BTSC เปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม พิสูจน์ผลตอบแทนรัฐดีสุด

BTSC เปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม พิสูจน์ผลตอบแทนรัฐดีสุด

วันที่ 12 ก.ย.65 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยภายหลังการเปิดซองข้อเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี ) (สุวินทวงศ์) ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน โดยระบุว่า บริษัทได้ทำหนังสือแจ้งรฟม. ลงวันที่ 9 ก.ย. 65 เพื่อขอรับซองเอกสารการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ครั้งที่1) คืน ในวันนี้ ( 12 ก.ย.65) ช่วงเวลา 13.00-15.00 น. ซึ่งทางด้านบีทีเอส ได้ส่งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทฯ ไปติดต่อเพื่อรับเอกสารคืน แต่ทางด้านของรฟม. ได้มีการว่าจ้างบริษัทขนส่งเอกชน นำกล่องเอกสาร ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จำนวน 4 กล่อง มาส่งยังบริษัท บีทีเอส สำนักงานใหญ่ ในเวลา 13.16 น. โดยแนบหนังสือขอส่งคืนซองเสนอราคา ลงวันที่ 8 ก.ย.65 สวนทางกับตัวแทนบริษัทที่เดินทางไปรับเอกสารที่ รฟม. สร้างความแปลกใจให้แก่ทางด้านบีทีเอส เนื่องจากได้ทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าว่าจะไปรับเอกสารด้วยตนเอง รวมถึงตั้งข้อสังเกตในเรื่องเอกสารที่มีการลงวันที่ก่อนที่บีทีเอสจะทำหนังสือขอรับซองคืนไปยังรฟม.

 

 

จากนั้น ในเวลา 15.00 น. นายสุรพงษ์ พร้อมด้วยผู้บริหาร และทีมฝ่ายกฎหมาย ได้ทำการเปิดซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซึ่งเป็นซองที่ 3 ให้สื่อมวลชนได้ทราบถึงราคาที่ทางด้านบริษัทได้นำเสนอในการประมูลครั้งแรกเมื่อปี 2563 โดยบริษัท ได้ขอรับเงินสนับสนุนค่างานโยธา รวม 79,820 ล้านบาท (79,820.40 ) มีการจ่ายเงินตอบแทนให้แก่ รฟม. รวม 70,144 ล้านบาท (70,144.98 ) รวมยอดเงินขอสนับสนุนจากภาครัฐ รวม 9,676 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่า ผู้ชนะการประมูลที่เสนอผลประโยชน์สุทธิ รวม 78,287.95 ล้านบาท

โดยผลประโยชน์สุทธินั้น คือเงินตอบแทนที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะให้แก่รฟม. หักลบด้วยจำนวนเงินสนับสนุนค่างานโยธาที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะขอรับจากรฟม.

 

 

 

 

นายสุรพงษ์ ระบุว่า สำหรับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตัวเลขที่บริษัทได้นำเสนอประกอบไปด้วยสองตารางตามแบบฟอร์มของรฟม. และเช่นเดียวกับที่ได้ประกาศผู้นำเสนอดีที่สุด โดยผู้ที่เสนอราคาดีที่สุดคือ ผู้ที่เสนอขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยที่สุด ( มูลค่าปัจจุบันสุทธิ Net Present Value: NPV) ประมาณ 78,000 ล้านบาท ซึ่งจากการเปิดเอกสารของบีทีเอสวันนี้ พบว่า จำนวนเงินที่บีทีเอสได้เสนอขอรับเงินสนับสนุนอยู่ที่ประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งมีความแตกต่างกันเกือบ 7 หมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดของการเสนอราคามีอะไรบ้าง จึงอยากให้รฟม.นำเสนอข้อมูลทั้งหมด ว่า ในข้อเสนอที่ยื่นไปนั้น มีการขอเงินสนับสนุนอยู่ที่เท่าใด และมีส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่เท่าใด เพื่อบริษัทจะได้มีการชี้แจงรายละเอียดใหัชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการขอรับเงินสนับสนุนที่ต่างกันมาก ถึงแม้จะมีอัตราการคิดที่ต่างกันบ้างแต่ก็ต่างกันหลายหมื่นล้านบาท

“คนที่ให้ข้อเสนอดีที่สุด ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือรฟม. กลมๆ ประมาณ 78,000 ล้าน แต่วันนี้ ผมได้เปิดให้ดูแล้ว ว่าสิ่งที่เราเสนอไป ในการประมูลที่เรายื่นเมื่อปี 63 เราขอรับการสนับสนุน อยู่ที่ประมาณ 9 พันล้านเท่านั้น ก็จะเห็นว่า ตัวเลขแตกต่างกันอยู่เกือบ 7 หมื่นล้าน” นายสุรพงษ์ กล่าว

นายสุรพงษ์ ระบุถึงความเสียโอกาส หากไม่มีการยกเลิกประมูลครั้งที่ 1 ว่า หากไม่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ รวมถึงยกเลิกการประมูล และดำเนินโครงการตามปกติ รัฐบาลจะได้โครงการนี้ตามราคาที่ BTSC ได้เสนอไป เนื่องจากบริษัทได้ขอเงินสนับสนุนจากรัฐเพียง 9 พันล้านบาทเท่านั้น รัฐบาลจะเสียเงิน NPV เพียง 9 พันล้านบาท โครงการจะไม่ล่าช้าถึง 2 ปี พร้อมเสียดายงบประมาณของรัฐที่จะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น

“ถ้าวันนั้น ไม่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ รัฐก็ได้เงินที่เราเปิดให้ดูวันนี้ เราขอเงินสนับสนุนไปแค่ 9 พันล้าน และโครงการก็ไม่ต้องล่าช้ามาถึง 2 ปีแล้ว ฝากกลับไปคิดเอง ว่ามันเสียหายขนาดไหน” นายสุรพงษ์ กล่าว

สำหรับความแตกต่างที่เกิดขึ้นของการเปิดประมูลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นั้น นายสุรพงษ์ ระบุว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนเป็นเรื่องคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล ซึ่งในการประมูลครั้งแรก บริษัทและพันธมิตรสามารถเข้าร่วมประมูลได้ แต่ในการประมูลครั้งที่ 2 พบว่า บีทีเอส และพันธมิตรไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ เพราะมีการกำหนดคุณสมบัติผู้ก่อสร้างงานโยธา ที่จะต้องมีผลงาน 3 ประเภท คือ งานอุโมงค์ งานระบบราง และงานสถานี โดยจะต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทยเท่านั้น

ปัจจุบัน พบว่า ในประเทศไทยมีบริษัทที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้เพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น จึงส่งผลให้บีทีเอสไม่สามารถเข้าร่วมประมูลในครั้งที่ 2 ได้ เพราะมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่กำหนดไว้

และเมื่อเปิดให้มีการประมูลครั้งใหม่ จากข้อกำหนดด้านคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ต่างๆพบว่า มีบริษัทที่ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ เพียง 1 ราย แม้จะมีผู้เข้าประมูล 2 ราย โดย 1 บริษัทที่เข้าร่วมประมูลครั้งที่ 2 พบว่าไม่ผ่านคุณสมบัติในเรื่องของคณะกรรมการบริษัท และในการประมูลโครงการนี้ ตามหลักการ พ.ร.บ.ร่วมทุนจะต้องเปิดกว้างมากกว่านี้ ซึ่งครม. ได้กำหนดไว้ให้มีการเปิดโอกาสให้บริษัทจากต่างประเทศเข้าร่วมลงทุนได้ ซึ่งจาก TOR ครั้งใหม่จึงทำให้เหลือผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 1 รายเท่านั้น

ส่วนด้านรายเอียดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอทางเทคนิค หรือ ข้อเสนออื่นพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึง หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

 

นายสุรพงษ์ ระบุว่า หากไม่มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ โครงการนี้ ในการบริการหรือดำเนินการ จะเป็นเช่นเดียวกับการบริหารรถไฟฟ้าที่ทางด้านบีทีเอสมีการดำเนินการอยู่ แต่ในส่วนของสายสีส้ม การดำเนินการส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ดิน ส่วนการเดินรถก็ไม่มีความต่างจากการเดินรถที่บริษัทได้ดำเนินการอยู่

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ บริษัท จะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งตัวเลขการประมูล พร้อมเชิญสื่อมาเป็นพยานถึงตัวเลขเสนอราคาเพื่อให้ทุกหน่วยงานได้วิเคราะห์ ซึ่งในส่วนความเห็นของบีทีเอส คือต้องการให้มีการยกเลิกการประมูลนี้ เพราะมีความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ การยกเลิกประมูล รวมถึงการออกหลักเกณฑ์ใหม่ ที่เป็นการกีดกัด และการทำให้รัฐเสียประโยชน์ ยืนยันบีทีเอสทำดีที่สุดแล้ว

 

 

นายสุรพงษ์ เปิดเผยความคืบหน้าคดีความของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่า ขณะนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 คดี แบ่งเป็น ศาลปกครอง 3 คดี และ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง 1 คดี โดยในส่วนของศาลปกครองนั้น

มีคดี 1 ฟ้องละเมิด การเปลี่ยนหลักเกณฑ์หลักการขายซองเสนอราคา รวมถึงการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือก ซึ่งศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 15 ก.ย. นี้

2 คดีฟ้องเรื่อง การยกเลิกการประมูลครั้งที่1 มิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ของรฟม. และรอศาลปกครองสูงสุดนัดพิจารณา

และคดีที่ 3 การออกทีโออาร์ใหม่ที่กีดกันและการออกมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีการยกเลิกการประมูลไปแล้ว ทั้งที่ขอทีโออาร์ครั้งที่ 1 ยังอยู่ ซึ่งได้มีการฟ้องร้อง

และคดีในส่วนของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คือ คดีฟ้องร้องกรรมการม. 36 และ รฟม. เรื่องเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูล และการยกเลิกการประมูลมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลจะนัดพิจารณาชี้มูลความผิดในวันที่ 27 ก.ย.นี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น