“โรคสปอโรทริโคสิส” ทาสแมว ระวังถูกกัดข่วน รักษานาน 3-6 เดือน

"โรคสปอโรทริโคสิส" เกิดจากเชื้อราซึ่งพบในธรรมชาติ เข้าร่างกายทางบาดแผลจากการถูกแมวกัดข่วน หรือถูกหนามกุหลาบตำ รักษานาน 3-6 เดือน

“โรคสปอโรทริโคสิส” TOP News แนะ ทาสแมว ระวังถูกกัดหรือข่วน ล่าสุด หมอมนูญ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เผยถึงโรคดังกล่าว พบไม่บ่อย โดยที่ รพ. เจอ 3 รายใน 1 ปี

ข่าวที่น่าสนใจ

 

หมอมนูญ บอกว่า “โรคสปอโรทริโคสิส” (Sporotrichosis) เกิดจากเชื้อราซึ่งพบในธรรมชาติ เข้าร่างกายทางบาดแผลจากการถูกแมวกัดหรือข่วน หรือถูกหนามกุหลาบตำ พบไม่บ่อย โรงพยาบาลวิชัยยุทธ พบผู้ป่วยโรคนี้ 3 รายใน 1 ปี

 

ผู้ป่วยหญิง อายุ 51 ปี

 

  • ใส่ถุงมือให้อาหาร และทำความสะอาดแมวจรจัดที่ป่วยมีแผลตามตัว ถูกเล็บแมวจิกที่หลังมือข้างซ้ายทะลุถุงมือ ทำให้เกิดแผล แมวตัวนี้อยู่ในเขตเมืองของ กทม. เสียชีวิตหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ หลังทายาปฏิชีวนะ แผลที่มือหาย แต่ 2 สัปดาห์ต่อมา วันที่ 13 พ.ค. 2565 เริ่มสังเกตมีตุ่มแดงที่หลังมือซ้ายไม่เจ็บ (ดูรูป)

 

 

 

 

โรคสปอโรทริโคสิส, สปอโรทริโคสิส, Sporotrichosis, Sporothrix schenckii, Itraconazole, หนามกุหลาบ, แมว, ข่วน, กัด, ทาสแมว, หมอมนูญ

 

 

 

 

  • มาพบแพทย์ ตรวจร่างกายพบตุ่มแดง ขนาด 0.5 ซม. ที่หลังมือข้างซ้าย ตรงกลางมีหนองเล็ก ๆ ต่อมน้ำเหลืองไม่โต แพทย์ใช้เข็มเจาะดูดหนองได้เล็กน้อย ส่งย้อมแบคทีเรีย เชื้อรา พบ ยีสต์ จำนวนมาก (yeast cells) ได้เริ่มยาฆ่าเชื้อรา Itraconazole 100 มก.วันละ 2 ครั้ง วันที่ 23 ก.ค. 65 ผลเพาะเชื้อรา ขึ้นเชื้อรา Sporothrix schenckii กินยา Itraconazole ตั้งแต่ 13 พ.ค.- 16 ก.ย. 65 ในที่สุดแผลแห้งดี (ดูรูป)

 

 

ผู้ป่วยรายที่ 2

 

  • เกิดจากหนามกุหลาบเกี่ยวผิวหนังที่แขนด้านขวาบน

 

ผู้ป่วยรายที่ 3

 

  • เลี้ยงแมว แต่ปฏิเสธถูกแมวข่วนหรือกัด เป็นที่ผิวหนังแขนข้างซ้าย

 

 

 

 

 

เชื้อรา Sporothrix schenckii อยู่ในธรรมชาติ มีแหล่งอาศัยอยู่ตามดิน ตามพืช และเปลือกต้นไม้ เข้าร่างกายทางบาดแผลที่ถูกหนามตำหรือใบไม้บาด หรือจากการถูกแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้กัดหรือข่วน

 

เชื้อรานี้ เมื่ออยู่ในร่างกาย อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีลักษณะเป็นยีสต์ ถ้าอยู่ตามธรรมชาตินอกร่างกายอุณหภูมิต่ำกว่า จะมีลักษณะเป็นราสาย (ดูรูป)

 

 

 

 

โรคสปอโรทริโคสิส, สปอโรทริโคสิส, Sporotrichosis, Sporothrix schenckii, Itraconazole, หนามกุหลาบ, แมว, ข่วน, กัด, ทาสแมว, หมอมนูญ

 

 

 

 

โรคสปอโรทริโคสิส, สปอโรทริโคสิส, Sporotrichosis, Sporothrix schenckii, Itraconazole, หนามกุหลาบ, แมว, ข่วน, กัด, ทาสแมว, หมอมนูญ

 

 

 

 

“การรักษาโดยทั่วไปใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดกิน Itraconazole นาน 3-6 เดือนจนกว่าแผลจะหาย” หมอมนูญ ระบุ (ขอบคุณอาจารย์ ดร.พิริยาภรณ์ จงตระกูล ที่ปรึกษาแผนกจุลชีววิทยาโรงพยาบาลวิชัยยุทธ)

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น