ลุ้นจบผนึก TRUE-DTAC กสทช. นัดเคาะ 5 ต.ค.

ลุ้นจบผนึก TRUE-DTAC กสทช. นัดเคาะ 5 ต.ค.

วันที่ 21 ก.ย. 65 นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า วันนี้ ที่ประชุม กสทช. ได้รับทราบหนังสือตอบกลับจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องอำนาจของ กสทช. ในการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC แล้ว ซึ่งที่ประชุมจะได้นำไปประกอบในการพิจารณาเรื่องการรวมธุรกิจฯ ต่อไป

นายไตรรัตน์ กล่าวด้วยกว่า กรณีการรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC นั้น สำนักงาน กสทช. ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทุกๆ ด้านให้เพียงพอต่อการพิจารณาของที่ประชุม กสทช.

ทั้งนี้ สาระสำคัญของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่า อำนาจการพิจารณาเรื่องดังกล่าวจะต้องยึดตามประกาศ กสทช.ปี 2561 ที่สามารถรับทราบการควบรวมธุรกิจเดียวกัน และ มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดมาบังคับใช้เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ตามข้อ 12 ของประกาศปี 2561

และล่าสุด นายไตรรัตน์ เปิดเผยกับ TOPNEWS ว่า เนื่องจากเพิ่งได้รับหนังสือตอบกลับจากกฤษฎีกา บอร์ด กสทช. คงต้องใช้เวลาในการอ่านเอกสารก่อน และทางสำนักงานกสทช. ต้องมีการทำรายละเอียดด้วย

ส่วนวันพุธที่ 28 ก.ย.65 จะไม่มีการประชุมบอร์ดกสทช. เนื่องจากตนเอง พร้อมประธานบอร์ด กสทช. และกรรมการ กสทช. 1 ท่าน ติดภารกิจที่จะต้องเดินทางไปร่วมประชุมที่ต่างประเทศ ประมาณ 1 สัปดาห์

ดังนั้น คาดว่า การพิจารณาเรื่องการควบรวมธุรกิจของ TRUE กับ DTAC อาจจะเกิดขึ้นในวันพุธที่ 5 ต.ค. แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่บอร์ดอาจมีการเรียกประชุมวาระพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ได้มีกำหนดเวลาแต่อย่างใด

 

 

 

สำหรับบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง อำนาจดำเนินงานของ กสทช. ในการรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ก. และบริษัท ข. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งมายัง สำนักงาน กสทช. นั้น

มีใจความระบุว่า ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ลับ ลงวันที่ 5 กันยายน 2565 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาและเห็นชอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ก. และบริษัท ข. ตามที่สำนักงานกสทช. ร้องขอรวม 6 ประเด็น

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักงาน กสทช. โดยมีผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการแช่งขันทางการค้า และผู้แทนสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้กำหนดให้มี กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม

โดยในการกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมนั้น พระราชบัญญัติดักล่าวและพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้กำหนดให้ กสทช. มีหน้าที่ และอำนาจกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม แต่ข้อที่หารือมานี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจตามกฎหมายของ กสทช.

ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่อาจให้ความเห็นในส่วนที่เป็น การใช้ดุลพินิจรวมทั้งการกำหนดมาตรการหรือเงื่อนไขต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่และอำนาจของ กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระได้

อนึ่ง โดยที่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำชี้แจงของผู้แทนสำนักงาน กสทช. ว่า ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม กสทช. ได้ออกประกาศ 4 ฉบับ คือ

(1) ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 (ประกาศฉบับปี 2549)

(2) ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (ประกาศฉบับปี 2553)

(3) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2557 (ประกาศฉบับปี 2557) และ

(4) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม (ประกาศฉบับปี 2561)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ซึ่งประกาศฉบับปี 2553 นั้น ได้กำหนดให้การรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ก่อน แต่ต่อมาในปี 2561 กสทช. ได้ออกประกาศฉบับปี 2561 ขึ้น โดยยกเลิกประกาศฉบับปี 2553 และกำหนดให้การรวมธุรกิจกระทำได้โดยจัดทำรายงานส่งให้ กสทช. ซึ่งมีทั้งกรณีที่ต้องรายงานก่อนล่วงหน้า และที่รายงานหลังจากรวมธุรกิจแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 77 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่บัญญัติว่า รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จำเป็น

นอกจากนี้ เพื่อกำกับดูแลมิให้การรวมธุรกิจมีผลเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม จึงให้อำนาจ กสทช. ที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือนำมาตรการเฉพาะ สำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ ดังที่ปรากฏตามข้อ 12 ของประกาศฉบับปี 2561

หรือในกรณีที่การรวมธุรกิจนั้น มีลักษณะตามข้อ 8 ของประกาศฉบับปี 2549 ข้อ 9 ของประกาศฉบับปี 2561 ที่ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นการขออนุญาตไปในตัว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ควบรวมธุรกิจที่จะได้ไม่ต้องยื่นคำขอซ้ำซ้อน เพราะในกรณีที่เข้าข่ายตามข้อ 9 ของประกาศฉบับปี 2544 กสทช. ก็มีอำนาจอนุญาตตามข้อนั้นได้อยู่แล้ว

ดังนั้น การดำเนินการใดๆ ที่เป็นการรวมธุรกิจ จึงต้องดำเนินการตามประกาศฉบับปี 2561 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ในการใช้อำนาจดังกล่าว กสทช. ต้องคำนึงถึงความได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคกับการพัฒนากิจการโทรคมนาคมด้วย

สำหรับประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ปี 2561 ข้อ 12 ระบุว่า “ให้เลขาธิการ กสทช. รายงานต่อ กสทช. ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นประกอบการรายงานการรวมธุรกิจจากที่ปรึกษาอิสระ หากการรวมธุรกิจตามข้อ 5 ส่งผลให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมีดัชนีเฮอร์ฟินดาห์ล-เฮิร์ชแมน (HHI) มากกว่า 2,500 และเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 100 และมีอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งมีการครอบครองโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญให้ถือว่า การรวมธุรกิจส่งผลกระทบต่อการแข่งชันในตลาดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กสทช.อาจพิจารณากำหนดเงื่อนไขหรือนำมาตรการเอหาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ”

ส่วน ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโหรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 8 ระบุว่า “การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน โดยการเข้าซื้อหรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น หรือการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อควบคุมนโยบายหรือการบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทำโดยทางตรงหรือทางอ้อมผ่านตัวแทนจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ โดยผู้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะเข้าไปถือครองธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่นตามวรรคหนึ่ง มีหน้าแจ้งแก่คณะกรรมการ เพื่อขออนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

 

กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาว่า การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกับตามวรรคหนึ่ง อาจส่งผลให้เกิดการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันการให้บริการโทรคมนาคม คณะกรรมการอาจสั่งห้ามการถือครองกิจการหรือกำหนดมาตรการเฉพาะความหมวด 4 ก็ได้

สำหรับ ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ปี 2561 ข้อ 9 ระบุว่า “การรายงานตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 หรือข้อ 8 ให้ถือเป็นการขออนุญาตจาก กสทช. ตามข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการป้องกับมีให้มีการกระทำอันผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2559

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มค้างค่าเช่าหลักหมื่น ทิ้งขยะกองโตท่วมห้องไว้ให้เจ้าของหอดูต่างหน้า
"ศาลอุทธรณ์" ยืนโทษคุก 8 เดือน "สมบัติ ทองย้อย" อดีตการ์ดเสื้อแดง โพสต์หมิ่น "พล.อ.ประยุทธ์" 2 ข้อความ
สพฐ. ชูศึกษานิเทศก์ทั้งประเทศ กลไกขับเคลื่อน "เรียนดี มีความสุข" สร้างคุณภาพสู่ห้องเรียน
“เต้ อาชีวะ” เดือด! จัดหนัก UN ปล่อยต่างด้าวล้นรพ.รัฐ แย่งคิวคนไทย
ปัตตานีระทึก คนร้ายชักปืน จี้ "พนง.ร้านสะดวกซื้อ" ชิงเงินสด 1.2 ล้าน หนีลอยนวล
เตรียมพบเทศกาลนานาชาติ พลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 "จันทบุรีนครอัญมณี" ปีที่ 5 ชูเอกลักษณ์เมืองจันท์ อัญมณีอันเลื่องชื่อ
“สมศักดิ์” นำร่อง “ตู้ห่วงใย” บริการแพทย์ทางไกลเชิงรุกในชุมชน ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ 
"พงษ์ศักดิ์" ยื่นร้องกกต. ขอระงับรับรองผลเลือกตั้งนายกอบจ.ขอนแก่น ชี้พบเหตุหาเสียงส่อผิดกม.
“กฤษอนงค์” ไร้เงาคนยื่นประกัน นอนคุกคืนแรก ด้าน “บอสพอล” มอบทีมกม.ยื่นค้านประกันตัว
‘ทะเลสาบน้ำเค็ม’ โผล่กลางทะเลทรายในมองโกเลียใน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น