“นักวิชาการ” หนุนกสทช.ไฟเขียวผนึก TRUE-DTAC มั่นใจเกิดผลดีหลายด้าน

"นักวิชาการ" หนุนกสทช.ไฟเขียวผนึก TRUE-DTAC มั่นใจเกิดผลดีหลายด้าน

หลังจากที่บอร์ดกสทช.มีกำหนดจะมีการประชุมพิจารณา แผนควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC อีกครั้ง หลังจากกรณีดังกล่าวยืดเยื้อมานานถึง 7 เดือน

ล่าสุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรวุธ กิจกุศล หนึ่งในคณะนักวิชาการที่ คณะอนุกรรมการ กสทช. เคยขอความเห็น เรื่องการควบรวมธุรกิจ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS ถึงประเด็นดังกล่าวว่า โดยข้อเท็จจริงการผนึกองค์กรที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปตามปกติในเชิงของธุรกิจ สำหรับกรณีบริษัท อันดับ 2 และ 3 ในตลาดโทรคมนาคม เนื่องจากทั้ง 2 องค์กร มีเป้าหมายในการทำให้ธุรกิจเกิดการพัฒนา และขยายตัวไปตามทิศทางที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะถ้าพิจารณาจากโครงสร้างทางการตลาด ในเรื่องความห่างจากผู้ประกอบการอันดับที่ 1 โดยเฉพาะในเรื่องของรายได้และผลกำไร จนไปถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถ้าสองบริษัทจะควบรวมธุรกิจกัน

ขณะเดียวกัน ถ้าพิจารณาในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยี พบว่า ปัจจุบันมีเพียงบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ AIS กับ TRUE เท่านั้น ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการ โครงข่าย 5G ส่วนด้าน DTAC ยังคงให้บริการ 4G เท่านั้น ขณะที่ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือหลายๆ รุ่น สามารถรองรับการให้บริการ 5G ได้แล้วก็ตาม ดังนั้นเมื่อมองในมุมมองของผู้บริโภค หากปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ โดยไม่มีการควบรวมธุรกิจเกิดขึ้น ภาพรวมการแข่งขันจะกลายเป็น ผู้ให้บริการ 1 ราย ที่มีความเเข็งแรงทางธุรกิจ ขณะที่ 2 รายเหลือ เพียงแค่ประคองธุรกิจไปได้ ซึ่งในระยะยาวจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากในการใช้บริการผู้บริโภคจะไม่ได้มองเพียงแค่ค่าบริการเท่านั้น แต่มองว่า ค่าบริการที่เกิดขึ้นจะต้องมาพร้อมกับระบบเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การใช้บริการที่มีคุณภาพได้ด้วย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดังนั้น ถ้าหากเทคโนโลยีไม่ถึงเกณฑ์ แล้วคิดค่าบริการอัตราปัจจุบัน อีกมุมมองหนี่งอาจกลายเป็นค่าบริการที่แพงเกินไป แต่ในระยะยาวหากมีการควบรวมเกิดขึ้นได้ การประกอบธุรกิจโทรศัพท์มือถือของทั้ง 2 ค่าย จะมีความเเข็งแรงมากขึ้น และเป็นโอกาสสำคัญในการสนับสนุน ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้มากขึ้น สุดท้ายสำหรับตนเชื่อว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์มากกว่าเกิดผลเสียแน่นอน

ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่า หากมีการควบรวมธุรกิจแล้วจะทำให้เกิดการผูกขาดตลาดโทรศัพท์มือถือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรวุธ ให้ความเห็นอย่างน่าสนใจ ว่า โดยข้อเท็จจริงตลาดโทรคมนาคม ถือเป็นตลาดที่มีการลงทุนค่อนข้างสูง และมีผู้ประกอบการน้อยราย การจัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ เข้ามาในธุรกิจนี้จึงค่อนข้างยาก ดังนั้นกรณีจะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการผูกขาดตลาดจากการควบรวมธุรกิจ จะต้องมองกรณีนี้เป็นกรณีพิเศษ คือ หากมองตามหลักทั่วไป ที่มีผู้ประกอบหลายราย อาจจะพอเป็นไปได้ แต่กรณีนี้ที่มีผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 3 ราย และที่ผ่านมาเห็นภาพชัดเจน เรื่องการผูกขาดตลาด ยกตัวอย่าง AIS ถือเป็นอันดับ 1 ของส่วนแบ่งการตลาด รวมกับ ดีเเทค อันดับ 3 ของตลาด หรือ AIS ควบรวมกับ ทรู อันนี้ต่างหากจะชี้ได้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับเรื่องการผูกขาดตลาด ตามที่มีผู้แสดงความเป็นห่วง

หากจุดนี้มีแตกต่างกันเลย เมื่อ AIS มีความแข็งแกร่ง เรื่องการดำเนินธุรกิจ ผลประกอบการดีที่สุด แต่ TRUE – DTAC ในสภาพปัจจุบัน กรณีแบบนี้หากไม่ได้ควบรวม อนาคตผู้ประกอบการ DTAC อาจจะมีการขายหุ้น และถอนออกจากประเทศไทย ท้ายสุดก็จะเหลือผู้ประกอบการเพียง 2 รายเช่นกัน ทำให้ผู้บริหาร TRUE – DTAC มองว่า การควบรวมกันจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และประชาชนจะได้ประโยชน์มากสุด นอกจากนี้ในทางปฏิบัติ ยังมีหน่วยงานกลางอย่าง กสทช. ที่มีอำนาจควบคุมดูแล การประกอบธุรกิจ ไม่ให้ผู้ประกอบการ คิดอัตราค่าบริการที่แพง และมีกรอบหน้าที่ต้องทำให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงเชื่อว่า เมื่อมีการควบรวมธุรกิจ ผู้ประกอบการทั้ง AIS และทรู จะไม่หยุดนิ่งในพัฒนาธุรกิจ และการแข่งขันธุรกิจ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอย่างแน่นอน

“มองว่า เคสนี้ ผู้บริโภคน่าจะได้ประโยชน์ ถ้าห่วงในเรื่องของผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้ มันมีกฎหมายอยู่แล้ว ที่ กสทช.สามารถกำหนดเงื่อนไขในการควบรวมได้ ถ้าเกิดไม่ทำตามเงื่อนไขนั้น ก็ผิด และอาจจะมีการยกเลิกดีลก็ได้ กรณีแบบนี้ กสทช.ในฐานะเรกกูเลเตอร์ เค้ามีบางอย่างอยู่ในมือ ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคอยู่ได้ดี ยกตัวอย่าง ถ้ากังวลเรื่องค่าบริการที่จะเพิ่มขึ้น เงื่อนไขง่ายๆ ถ้าบริการทุกอย่างเหมือนเดิม การควบรวมแล้วบอกจะขึ้นค่าบริการเป็นไปไม่ได้ มันก็จะมีเงื่อนไขที่ทางกสทช.ต้องตกลงให้ชัดเจน แต่ถ้าเค้าควักเงินลงทุนก้อนใหม่ลงมา แล้วสามารถทำระบบให้ทันสมัยและดีกับผู้บริโภคมากขึ้น ก็เป็นเงื่อนไขที่น่าสนใจ”

 

 

ส่วนสาเหตุที่ กสทช. ยังไม่พิจารณาเรื่องการควบรวม แม้ระยะเวลาจะผ่านมานาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรวุธ ให้ความเห็น ว่า อาจเป็นเพราะกสทช.อาจประเมิน หากรีบตัดสินไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด เชื่อว่าจะมีกระเเสทั้งบวกและลบจากสังคมแน่นอน อีกทั้งในส่วนของคณะกรรมการที่เข้ามายังเป็นชุดใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาให้รอบด้าน

แต่อย่างไรก็ตามส่วนตัวยืนยันว่า ในการแข่งขันธุรกิจโทรศัพท์มือถือ หากตลาดโทรคมนาคม มีผู้ให้บริการเพียง 3 ราย และมีผู้ที่แข็งแรง 1 ราย กับผู้ที่อ่อนแอกว่า 2 ราย ข้อดีจากการที่ ผู้ประกอบการ 2 ราย รวมตัวกัน ย่อมจะทำให้เกิดความสามารถแข่งขันที่ดีขึ้นได้ เพราะการมีผู้ประกอบการ 2 ราย ที่มีความเเข็งแรงใกล้เคียงกัน ย่อมจะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงกว่า

ส่วนอำนาจการพิจารณา กสทช. นั้น เป็นในเรื่องของข้อกฎหมาย โดยฝ่ายหนึ่งมองว่า กสทช. มีอำนาจในการพิจารณาเพื่อป้องกันการผูกขาด แต่กสทช. ออกตัวว่าในการควบรวมผู้ประกอบการ สามารถรายงานมาที่กสทช.ได้ ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต ตามประกาศปี 2561 เรื่องการควบรวมธุรกิจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรวุธ ย้ำอีกครั้่งว่า หากมองตามความเป็นจริง ในการแข่งขัน 2 ราย และดำเนินการต่อไป จะทำให้ทั้งผู้ประกอบการอันดับหนึ่งมีความแข็งแกร่ง ส่วน TRUE และ DTAC ก็สามารถดำเนินการธุรกิจต่อไปได้ ในทางตรงข้ามถ้าเรายับยั้งการควบรวม จะทำให้ ผู้ประกอบการรายที่ 1 ยิ่งทิ้งห่างรายอื่นๆ ออกไปเรื่อย ๆ และผู้ประกอบการที่เหลืออาจจะไปต่อไม่ได้ รวมถึงเชื่อว่า หากมีการควบรวมเกิดขึ้น จะเกิดการแข่งขันที่ใกล้เคียงกันและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด จากการแข่งขันในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี และการลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดยมีกสทช.เป็นผู้กำกับดูแลเรื่องการกำหนดราคา เพื่อให้ผู้ประกอบการให้บริการในราคาที่เหมาะสม และผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด

“ การแข่งขันมันน่าจะดีมากขึ้น และน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค และถ้าทั้ง 2 ฝ่ายแข่งกันลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ด้วยเม็ดเงินใหม่ กรณีแบบนี้ต้องถามเลยว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์ไหม แต่เทคโนโลยีใหม่ อาจมาพร้อมกับค่าบริการที่เพิ่มขึ้น ส่วนตัวจึงไม่อยากมองแค่ค่าบริการเท่านั้น เพราะถ้าเรามองแค่นั้น ทุกอย่างจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะเราจะไม่ยอมให้ทุกอย่างขึ้นไปจริงๆ แล้วกสทช.มีเครื่องมืออยู่อันนึง คือสามารถกำหนดราคาได้ แคปราคาได้ เพราะฉะนั้น ต้องใช้หลักเศรษฐศาสตร์ หลักทั้งหลาย มาดูว่าราคาเท่าไหร่ หรือราคาที่เหมาะสม เพราะฉะนั้น ถ้าลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ อะไรคือค่าบริการที่เหมาะสม และต้องคิดให้ถูกต้องจริงๆ ตรงนี้ ก็จะเป็นการคุมผู้ประกอบการได้แล้ว ถ้ามองในเชิงของค่าบริการ ผู้บริโภคก็จะได้รับความเป็นธรรมตรงนั้น”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้การชลบุรี บูรณาการทุกภาคส่วน เข้มมาตรการ ดูแลความปลอดภัยและการจราจรให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในช่วงวันคริสต์มาสและเทศกาลเคาท์ดาวน์ 2567
พนักงานเซเว่น น้ำใจงามช่วยสาวลาว ขับเก๋งเสยแบริเออร์ล้อชี้ฟ้า เจ็บติดคารถ
เทศกาลส่งมอบความสุขวันคริสต์มาส
"ผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอน" ยันไม่มีเหตุความไม่สงบฝั่งตรงข้ามชายแดน
ตร.วางแผนรวบ 2 ผู้ต้องหา ยึดของกลางยาบ้าล็อตใหญ่ แอบซุกกล่องพัสดุส่งจากเชียงราย
“รศ.ดุลยภาค” สำรวจชายแดน พบหลักฐานทหารว้าล้ำเขตแผ่นดินไทย
รมว.ต่างประเทศ ยันรัฐบาลช่วย 4 ลูกเรือประมงเต็มที่
กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน พิสูจน์-สกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา
“ทักษิณ” เปิดตัว “ยลดา” ส่งสู้ศึกลงนายอบจ.โคราช บอกสนามนี้ไม่มีอะไรหนักใจ
ยาย "เจ้าของรองเท้ามือสอง" แจ้งเอาผิดคนโพสต์ แจกฟรี จนชาวบ้านแห่ขนกลับ ทำเสียหาย 8 หมื่นบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น