“สิทธิบัตรทอง” 2565 ใช้สิทธิทำทันตกรรมฟรี คุ้มครองอะไรบ้าง

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, ทำทันตกรรม, ทำฟันฟรี, สิทธิด้านทันตกรรม, สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., ทันตแพทย์

"สิทธิบัตรทอง" สิทธิ 30 บาท ไขข้อสงสัย ผู้ถือบัตรสามารถใช้สิทธิทำฟันฟรีอะไรได้บ้าง สรุปชัดเข้าใจง่ายได้ในที่เดียว

“สิทธิบัตรทอง” สิทธิบัตร ทอง ทํา ฟัน 2565 สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช. ไขข้อสงสัย ผู้ถือบัตรใช้สิทธิทำฟันฟรี คุ้มครองอะไรบ้าง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สปสช. อัปเดตผู้มี “สิทธิบัตรทอง” สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถใช้สิทธิประโยชน์การบริการด้านทันตกรรมฟรี สำหรับผู้ที่มีปัญหาช่องปากหรือด้านทันตกรรม สามารถเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลประจำตามสิทธิ โดยแสดงบัตรประชาชน หากหน่วยบริการตามสิทธิเกินศักยภาพ อุปกรณ์ไม่พร้อม จะส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่สามารถรักษาได้ตามขั้นตอน

 

 

 

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, ทำทันตกรรม, ทำฟันฟรี, สิทธิด้านทันตกรรม, สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., ทันตแพทย์

 

 

 

สรุปข้อสงสัย “สิทธิบัตรทอง” คุ้มครองสิทธิทันตกรรมอะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้ มีดังต่อไปนี้

สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรม

  • การถอนฟัน
  • การอุดฟัน อุดคอฟัน
  • ขูดหินปูน การเกลาฟันหรือเกลารากฟัน (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ในการรักษา)
  • ฟันปลอมฐานพลาสติก ทั้งแบบซี่ถอดได้และแบบทั้งปากถอดได้
    – ฟันปลอมแบบถอดได้มีอายุการใช้งาน 5 ปี หากผู้รับบริการได้รับความเห็นจากทันตแพทย์ว่ามีความจำเป็นต้องซ่อมฟันปลอมก่อน 5 ปี ผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิได้

 

 

 

  • รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม (รากฟันน้ำนม)
  • ใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
  • ผ่าฟันคุด (ตามข้อบ่งชี้ของทันตแพทย์)
  • เคลือบหลุมร่องฟัน (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี)
  • การทาฟลูออไรด์วาร์นิช (เด็กอายุ 9 เดือน- 5 ปี)
  • การเคลือบฟลูออไรด์ (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี) ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

– ผู้ที่มีภาวะน้ำลายแห้งจากการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสงบริเวณใบหน้าและลำคอ หรือจากการกินยารักษาโรค ทางระบบที่ส่งผลให้น้ำลายแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน

– รวมทั้งผู้ที่มีเหงือกร่น รากฟันโผล่ ที่ยากต่อการทำความสะอาด

 

 

 

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, ทำทันตกรรม, ทำฟันฟรี, สิทธิด้านทันตกรรม, สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., ทันตแพทย์

  • โรคปริทันต์อักเสบ สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมคุ้มครอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ในการรักษา

โรคปริทันต์ คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน

– ถ้าไม่ได้รับการรักษาอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกทำลายไปอย่างช้า ๆ ทุกวันจนต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด

– โรคนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรครำมะนาด มีความรุนแรงมากกว่าโรคเหงือกอักเสบ

– อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกได้ คือ เหงือกบวม มีเลือดออกภายหลังการแปรงฟัน เจ็บเหงือกเวลาเคี้ยวอาหารในบางครั้ง ฟันโยก มีเหงือกบวมเป็นหนองในกรณีที่เป็นโรครุนแรงมาก ๆ มีกลิ่นปาก ฟันยื่นยาวหรือแยกกันเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้จนต้องมาให้ทันตแพทย์ถอนออก

  • การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก

– ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ไม่มีฟันทั้งปากและมีข้อบ่งชี้การใส่รากฟันเทียม ด้วยบริการใส่รากฟันเทียมและการบำรุงรักษา

  • จัดฟัน

– ในผู้มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ (ตามดุลยพินิจของทันตแพทย์)

 

 

 

สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท, ทำทันตกรรม, ทำฟันฟรี, สิทธิด้านทันตกรรม, สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สปสช., ทันตแพทย์

 

 

 

สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมที่ไม่คุ้มครอง

  • การครอบฟันน้ำนม/ครอบฟันแท้

– เป็นการรักษาไม่ใช่บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

  • การรักษารากฟันแท้

– เนื่องจาก เป็นข้อเสนอของคณะทำงานด้านสิทธิทางทันตกรรม โดยความเห็นชอบของทันตแพทยสภาว่า ควรให้เฉพาะการรักษารากฟันน้ำนมก่อน

– เนื่องจาก มีความสำคัญต่อสุขภาพมากกว่า ซึ่งทางทันตแพทย์ให้ความเห็นทำนองนี้ และบอกว่าการรักษารากฟันในเด็กเป็นการป้องกัน ส่วนในผู้ใหญ่เป็นการรักษา และรักษารากฟันอย่างเดียวในผู้ใหญ่นั้นไม่เพียงพอ เพราะ ฟันจะเปราะ ต้องมีการทำครอบฟันด้วย

 

 

 

 

– ซึ่งการทำครอบฟันนี้เห็นกันว่า อาจดูก้ำกึ่งจัดเป็นการเสริมสวยก็ได้ แต่ถ้าไม่ทำครอบฟันในที่สุดไม่นานก็ต้องถอนแล้วใส่ฟันปลอมอยู่ดี

– รวมทั้งมีปัญหากำลังคนด้วย เพราะอ าจต้องใช้ทันตแพทย์เฉพาะทาง ดังนั้น จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ถอนแล้วใสฟันเทียมน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า จึงเป็นที่มาของสิทธิการได้รับฟันเทียมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  • การเตรียมช่องปาก เพื่อการจัดฟัน

– กรณีขออุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด หากวัตถุประสงค์ต้องการทำ เพื่อการจัดฟันถือว่าเกินความจำเป็น ไม่มีข้อบ่งชี้ของทันตแพทย์ เพื่อการรักษาถือว่าไม่คุ้มครอง

 

 

 

สอบถามเพิ่มเติม

 

 

ข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น