“อุตุฯ” คาดไทยตอนบนหมดฝนปลายต.ค. ย้ำกทม.ไม่วิกฤตเหมือนปี 54 เตรียมนำ AI มาใช้พยากรณ์อากาศ

"ชัยวุฒิ" ยืนยัน "กรมอุตุฯ" พยากรณ์ ไทยตอนบนฤดูฝนจะสิ้นสุดปลายเดือนตุลาคม ส่วนภาคใต้พฤศจิกายนมีฝนตกต่อเนื่อง ย้ำกทม.ไม่วิกฤตเหมือนปี54 เตรียมนำAIมาใช้เพื่อให้พยากรณ์อากาศเเม่นยำมากขึ้น

วันที่ 15 ก.ย. 65 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวเปิดการประชุม APEC Climate Symposium 2022 (APCS 2022) เปิดเผย ระหว่างเป็นประธาน เปิดงาน “การเสริมสร้างความสามารถการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเอเปคด้วยแอพพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ ว่า ภาพรวมวันนี้ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงฤดูฝนซึ่งน่าจะไปถึงสิ้นเดือนตุลาคม คาดว่าจะมีฝนตกต่อเนื่องไปอีกหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก็ขอให้พี่น้องประชาชนเฝ้าระวังและติดตามข่าวการแจ้งเตือนเรื่องภัยน้ำท่วมเพราะยังมีโอกาสอยู่ที่จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่อย่างเช่นที่เกิดในช่วงที่ผ่านมาเช่น พื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ซึ่งตอนนี้ก็ต้องเร่งระบายน้ำเพื่อรองรับโอกาสที่จะมีฝนตกเติมเข้ามาอีก

ส่วนเรื่องที่น่าเป็นห่วงก็คือ อาจจะมีพายุ เข้ามาในประเทศไทยได้อีก หนึ่งถึงสองลูกในช่วงกันยายนถึงตุลาคม ทางกระทรวงดิจิทัลก็ติดตามเฝ้าระวังอยู่ และหลังจากเดือนตุลาคมร่องมรสุมก็น่าจะลงไปทางภาคใต้ ซึ่งต้องติดตามเฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมในพื้นภาคใต้อีกด้วย ปัจจุบันรัฐบาลทํางานแบบบูรณาการ มีระบบไอที ระบบคอมพิวเตอร์มาใช้เชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด การพยากรณ์อากาศโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์แล้วส่งข้อมูลไปที่กทม. สำนักงานระบายน้ำกรมชลประทาน ศูนย์เตือนภัย ปภ. กระทรวงมหาดไทยจะมีข้อมูลทั้งหมดเชื่อมโยงกัน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ที่สําคัญคือ เมื่อมีการแจ้งเตือนไปแล้ว จะมีการประสานงานกันเพื่อให้ทุกหน่วยงานได้มีแผนในการรับมือกับปริมาณน้ำที่เกิดขึ้น แต่ก็ต้องเรียนให้พี่น้องประชาชน ถึงแม้ว่าเราจะทราบล่วงหน้าว่าจะมีฝนตกหนักแต่ด้วยระบบการระบายน้ำ หรือสภาพพื้นที่ของเรา เช่นอย่างใน กทม.ท่อระบายน้ำอาจจะเล็ก มีถนน มีชุมชนเยอะ การระบายน้ำก็เป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นมันก็จะมีขีดจำกัด บางจุดอาจระบายไม่ทัน เพราะว่าติดด้วยสภาพภูมิประเทศหรือสภาพบ้านเมืองซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องทียาก ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ส่งข้อมูลพยากรณ์อากาศให้กับ กทม.และหน่วยงานที่มีภารกิจในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนอยู่ตลอด จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมตัวรับมือสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด

 

สำหรับการประชุม APEC Climate Symposium 2022 (APCS 2022) เป็นงานที่เกี่ยวกับการประชุมเอเปคมี 21เขตเศรษฐกิจที่มาเข้าร่วมประชุม ซึ่งจะมีการประชุมเอเปคซัมมิทในเดือนพฤศจิกายน ผู้นําหลายประเทศก็จะมาประชุม วันนี้จะเป็นการประชุมย่อยที่เราจัด ในหัวข้อ “การเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเอเปคด้วยแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ (Enhancing APEC Resilience through AI Applications in Climate Change Adaptation)” นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการพยากรณ์อากาศ และในการวางแผนการใช้ชีวิตของพี่น้องประชาชน การผลิตสินค้า การบริการต่างๆ รวมถึงเรื่องการเกษตรเพื่อให้ประชาชนสามารถปรับตัว ใช้ชีวิตกับ climate change ได้โดยใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่หลายประเทศก็เริ่มพัฒนากันแล้วได้นํามาใช้ ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการจากการพยากรณ์อากาศ มีความเเม่นยำมากขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น