“โรคหัวใจในเด็ก” เปิด 4 ข้อสังเกต ที่ผู้ปกครองควรทราบ

โรคหัวใจในเด็ก

"โรคหัวใจในเด็ก" กรมการแพทย์ เปิด 4 ข้อสังเกต ที่ผู้ปกครองควรทราบว่าเด็กกำลังเป็นโรคหัวใจหรือไม่ รู้ให้ทันเพราะอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

“โรคหัวใจในเด็ก” ลูกเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจในทารกแรกเกิด โรคหัวใจในวัยรุ่น โรคหัวใจ หนึ่งโรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต ล่าสุดทางด้าน กรมการแพทย์ ได้เปิด 4 ข้อสังเกตว่าเด็กเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ผู้ปกครองควรรู้ให้ทันเพราะไม่เพียงแต่ทำให้เด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าวัย แต่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ข้อมูลว่า โรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นในเด็กทุกกลุ่มอายุ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กโรคหัวใจควรทราบถึงชนิดของโรคหัวใจชนิดนั้น ๆ รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจในยาที่เด็กได้รับ รวมถึงการเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนและสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องพามาพบแพทย์

 

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหัวใจในเด็กสามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภท คือ

  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง

โดยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดพบในเด็ก 8 คน จาก 1,000 คน ซึ่งเด็กเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางคนทราบตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์มารดา แต่ส่วนใหญ่ตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด ส่วนน้อยที่อาการไม่ชัดเจนอาจตรวจพบในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ ซึ่งบางโรคแสดงอาการตั้งแต่เป็นเด็กแรกเกิดหรือบางกลุ่มโรคเด็กมีอาการตอนโต

 

 

โรคหัวใจในเด็ก

 

 

สำหรับโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง มีสาเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น โรคหัวใจรูมาติก เกิดจากไข้รูมาติก ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ส่วนใหญ่พบในเด็กวัยเรียน โรคคาวาซากิ มักพบในเด็กเล็กน้อยกว่า 5 ปี อาจพบการโป่งพองของเส้นเลือด เกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส สามารถทำให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจวายจากการขาดวิตามินบี 1 ซึ่งหากรับประทานอาหารครบหมู่จะสามารถป้องกันโรคหัวใจนี้ได้

 

 

โรคหัวใจในเด็ก

 

 

 

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า ความรุนแรงของโรคหัวใจ ในเด็กนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าวัย แต่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตอาการดังต่อไปนี้

  1. อาการหายใจหอบเหนื่อยง่าย
  2. อาการเล็บหรือตัวเขียว
  3. อาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อย ๆ
  4. ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแต่แพทย์ตรวจพบเสียงหัวใจผิดปกติก็ควรได้รับการตรวจจากกุมารแพทย์โรคหัวใจ

 

ทั้งนี้ โรคโดยส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้จากการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) เมื่อกุมารแพทย์โรคหัวใจตรวจวินิจฉัยพบว่าเด็กเป็นโรคหัวใจชนิดใดแล้ว จะสามารถวางแผนการรักษาโดยการให้ยารักษา การทำหัตถการเพื่อซ่อมแซมความผิดปกติ หรือการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้แพทย์สามารถทำการรักษาเด็กที่เป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น ผลการรักษาดีขึ้น

 

 

โรคหัวใจในเด็ก

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการแพทย์ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กองทัพเรือ จัดงานรำลึกครบรอบ 2 ปี สดุดี 29 วีรชน เหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง
"แพทยสภาฯ" สอบจริยธรรมหมอ-พยาบาล ปมเอื้อนักโทษชั้น 14 สั่ง "รพ.ตำรวจ" ส่งหลักฐานรักษา "ทักษิณ"
"รมว.เกษตร" สั่งเดินหน้าพัฒนาสหกรณ์โคนม พร้อมเปิดรับการค้าเสรี เน้นลดต้นทุนพร้อมพัฒนาการผลิต-แปรรูปนมหลากหลาย
ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยม พล.ร.11 และ หน่วยขึ้นตรง
รองนายกอบจ.ปราจีนบุรี ยืนยัน เป็นลายมือจริง หลัง “โกทร” ฝากจม.น้อยออกจากคุก
ห้างมาเก๊าออกแบบทันสมัยผสานเอกลักษณ์ดั้งเดิมอย่างลงตัว
สีจิ้นผิงชื่นชมความสำเร็จมาเก๊าหลัง 25 ปีใต้ร่มเงาจีน
รัสเซียจับผู้ต้องสงสัยลอบสังหารนายพลคิริลอฟ
“รัชดา” โพสต์ภาพคู่ “องคมนตรีลุงตู่” ชาวเน็ตถล่มไลค์ให้หาย “คิดถึง”
จีนสอนหลาก ‘วิชากีฬาฤดูหนาว’ ในฮาร์บิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น