ศาลปกครองสูงสุด ไต่สวนแก้ TOR รถไฟฟ้าสีส้ม-รฟม.แจงซ้ำยิ่งผิดชัด

ศาลปกครองสูงสุด ไต่สวนแก้ TOR รถไฟฟ้าสีส้ม-รฟม.แจงซ้ำยิ่งผิดชัด

สืบเนื่องจากการที่ศาลปกครองสูงสุด นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก วันนี้ ( 15 ก.ย.) ในคดีหมายเลขดำที่ อ.572 /2565 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หรือ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม.

โดยคดีดังกล่าว BTSC ได้ฟ้องว่า คณะกรรมการตาม มาตรา 36 กับพวก ได้กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค ข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ BTSC ซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย

โดยในส่วนของ BTSC ได้ยื่นคำแถลงเป็นลายลักษณ์อักษร แทนการแถลงด้วยวาจาเพิ่มเติมเท่านั้น จึงยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกี่ยวกับคดี และจะต้องรอตุลาการแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้

ส่วนเหตุผลและที่มาการนัดพิจารณาคดีครั้งนี้ สืบเนื่องจากศาลปกครองชั้นต้น ได้พิพากษาว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งแรก เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ยกคำร้องในส่วนของการเรียกร้องค่าเสียหาย โดยทางศาลฯเห็นว่า BTSC ไม่น่าจะได้รับความเดือดร้อน เพราะการประมูลครั้งแรกถูกยกเลิกไปแล้ว ต่อมาทาง BTSC รวมถึง คณะกรรมการตามมาตรา 36 และ รฟม. ได้ยื่นคัดค้านคำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุดเช่นกัน ในแต่ละประเด็นที่ต่างฝ่ายเห็นว่ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม ทนายความผู้รับมอบอำนาจ ของบริษัท BTSC ยืนยันว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้ เพียงต้องการทราบว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูล หรือ ทีโออาร์ ครั้งที่ 1 โดยคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 รฟม. ชอบหรือไม่ชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น เนื่องจากการประมูลดังกล่าว ได้ถูกคณะกรรมการตามมาตรา 36 รฟม. ยกเลิกไปแล้ว และยังเปิดประมูลใหม่ ครั้งที่ 2 ซึ่งกรณีนี้่เป็นประเด็นที่ศาลปกครอง จะต้องพิจารณาตามที่ BTSC ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้ก่อนหน้า และแม้จะมีการยกเลิกการประมูล แต่ทาง BTSC ยังติดใจ ว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประมูล ชอบหรือมิชอบด้วยกฏหมาย

และหากศาลปกครองสูงสุด ยืนตามศาลปกครองกลาง BTSC ก็พร้อมรับคำพิพากษานั้น โดยไม่สามารถที่จะดำเนินการอะไรได้ เพราะการประมูลได้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ย้ำว่าสิ่งที่กระทำในวันนี้ เพราะ บริษัท BTSC ต้องการให้มีการพิพากษาประเด็นพิพาทดังกล่าวให้เกิดความถูกต้อง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกันจากการที่ผู้บริหาร BTSC ได้เปิดซองประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ครั้งแรก แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน เกี่ยวกับมูลค่าจำนวนเงินขอสนับสนุนจากภาครัฐ เมื่้อเทียบกับอีก 2 บริษัทที่ผ่านกระบวนการพิจารณาของรฟม. ในการประมูลครั้งที่สอง

ปรากฎว่าทางสำนักประชาสัมพันธ์ ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการออกเอกสาร ชี้แจงเกี่ยวกับข้อเสนอทางด้านการลงทุนและผลตอบแทน ที่ใช้ในการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2563 ของ BTSC ที่มีการขอรับเงินสนับสนุนค่างานโยธารวม 79,820.40 ล้านบาท และจ่ายเงินตอบแทนให้แก่ รฟม. รวม 70,144.98 ล้านบาท รวมยอดเงินขอสนับสนุนจากภาครัฐ รวม 9,676 ล้านบาท

โดยมีใจความสำคัญ อ้างว่า ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนของ BTSC จะมีมูลค่าการให้ผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ค่อนข้างสูง แต่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชน จะต้องมีการประเมินซองข้อเสนออื่นๆ ของผู้ยื่นข้อเสนอ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการประเมินซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติ และซองข้อเสนอด้านเทคนิค เพื่อให้ รฟม. มั่นใจได้ว่าผู้ยื่นข้อเสนอจะสามารถดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดต่อประเทศชาติและประชาชนได้จริง ซึ่งมิใช่การพิจารณาเพียงตัวเลขสรุปผลประโยชน์ตอบแทนให้ภาครัฐเท่านั้น

ดังนั้น แม้บริษัทฯ จะนำข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนในการยื่นข้อเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อปี 2563 มาแสดง แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบผลการยื่นข้อเสนอในการคัดเลือกเอกชนปัจจุบันได้ เนื่องจากไม่ทราบว่าข้อเสนอด้านคุณสมบัติ และข้อเสนอด้านเทคนิคของบริษัทฯ จะผ่านเกณฑ์การพิจารณาหรือไม่ รวมทั้งข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนมีความเป็นไปได้ ถูกต้อง และน่าเชื่อถือเพียงใด จึงไม่อาจชี้ชัดได้ว่าข้อเสนอของ BTSC จะเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐจริงตามที่ได้ปรากฏเป็นข่าวที่ได้เผยแพร่ทางสื่อมวลชน

รวมถึงยังย้ำด้วยว่า การคัดเลือกเอกชนมีลักษณะเปิดกว้าง มิได้มีลักษณะกีดกันเอกชนรายใด ตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ศาลปกครองกลางได้มีคำวินิจฉัยและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ยกคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามที่ BTSC ร้องขอให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวห้ามการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ ซึ่งการที่เอกชนบางรายไม่เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการคัดเลือกนั้น น่าจะแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมในการเข้าร่วมดำเนินการโครงการฯ

และจากคำชี้แจงของรฟม.ดังกล่าว คงไม่ต้องอธิบายซ้ำว่า ทำไมภาพลักษณ์ของรฟม.ถึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จากข้อกำหนด เงื่อนไข คุณสมบัติ ผู้เข้าร่วมการประมูลครั้งใหม่ ซึ่งต่อมาทำให้เห็นว่ามีเพียง ITD และ BEM เท่านั้น ที่เข้าข่ายจะได้รับการคัดเลือก ไม่ใช่ประเด็นเรื่องความพร้อม หรือไม่พร้อมของ BTSC ที่ซื้อซองประกวดราคาแล้ว แต่เลือกจะไม่ยื่นซองประกวดราคา ภายหลังจากเห็นเงื่อนไข ข้อกำหนดคุณสมบัติ ผู้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

 

ในทางตรงข้าม กรณีนี้ TOP NEWS เคยอธิบายและสรุปประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วว่า ความยุ่งยากทั้งหมด มาจากมติคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 รฟม. ในการยกเลิกการประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม ครั้งที่ 1 และเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายอาญา ตามคำฟ้องของ BTSC

เพราะคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดย สำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือ PPP ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2562 เพื่อเสนอครม.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสีส้ม ได้เขียนไว้ชัดเจนว่า “ผู้ชนะการคัดเลือก จะต้องเป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ขอรับเงินสนับสนุน รวมทั้งสองส่วนจากภาครัฐ เมื่อคิดเป็นค่าปัจจุบัน (NPV) ต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะการคัดเลือก”

แต่ปรากฎว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ กลับมารื้อ แก้ไขทีโออาร์ประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม โดยเปลี่ยนไปใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (สัดส่วน 70 คะแนน) มาพิจารณารวมกัน ส่งผลทำให้ต้องขยายเวลายื่นเอกสารประกวดราคาจาก 60 วัน ไปอีก 45 วัน หรือจากกำหนดให้ยื่นเอกสารในวันที่ 23 ก.ย.2563 เลื่อนไปเป็นวันที่ 6 พ.ย.2563

โดยอ้างว่าเพื่อให้เอกชนมีเวลาปรับปรุงข้อเสนอให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ใหม่ ส่วนเหตุผลหลักจริง ๆ เพราะ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) หนึ่งในผู้ซื้อซองประมูล ได้ทำหนังสือถึง รฟม .เพื่อขอให้มีการเปลี่่ยนแปลงทีโออาร์ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2563

และกลายเป็นจุดเริ่มของปัญหากว่า 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกรณีที่ น.ส.กนกรัตน์ ขุนทอง ผู้แทนสำนักงบประมาณ ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ขณะนั้น) ได้ทำความเห็นคัดค้านความเห็นคณะกรรมการฯเสียงส่วนใหญ่ ว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะยกรื้อ แก้ไข ทีโออาร์ โดยพลการไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาคณะกรรมการ PPP ได้มีมติเห็นชอบหลักการว่าด้วย การตัดสินผู้ชนะการประมูล โดยยึดหลักเกณฑ์ว่าด้วย “การขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐน้อยที่สุด” และมีการนำเสนอครม.ไปแล้ว และถ้าจะปรับปรุงแก้ไขทีโออาร์ รถไฟฟ้าสีส้ม จะต้องนำเสนอเรื่องนี้ให้ครม.พิจาารณาอนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวก่อน จึงจะดำเนินการได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น