"เงินเฟ้อ ยุโรป" กระทบหนัก ส่งผลยันราคาสินค้าภาคเกษตรกรรม ผลการศึกษาชี้ ชาวอิตาลีซื้อผักผลไม้ลดลงถึงร้อยละ 20 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 22 ปี
ข่าวที่น่าสนใจ
“เงินเฟ้อ ยุโรป” สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา สหภาพการเกษตรหลักของอิตาลี เผยว่า ปริมาณการซื้อผักและผลไม้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มต้นศตวรรษ ทำให้การดำเนินงานของเกษตรกรรายย่อยราว 300,000 ราย ตกอยู่ในความเสี่ยง และอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ผลการศึกษาจากสหภาพการเกษตรโกล์ดิเรตตี (Coldiretti) ร่วมกับสมาคมการค้าอีกสองแห่ง ซึ่งเผยแพร่ในการประชุมที่จัดโดยสหภาพผู้ผลิตผักและผลไม้สกุลส้มแห่งชาติอิตาลี ระบุว่า ยอดจำหน่ายผักและผลไม้ ช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 2.6 พันล้านกิโลกรัม ลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปริมาณการซื้อผักและผลไม้ลดลงทั้งหมดในภาพรวม
- โดยยอดจำหน่ายซูกินีลดลงร้อยละ 16
- มะเขือเทศลดลงร้อยละ 12
- มันฝรั่งลดลงร้อยละ 9
- ส้มร้อยลดลงร้อยละ 8
- แครอทลดลงร้อยละ 7
ยอดจำหน่ายข้างต้นได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งมีปัจจัยจากต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มสูง ประกอบกับยอดการผลิตลดลง เพราะ ฤดูร้อนร้อนแล้งผิดปกติ และรายได้ครัวเรือนลดลง เพราะ หลายปัจจัยทางเศรษฐกิจ
การศึกษาระบุว่า ปัจจุบันการทำมาหากินของฟาร์มขนาดเล็กมากกว่า 300,000 แห่ง เผชิญความเสี่ยงจากผลกระทบของต้นทุนพลังงานสูงขึ้นและยอดจำหน่ายลดลง ขณะภาคธุรกิจผักและผลไม้ช่วยสร้างงานในอิตาลีราว 440,000 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 40 ของการจ้างงานทางการเกษตรในประเทศ
ซึ่งเดิมทีชาวอิตาลีรับประทานผักผลไม้น้อยกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำต่อวันอยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่ยอดจำหน่ายสินค้าดังกล่าวจะลดลงเมื่อไม่นานนี้ โดยบริโภคผักผลไม้เฉลี่ย 273 กรัมต่อวัน ขณะปริมาณที่องค์การฯ แนะนำอยู่ที่ 400 กรัมต่อวัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง