เปิดระเบียบ “กรมราชทัณฑ์” ว่าด้วยการลาของนักโทษ

เปิดระเบียบ "กรมราชทัณฑ์" ว่าด้วยการลาของนักโทษ

ตามหนังสือของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ลงนามโดย พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ส่งหนังสือ ที่ ยธ.0703.6/20398 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เรื่องการลาของนักโทษเด็ดขาด โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาอนุญาตให้นักโทษเด็ดขาดลากิจ เฉพาะการลาไปประกอบพิธีเกี่ยวกับงานศพ เพื่อให้เรือนจำทั่วประเทศ ถือปฏิบัติเป็นแนวทางการลาของนักโทษเด็ดขาดนั้น

กรมราชทัณฑ์พิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจุบันได้มีนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่ได้รับประโยชน์การลาตามระเบียบดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างมีมนุษยธรรมและให้การพิจารณาอนุญาตให้นักโทษเด็ดขาดลากิจ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยชัดเจน เป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงแก้ไขระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาด พ.ศ.2561 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และกำหนดแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาอนุญาตให้นักโทษเด็ดขาดลากิจเฉพาะการลาไปประกอบพิธีเกี่ยวกับงานศพ

ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 หลักเกณฑ์ในการลากิจของนักโทษเด็ดขาด (เฉพาะการลาไปประกอบพิธีเกี่ยวกับงานศพ)
1 คุณสมบัติของนักโทษเด็ดขาดที่จะขออนุญาตลากิจ
1.1 เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางขึ้นไป
1.2 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษา ทำการงานบังเกิดผลดีหรือความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
1.3 ไม่เป็นผู้กระทำผิดวินัยในเรือนจำหากกระทำผิดวินัย ระยะเวลาที่ถูกลงโทษต้องผ่านไปแล้ว 5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่นักโทษเด็ดขาดรับทราบคำสั่งลงโทษทางวินัย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2 แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้นักโทษเด็ดขาดลากิจ
2.1.ให้เฉพาะการลาไปร่วมพิธีณาปณกิจ (ฝังศพ หรือเผ่าศพ ฯลฯ) เท่านั้น
2.2 ให้เฉพาะผู้ตายที่เป็นบิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร ของนักโทษเด็ดขาด
2.3 ให้ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานและคุณสมบัติของนักโทษเด็ดขาดที่จะขอลา ดังนี้
2.3.1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง(กรณีญาตินักโทษเด็ดขาดยื่นคำร้อง)
2.3.2 เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างนักโทษเด็ดขาดกับผู้ตาย
2.3.3.ใบมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย
2.3.4 เอกสารเกี่ยวกับการประกอบพิธีที่ระบุสถานที่ทำการฌาปนกิจ (ถ้ามี)
2.4 ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของนักโทษเด็ดขาดและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม ซึ่งควรพิจารณารายละเอียดอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น สถานที่ประกอบพิธีฌาปนกิจ ระยะทาง การเดินทาง อยู่ในจุดอันตรายหรือเสี่ยงต่อการควบคุม หรือไม่

 

3 ผลการพิจารณา
3.1 ในกรณีผู้ได้รับมอบอำนาจ พิจารณาอนุมัติ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน กำชับเจ้าหน้าที่ให้ควบคุมนักโทษเด็ดขาดอย่างใกล้ชิดและถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการโคยเคร่งครัด อย่าให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และเมื่อเสร็จภารกิจแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมนำตัวนักโทษเด็ดขาดกลับเข้าคุมขังในเรือนจำ / ทัณฑสถานโดยทันที
3.2 ในกรณีผู้ได้รับมอบอำนาจ พิจารณาไม่อนุมัติ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน มอบหมายเจ้าหน้าที่ชี้แจงให้นักโทษเด็ดขาดหรือญาติผู้ยื่นคำร้องทราบ หากนักโทษเด็ดขาดหรือญาติผู้ยื่นคำร้องมีความประสงค์อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุมัติ ก็ให้เรือนจำ/ทัณฑสถาน ส่งคำอุทธรณ์และเอกสารรายละเอียดต่าง ๆ ของนักโทษเด็ดขาดดังกล่าว พร้อมเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการลากิจ ไปกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์พิจารณาอีกครั้งต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กทม.สรุปยอดเก็บ "กระทง 2567" ทั่วกรุงเทพฯ จำนวนลดลง 20% ส่วนใหญ่ใช้วัสดุธรรมชาติ
"สปสช." เร่งสรุปความเห็น บัตรทองกว่า 700 ข้อ ให้เพิ่มค่าบริการ-จ่ายเงินเร็ว-ปรับชดเชยราคายา
"สุชาติ" ร่วมเปิดงาน ห้วยสุครีพสายน้ำแห่งชีวิต สืบสานวิถีถิ่นบางพระ
นักท่องเที่ยวแห่ร่วมเทศกาลลอยกระทงพัทยา
"DSI" เตรียมประสานงานขอคลิปเสียง "หญิงสาวรายหนึ่ง" อ้างให้เงินสินบน 10 ล้าน มาตรวจสอบ
“วราวุธ” ส่ง ศรส. ช่วยดญ. 3 ขวบ ถูกพ่อเลี้ยงทำร้าย บาดแผลทั่วตัว-ฟันหัก 4 ซี่ แพทย์รับรักษาตัว ตา-น้า ดูแลใกล้ชิด
"นายกฯ" ย้ำหนุนเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อช่วยเหลือกลุ่ม MSMEs ในอาเซียนกลางวงสภาที่ปรึกษาธุรกิจของเอเปค
“เอกนัฏ” เปิดปฏิบัติการสุดซอย ปิดโรงงานเถื่อนเขตฟรีโซน ลั่นต้องเอาผิดถึงที่สุด
กทม.ลุยเก็บ-คัดแยก "กระทง" แม่น้ำเจ้าพระยา 67 ก่อนนำกำจัดอย่างถูกวิธี
สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน 30 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น