“วิศวกรไฟฟ้า” แนะวิธีป้องกันและช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด ในพื้นที่น้ำท่วม

วิศวกรไฟฟ้าแนะ 2 วิธีหลีกเลี่ยงเหตุและช่วยคนถูกไฟดูดในพื้นที่น้ำท่วม สิ่งสำคัญคือ ต้อง “ไม่สัมผัส” โดยตรงทั้งตัวผู้ประสบภัยและโลหะใกล้ที่เกิดเหตุ

“ไฟดูด” ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ถือเป็นเหตุอันตรายร้ายแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โดยล่าสุดเมื่อวันที่ วันที่ 16 กันยายน 2565 โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี แจ้งว่า มีผู้ป่วยถูกไฟดูด หลังฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาล จนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลถึง 6 ราย ภายในวันเดียว สำหรับ หนึ่งในจำนวนนั้น เป็นนักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ซึ่งโชคยังดีที่นักเรียนรุ่นพี่เข้ามาช่วยเหลือนำตัวออกไป โดยใช้ผ้ามาคล้องแขนและกระตุกมือออก ก่อนจะลากตัวออกจากบริเวณโคนเสาไฟฟ้าซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุ และนำส่งโรงพยาบาลได้สำเร็จ

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับกรณีดังกล่าว นายดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมภาคไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ไม้วัดไฟรั่ว” ซึ่งใช้ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เปิดเผยว่า ภัยจากไฟดูดในช่วงที่น้ำท่วม สร้างความสูญเสียร้ายแรงอย่างที่นึกไม่ถึง โดยอ้างอิงจากสถิติช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี 2554 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุไฟดูดสูงถึง 184 ราย ในช่วงเวลาประมาณ 45 วัน และเมื่อดูข้อมูลเชิงลึกลงไป ก็จะพบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ มักถูกไฟดูขณะเดินทางสัญจรและไปจับโลหะต่างๆที่อยู่ระหว่างทาง เช่น ราวสะพาน ตู้โทรศัพท์ เสาต่างๆ โดยที่ไม่รู้ว่า ในบริเวณนั้นมีกระแสไฟรั่วอยู่

“เรามักจะบอกกันว่า ให้ไปตัดไฟก่อน แต่เราลืมไปว่า คนทั่วไป เขาไม่อยู่ในสถานะที่จะไปตัดไฟสาธารณะได้ หรือถึงจะพยายามตัดไฟ ก็ไม่ทันอยู่ดีในกรณีที่มีคนถูกไฟดูด เพราะมีเวลาช่วยเหลือเพียงไม่เกิน 2 นาทีเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องให้ความรู้กับประชาชนว่า หากอยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมควรสังเกตอย่างไรว่า มีไฟรั่วหรือไม่ และเมื่อสงสัยว่าอยู่ใกล้พื้นที่ที่เกิดไฟรั่วจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร”

จากกรณีศึกษาในพื้นที่ จ.อุดรธานี อาจารย์ดุสิต ได้ให้คำแนะนำต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมไว้ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นแรก วิธีสังเกตว่า มีไฟรั่วในน้ำหรือไม่และควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อพบไฟรั่ว
• ระหว่างเดินอยู่ในน้ำ อย่าจับโลหะ เช่น เสาไฟ ราวสะพาน ตู้โทรศัพท์

• หากสังเกตได้ว่า ในน้ำบริเวณนั้น จะมีลักษณะเป็นฟองปุดๆขึ้นมาเหมือนฟองโซดา แสดงว่า มีไฟรั่วในบริเวณนั้น โดยรัศมีของไฟที่รั่วจะมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า

• หากเดินไปถึงบริเวณที่มีไฟรั่วในน้ำ เมื่อเริ่มสัมผัสสนามไฟฟ้า เราจะมีความรู้สึกคล้ายอาการเหน็บชา แต่ยังสามารถขยับอวัยวะได้(เคยทดลองแล้วพบว่า แม้แต่คนที่ใส่กางเกงยีนส์ ก็สามารถรับรู้ได้ถึงสนามไฟฟ้า แต่จะรับรู้ได้น้อยกว่าคนที่ใส่กางเกงขาสั้น)

• เมื่อเกิดอาการคล้ายเหน็บชา ให้สันนิษฐานได้เลยว่า แหล่งที่กระแสไฟรั่วอยู่ใกล้มากๆแล้ว ในระยะประมาณ 30 เซนติเมตร ดังนั้นจึงไม่ควรสัมผัสอะไรเด็ดขาด ไม่ควรเดินต่อไปข้างหน้า สิ่งที่ควรทำ คือ “ต้องเดินกลับไปยังเส้นทางเดิมเท่านั้น”

ประเด็นที่ 2 แนวทางการช่วยเหลือ เมื่อพบคนถูกไฟดูดในน้ำ
• ต้องไม่สัมผัสตัวผู้ประสบภัยโดยตรงเด็ดขาด ให้ใช้อุปกรณ์อื่นๆไปคล้องอวัยวะของผู้ประสบภัยที่สัมผัสกับโลหะไว้ออกมา เช่น อาจใช้เข็มขัดไปคล้องเพื่อกระตุกแขนออกมา หรือใช้เสื้อ ผ้า อุปกรณ์อื่นๆไปคล้องอวัยวะนั้นและกระตุกออกมา เพราะหากเข้าไปสัมผัสตัว จะถูกไฟดูดด้วยทันที

“มีกรณีศึกษา คุณยายอาบน้ำแล้วเกิดไฟรั่ว นอนหมดสติ ฝักบัวแนบอยู่ที่หน้าอก หลานไปพบและพยายามหยิบฝักบัวออก ทำให้เสียชีวิตทั้งคู่ … เคสนี้ จะเห็นว่า หากโลหะที่นำไฟฟ้าอยู่ใกล้หัวใจ โอกาสรอดชีวิตจะน้อยมาก เพราะไฟดูด คือการเข้าไปทำลายจากด้านใน ทำให้อวัยวะนั้นๆใช้การไม่ได้ ดังนั้น การถูกไฟดูดที่หน้าอกจึงไม่มีโอกาสรอดเลย
ต่างจากเคสเด็กนักเรียนที่ จ.อุดรธานี เพราะถูกไฟดูดจากมือที่จับเสาไฟ ซึ่งยังไกลจากหัวใจ แต่หากวิเคราะห์จากคลิปที่ถูกเผยแพร่ออกมา ก็จะเห็นได้ว่า แม้รุ่นพี่จะใช้วิธีคล้องแขนกระตุกมือผู้ประสบภัยออกจากเสาแล้ว แต่ในช่วงระหว่างที่รุ่นพี่พยายามลากตัวรุ่นน้องที่หมดสติออกมา รุ่นพี่คนนี้น่าจะถูกไฟดูดด้วย โชคดีที่ไม่รุนแรงจนเป็นอันตราย ดังนั้น เราจึงต้องให้ความรู้เรื่องวิธีการช่วยเหลือที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคนช่วยควบคู่ไปด้วย” อาจารย์ดุสิต ยกตัวอย่าง และเปรียบเทียบวิธีการช่วยเหลือ

สถิติผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ทำให้อาจารย์ดุสิต ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ไม้วัดไฟรั่ว” ขึ้นมา เพราะเชื่อว่า หากผู้ประสบภัยหรือท้องถิ่นมีเครื่องมือช่วยตรวจสอบได้ว่า มีไฟรั่วหรือไม่ ในระหว่างการเดินทางสัญจร หรือ การกลับเข้าไปขนย้ายข้าวของในบ้าน ก็น่าจะช่วยลดการสูญเสียได้ โดยในวันจันทร์ที่ 19 กันยายนนี้ อาจารย์ดุสิต จะส่งมอบไม้วัดไฟรั่ว 20 ชิ้น ให้กับอาสาสมัครกู้ภัยที่เข้าไปทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อดีตสว.สมชาย" ชี้ฝ่ายอนุรักษ์เดินหมากผิด เปิดโอกาส"ระบอบทักษิณ"ฟื้นชีพรอบวกส้ม
ม่วนกรุ๊ป เริ่มแล้ว เทศกาลตีคลีไฟชัยภูมิ หนึ่งเดียวในโลก 1 ครั้งในรอบปี สุดคึกคัก
ชาวเวียดนามในโฮจิมินห์ดีใจมีรถไฟใต้ดินใช้แล้ว
ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"
“ว้าแดง”เหิมหนัก! สั่งคนไทยห้ามเก็บของป่า ชาวบ้านผวา-ซ้อมอพยพถี่ยิบ
เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น