ดีลผนึก TRUE-DTAC ใกล้จบกฤษฎีกายันข้อกม.แค่แจ้งกสทช.รับทราบ

ดีลผนึก TRUE-DTAC ใกล้จบกฤษฎีกายันข้อกม.แค่แจ้งกสทช.รับทราบ

หลังจากคณะกรรมการ กสทช. เลื่อนวาระการพิจารณา แผนการควบรวมธุรกิจ ระหว่างบริษัทโทรคมนาคม อย่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เนื่องจากต้องการรอคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับการตีความข้อกฎหมาย เรื่องกรอบอำนาจของกสทช.

ล่าสุด วันนี้(20 ก.ย.65) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ตามที่ กสทช.ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อขอความอนุเคราะห์ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาให้ความเห็นในประเด็นข้อกฎหมาย เพื่อตีความอำนาจพิจารณาการรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC นั้น สำนักงาน กสทช. ได้รับหนังสือตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อย และได้ส่งต่อประธานกสทช. เพื่อที่จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในลำดับต่อไป

โดยสาระสำคัญของคณะกรรมการกฤษภีกา มีความเห็นว่า การรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างทรูและดีแทค ต้องยึดตามประกาศ กสทช.ปี 2561 ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ตามประกาศกสทช.ปี 2553 ที่กำหนดให้การรวมธุรกิจต้องได้รับอนุญาตจากกสทช. นั้น ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และมีประกาศ กสทช.ปี 2561 ขึ้นมาแทน

ขณะที่ประกาศ กสทช. ดังกล่าวกำหนดให้การรวมธุรกิจ กระทำได้โดยองค์กรธุรกิจ จัดทำรายงานส่งให้กสทช. โดยมีทั้งกรณีต้องรายงานก่อนล่วงหน้าและรายงาน หลังจากควบรวมธุรกิจแล้ว สอดคล้องกับมาตรา 77 วรรคสามของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จำเป็น โดย ในการนี้ กสทช. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไข หรือมาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาด มาบังคับใช้เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ตามข้อ 12 ของประกาศปี 2561

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ คณะกรรมการกฤฎีกา ยังให้ความเห็นว่า กสทช. ต้องใช้อำนาจโดยคำนึงถึงความเหมะสม สำหรับการคุ้มครองผู้บริโภคกับการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ประกอบในการกำหนดเงื่อนไขอื่น ๆ

ทั้งนี้ นายไตรรัตน์ ได้เคยให้สัมภาษณ์กับ TOPNEWS ก่อนหน้านี้ ระบุถึงการพิจารณารวมธุรกิจ ตามประกาศกสทช.ปี 61 ใช้คำว่า เมื่อพิจารณาแล้ว จะเป็นการ “รับทราบ” และ “กำหนดหลักเกณฑ์” หรือ “ไม่กำหนดหลักเกณฑ์”

“เราไม่ได้มีอำนาจในการอนุญาต ถ้าอะไรที่เราจะต้องอนุญาต ก็จะอยู่ในพ.ร.บ.ที่ให้เราอนุญาต แต่การควบรวม เป็นเพียงแค่ กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น ถ้ารู้สึกว่า ดีลนี้เกิดขึ้นแล้วมันจะทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม เราก็กำหนดหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคมในลักษณะการแข่งขัน” นายไตรรัตน์ กล่าว

ทางด้าน ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต หนึ่งในกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ว่า การเลื่อนพิจารณาที่ผ่านมา เป็นผลมาจากมติเสียงส่วนใหญ่ของบอร์ด กสทช. ให้รอผลการตีความจากคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า การพิจารณาควบรวมอยู่ในอำนาจของกสทช.หรือไม่ เพื่อนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจ

ส่วนกระบวนการพิจารณาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง ระบุในฐานะกสทช. เป็นผู้ชี้ขาดเรื่องนี้ จำเป็นต้องนำความคิดเห็นของประชาชน มาพิจารณาประกอบด้วย เพราะ 3 หน้าที่หลักของกสทช. ตามกฎหมาย คือ 1.การจัดสรรคลื่นความถี่ 2. กำกับดูแลการประกอบกิจการ และ 3. การคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นคำตอบ ในการทำหน้าที่ของ กสทช.

“หน้าที่ของกสทช. หน้าที่ตามกฎหมายอันนึง คือการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะฉะนั้น มันก็เขียนชัดเจนอยู่แล้วในกฎหมาย ว่าหน้าที่หลักคือมีอะไรบ้าง การจัดสรรคลื่นความถี่ กำกับดูแลการประกอบกิจการ คุ้มครองผู้บริโภค 3 หน้าที่หลัก คำตอบก็อยู่ในตัว “ ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง กล่าว

 

ส่วนกรณี พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ อดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เคยให้ความเห็นว่า การควบรวมธุรกิจโทรศัพท์มือถือ เป็นเหตุที่ผู้ประกอบการสามารถ รายงานเรื่องการควบรวมธุรกิจ ส่งให้กสทช.ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต ตามประกาศ กสทช. ปี 2561 เรื่องการควบรวมธุรกิจ ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง ระบุว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละบุคคล และเป็นเหตุผลหนึ่งทำให้บอร์ด กสทช. เลือกส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตีความและขอความกระจ่างในข้อกฎหมาย รวมถึงยังได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย มาร่วมให้ความเห็นด้านการควบรวมธุรกิจ และที่ผ่านมาได้ให้แนวทางที่ค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้ว

ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง กล่าวด้วยว่า กสทช.เป็นองค์คณะ เพราะฉะนั้น ก็คงจะมีแนวคิดที่อาจจะไม่ได้เหมือนกันทุกคนก็ได้ จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมต้องทำงานเป็นองค์กรแบบกลุ่ม เพราะ commissioner แต่ละคนก็เป็นตัวแทนของความคิด หรือว่าองค์ประกอบอะไรที่อาจจะไม่ได้ตรงกันทั้งหมดก็ได้

สำหรับประธานกรรมการ และกรรมการ กสทช. รวม 5 ท่าน ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการ
พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ (ด้านกิจการกระจายเสียง)
ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ (ด้านกิจการโทรทัศน์)
นายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการ (ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน)
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการ (ด้านอื่นๆที่ จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. (ข) ด้านเศรษฐศาสตร์) )

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มค้างค่าเช่าหลักหมื่น ทิ้งขยะกองโตท่วมห้องไว้ให้เจ้าของหอดูต่างหน้า
"ศาลอุทธรณ์" ยืนโทษคุก 8 เดือน "สมบัติ ทองย้อย" อดีตการ์ดเสื้อแดง โพสต์หมิ่น "พล.อ.ประยุทธ์" 2 ข้อความ
สพฐ. ชูศึกษานิเทศก์ทั้งประเทศ กลไกขับเคลื่อน "เรียนดี มีความสุข" สร้างคุณภาพสู่ห้องเรียน
“เต้ อาชีวะ” เดือด! จัดหนัก UN ปล่อยต่างด้าวล้นรพ.รัฐ แย่งคิวคนไทย
ปัตตานีระทึก คนร้ายชักปืน จี้ "พนง.ร้านสะดวกซื้อ" ชิงเงินสด 1.2 ล้าน หนีลอยนวล
เตรียมพบเทศกาลนานาชาติ พลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 "จันทบุรีนครอัญมณี" ปีที่ 5 ชูเอกลักษณ์เมืองจันท์ อัญมณีอันเลื่องชื่อ
“สมศักดิ์” นำร่อง “ตู้ห่วงใย” บริการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ 
"พงษ์ศักดิ์" ยื่นร้องกกต. ขอระงับรับรองผลเลือกตั้งนายกอบจ.ขอนแก่น ชี้พบเหตุหาเสียงส่อผิดกม.
“กฤษอนงค์” ไร้เงาคนยื่นประกัน นอนคุกคืนแรก ด้าน “บอสพอล” มอบทีมกม.ยื่นค้านประกันตัว
‘ทะเลสาบน้ำเค็ม’ โผล่กลางทะเลทรายในมองโกเลียใน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น