“ครม.” อนุมัติแผนรับมือ-ลดความเสี่ยงภัย คุกคามทางไซเบอร์

ครม. อนุมัติ ร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อรับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

วันที่ 20 ก.ย.65 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบในร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565-2570 ที่คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ได้จัดทำและเสนอมาเพื่อทำให้บริการที่สำคัญของประเทศไทยมีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม โดยร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการฯ นี้จะเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ ที่มุ่งเน้นทั้งมิติการเสริมสร้างศักยภาพการป้องกัน มิติการรับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และมิติการตอบสนองต่อเหตุภัยคุกคามและฟื้นฟูระบบให้กลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างทันท่วงที

ข่าวที่น่าสนใจ

การจัดทำร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการฯ นี้เป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 9(1) และมาตรา 9(3) พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว นโยบายและแผนปฏิบัติการฯ จะใช้เป็นแผนแม่บทในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาพรวมที่ครอบคลุมในทุกมิติ และเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยกรอบแนวทางดำเนินการจะเป็นไปเพื่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ 4 ด้านคือ

1. สร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้านบุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี (Capacity) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เป็นนวัตกรรมของประเทศ

2. บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ (Partnership) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว

3. สร้างบริการภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัยและฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ (Resilience)

4. สร้างศักยภาพของหน่วยงานระดับชาติให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (Standard) เพื่อให้การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากเรื่อง ความปลอดภัยไซเบอร์ ที่ส่งผลถึงประชาชนแล้วนั้น ตัวชี้วัดความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก 2563 (Global Cybersecurity Index 2020) ที่จัดทำโดย ITU องค์การชำนาญพิเศษเฉพาะเรื่องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขององค์การสหประชาชาติได้ให้คะแนนประเทศไทย ค่าชี้วัดรวม 86.50 เป็นอันดับ 9 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีค่าตัวชี้วัดด้านมาตรการทางกฎหมายของไทย อันเป็นจุดแข็งของประเทศ คือคะแนน 19.11 จาก 20
ซึ่งมีปัจจัยจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

ในขณะที่ค่าตัวชี้วัดด้านอื่นๆ ได้แก่ มาตรการด้านองค์กร มาตรการด้านความร่วมมือ การพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถ และมาตรการทางเทคนิคได้คะแนนลดหลั่นมาคือ 17.64, 17.34, 16.84 และ 15.57 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อมีการจัดทำร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการฯ และบังคับใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการแล้วจะทำให้คะแนนค่าตัวชี้วัดด้านอื่นๆ มีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มมากขึ้น อันจะสะท้อนถึงภาพลักษณ์ เสถียรภาพความมั่นคงทางไซเบอร์ สุดท้ายจะนำมาซึ่งเศรษฐกิจและประเทศในทางที่ดีขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น