“ลอง โค วิด” แพทย์เผยทำเนื้อสมองฝ่อ คิดวิเคราะห์นานขึ้น 30%

"ลอง โค วิด" หมอธีระ เผยผู้ที่เคยติดเชื้อโอมิครอน เสี่ยงเกิดภาวะ Long COVID ด้านสมอง นำไปสู่ภาวะเนื้อสมองฝ่อและความเสื่อมถอยด้านความจำ คิดวิเคราะห์นานขึ้น 30%

“ลอง โค วิด” หมอธีระเผย โอมิครอนร้ายกว่าที่คิด ผู้ที่เคยติดเชื้อ มีความเสี่ยงเกิด ภาวะ Long COVID ด้านสมอง ปัญหาเรื่องหัวใจและหลอดเลือด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อัปเดตสถานการ์โควิดผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยระบุว่า ทางองค์การอนามัยโลก ยุโรป ได้ออกประกาศเมื่อวานนี้ 13 กันยายนทีผ่านมา ประเมินว่าตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2564 มีผู้ที่ติดเชื้อแล้วประสบปัญหา Long COVID ใน 53 ประเทศ อย่างน้อย 17 ล้านคน ซึ่งคาดว่ามีจำนวนไม่น้อยที่จะมีอาการผิดปกติยาวนาน

 

 

 

Long COVID, โควิด, องค์การอนามัยโลก, สมองฝ่อ, หมอธีระ, ลอง โค วิด

 

 

 

ทางองค์การอนามัยโลกได้เตือนให้แต่ละประเทศวางแผนรับมือปัญหา Long COVID อย่างจริงจัง และลงทุนทรัพยากรเพื่อทำการศึกษาวิจัย และจัดระบบบริการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพให้แก่ผู้ป่วย ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Long COVID หลังจากติดเชื้อนั้น จะมากขึ้นหากติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล โดยจะพบในเพศหญิงราวหนึ่งในสาม และเพศชายพบได้ราวหนึ่งในห้า

 

 

 

ความรู้ทางการแพทย์จากงานวิจัยทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมานั้น ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับ Long COVID มากขึ้น ทั้งในเรื่องกลไกที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ซึ่งมีหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุน ได้แก่

  • การตรวจพบเชื้อ และ/หรือชิ้นส่วนของเชื้อไวรัสในเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
  • รวมถึงในเลือด
  • เซลล์ของระบบต่าง ๆ ของร่างกายถูกทำลายจากการติดเชื้อ
  • การพบสารบ่งชี้กระบวนการอักเสบต่อเนื่องในร่างกาย
  • ตลอดจนการกระตุ้นเชื้อไวรัสอื่นที่มีการติดเชื้อแฝงอยู่ เช่น EBV และ VZV

 

 

 

Long COVID, โควิด, องค์การอนามัยโลก, สมองฝ่อ, หมอธีระ, ลอง โค วิด

ผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่า ทำให้เกิดความผิดปกติได้ในแทบทุกระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น

  • ภาวะติดเชื้อในเซลล์สมอง นำไปสู่ภาวะเนื้อสมองฝ่อ (Cortical atrophy)
  • ความเสื่อมถอยด้านความจำ (Cognitive decline)
  • โดยพบว่าผู้ที่ประสบปัญหาทางสมองนั้น จะมีสมรรถนะการคิดเสื่อมถอยลง จะใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์นานขึ้นราว 30%

 

 

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก คือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหา Long COVID ด้านสมอง ระบบประสาท และจิตเวช ไม่ต่างจากเดลต้า หรือสายพันธุ์ก่อนหน้า นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องหัวใจและหลอดเลือดก็ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นว่า พบความเสี่ยงเพิ่มกว่าปกติยาวนานไปถึงอย่างน้อย 12 เดือนหลังติดเชื้อ และอาจนานกว่านั้น

 

 

 

Long COVID, โควิด, องค์การอนามัยโลก, สมองฝ่อ, หมอธีระ, ลอง โค วิด

 

 

 

ในขณะเดียวกัน ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 นั้นก็พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวานสูงขึ้น ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้น การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

 

 

 

ข้อมูล : Thira Woratanarat

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น