ผู้ว่าเมืองช้าง เปิดงานประเพณีแซนโฎนตา อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

สุรินทร์ ผู้ว่าฯเป็นประธานเปิดงานบุญ เดือนสิบ ชาวสุรินทร์ เรียก ประเพณีแซนโฎนตา ของชาวไทยเชื้อสายเขมร ที่ลูกหลานจะมารวมตัวกันเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ย.2565 ที่หน้าอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณงค์จางวาง เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดสุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงานบุญ เดือนสิบของชาวสุรินทร์ งานบุญประเพณี แซนโฏนตา โดยมีนายพรชัย มุ่งเจริญพร นายก อบจ.สุรินทร์ พร้อมด้วยข้าราชการ อบจ.สุรินทร์ จัดขึ้น โดยมีส่วนราชราชการต่างๆประชาชนจากชุมชนต่างๆ ในพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จัดขึ้น เป็นเป็นการรักษาสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม งานบุญที่สำคัญของชาวจังหวัดสุรินทร์ ให้สืบทอดต่อกันไปให้ยาวงาน มีทั้งมีพิธีเซ่นไหว้ บวงสรวงพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ด้วยอาหารคาว หวาน น้ำดื่ม อาหาร และขมพื้นเมืองสุรินทร์ พร้อมด้วยพิธีทางศาสนาพระสงฆ์สวดอภิธรรม ถวายสังฆทาน พร้อมด้วยจัตุปัจจัยอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้ได้รับส่วนบุญส่วนกุศล ในวันสำคัญงานบุญเดือนสิบวันสำคัุญของชาวสุรินทร์ วันแซนโฏนตา และชาวสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียงที่พูดภาษาถิ่นเขมร ไม่ปฏิบัติตามประเพณีแซนโฏนตา ก็จะมีชีวิตที่ไม่รุ่งเรือง ตกต่ำลำบาก ชาวสุรินทร์ และชาวจังหวัดใกล้เคียง ที่พูดภาษาถิ่นเขมร จึงยึดถือประเพณีแซนโฏนตาอย่างเคร่งครัด และถือว่าเป็นวันหยุดทำงานของแต่ละคนไปโดยหลักปฏิบัติของประเพณี

สำหรับ วันสารท วัฒนธรรมของชางสุรินทร์ ที่พูดภาษาท้องถิ่นภาษาเขมรสุรินทร์ ถื่อว่าเป็นงานบุญวัน ครอบครัวและเครือญาติได้กลับมาพบหน้ากัน เพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เหมือนกับ “วันสารทไทย”, “วันสารทจีน” และในวัฒนธรรมของชาวสุรินทร์ พูกภษาท้องถิ่นเขมร ก็มีประเพณี “วันสารทเขมร” หรือที่เรียกกันว่า “ประเพณีแซนโฎนตา” ซึ่งชาวสุรินทร์ และชาวจังหวัดใกล้เคียง ที่พูดภาษาท้องถิ่นเขมร รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับประเพณีนี้เป็นอย่างยิ่ง

วันแซนโฎนตา หรือ ไงแซนโฎนตา ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งในปี 2565 วันแซนโฎนตา ตรงกับวันนี้ (24 กันยายน) แต่ อบจ.สุรินทร์ ได้จัดงานขึ้นก่อนวันประเพณี จริง 2 วัน เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆได้รร่วมงานบุญแซนโฏนตาร่วมกับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ สำหรับคำว่า “ไง” หมายถึง วัน คำว่า “แซน” หมายถึง การเซ่นไหว้ การบวงสรวง คำว่า “โฎน” หมายถึง ย่าหรือยาย คำว่า “ตา” หมายถึง ปู่หรือตา ดังนั้นประเพณีนี้จึงหมายถึง การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นวันสารทเดือนสิบของชาวเขมร ในช่วงเวลานี้ ลูกหลานชาวเขมรที่ไปทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ จะเดินทางกลับมาหาครอบครัวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

ทั้งนี้ ชาวสุรินทร์ มีความเชื่อว่า เมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประตูยมโลกจะเปิด เพื่อให้ผู้รับกรรมที่อยู่ในนรกได้เดินทางมาเยี่ยมญาติได้ ชาวสุรินทร์ จึงจัดทำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ในตอนเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 และพอรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะนำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เรียกว่า “วันเบ็นตูจ” โดยเชื่อว่าผีจะออกมาจากยมโลกได้ 15 วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม จากวันเบ็นตูจนับไปอีก 15 วัน (นับจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10) จะตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี คือ “วันเบ็นทม” ซึ่งเป็นวันที่ประกอบพิธีแซนโฎนตา อีกส่วนสำคัญคือการเตรียม “บายเบ็ญ” โดยเตรียมอาหาร ผลไม้ หมากพลู บุหรี่ ใส่กระทงเล็ก ๆ หลายใบ และจัดใส่กระทงใบใหญ่สัก 2 ใบ นำมาตั้งไว้นอกรั้วบ้านในวันแรม 15 ค่ำ เพื่อให้ผีที่ไม่มีญาติ การประกอบพิธีแซนโฎนตา แต่ละบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ ทั้งอาหารคาว-หวาน ผลไม้ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน เซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน ประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน และประกอบพิธีกรรมที่วัด โดยการทำเช่นนี้เพื่อให้บรรพบุรุษรับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้บ่วงกรรมที่มีบรรเทาลง ซึ่งชาวสุรินทร์ ยึดถือประเพณีนี้สืบทอดกันมาอย่างยาวนานด้วยความเชื่อที่ว่าถ้าในยุคของตนได้แซนโฎนตาให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเหมือนกัน เพื่อให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไป เช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติหรือลูกหลานนำอาหารจำนวนมากมาทำบุญที่วัด บรรพบุรุษก็จะเกิดความปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อถึงกำหนดวันที่ต้องกลับไป ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จ มีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่เห็นลูกหลานเตรียมสำรับไว้ให้ ก็จะรู้สึกโศกเศร้า ผิดหวัง จนโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ ดังนั้นชาวสุรินทร์ จึงประกอบพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน.

 

 

ศูนย์ข่าวภาคอีสาน สำนักข่าว TOP NEWS 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ
ชวนเที่ยวงาน "เที่ยวถิ่น กินอร่อย สมุทรปราการ" ปี 67 จัดใหญ่จัดเต็มส่งท้ายความสุขช่วงปลายปี
"ทักษิณ" เล่นใหญ่ กลับเชียงใหม่ นำ "พิชัย" ชิงนายกอบจ. เชื่อเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อไทยได้ 10 สส.
แตกตื่นทั้งวอร์ด! หามผู้ป่วยพม่าติดโรคห่า 1 ราย ข้ามแดน ส่ง รพ.แม่สอด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น