและราชวงศ์ และมีความเศร้าโศกร่วมกันในเวลานี้ ตามมาด้วยการถวายคำอาลัยโดยสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน และสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน
พร้อมกันนี้ยังมีการถวายคำอาลัยจากผู้นำหลากหลายประเทศที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็น ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ รวมถึงหมู่เกาะเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นสมาชิกเครือจักรภพที่เล็กที่สุด ส่วนประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียได้แสดงความเสียใจต่อกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3และให้กำลังใจกษัตริย์พระองค์ใหม่ หลังการจากไปของพระมารดา
ด้านอาร์เจนตินาซึ่งพ่ายแพ้ต่อสหราชอาณาจักร ในกรณีหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ในปี 1982 ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อการจากไปของสมเด็จพระราชินี ในถ้อยแถลงสั้นๆ จากกระทรวงการต่างประเทศ โดยกล่าวว่า รัฐบาลขอถวายความอาลัยและจะอยู่เคียงข้างชาวอังกฤษและราชวงศ์ในช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง