“ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก” ที่สุดในรอบ 59 ปี 27 ก.ย. นี้ ห้ามพลาด

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก

"ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก" ที่สุดในรอบ 59 ปี วันที่ 27 กันยายน 2565 นี้ ห้ามพลาดชม หากฟ้าใส ไร้เมฆฝน ดูได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย

“ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก” ดาวพฤหัสบดี ใกล้ โลก 2565 ดาวใกล้โลก 2565 มีมาให้ชมอีกแล้วกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมื่อทางด้าน NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชมดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี ในวันที่ 27 กันยายน 2565 นี้ พร้อมเปิด 4 จุดสังเกตการณ์หลักเข้าฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดทั้งหมดที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ระบุข้อความว่า วันที่ 27 กันยายน 2565 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดีจะเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ปกติแล้วดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาใกล้โลกทุกปี และครั้งนี้ยังถือเป็นการโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2506

 

วันดังกล่าวเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก ดูได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย หากฟ้าใส ไร้เมฆฝน สังเกตได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์กาลิเลียน 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด คัลลิสโต ได้อย่างชัดเจน

 

 

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก

 

 

อีกทั้งคืนดังกล่าวยังมีโอกาสเห็นเหตุการณ์ขณะที่ดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี ในช่วงเวลาประมาณ 21:48 – 00:04 น. รวมถึงยังคงเห็นดาวเสาร์ปรากฏสว่างถัดจากดาวพฤหัสบดีไปทางทิศตะวันตกอีกด้วย

 

 

 

คืนวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 สดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ชวนส่องแทบเมฆ และดวงจันทร์กาลิเลียนของดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ 4 จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่
  • หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
  • หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
  • หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ตั้งแต่เวลา 18:00 – 22:00 น. ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก

 

 

สำหรับผู้สนใจร่วมกิจกรรมในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ สดร. ร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 560 แห่ง ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ด้วย ตรวจสอบจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านท่านได้ที่ https://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2022  นอกจากนี้ ยังสามารถรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านทางเฟซบุ๊ก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ตั้งแต่เวลา 19:00 น. เป็นต้นไป

 

 

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นฤมล-ธรรมนัส" ลุยหนัก ปราศรัยอ้อนชาวนครศรีฯ ไว้วางใจ "บิ๊กโอ" เป็นสส. มั่นใจฝีมือ ร่วมดูแลประชาชน
วธ. จัดพิธีมอบเกียรติบัตรประกาศยกย่ององค์กรคุณธรรม สังกัดองค์กรอิสระและองค์กรภาคเอกชน ในส่วนกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
เตือนรัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชน อย่าปล่อยหวยออนไลน์ ตู้ขายสลากผิดกม.เกลื่อนเมือง มีกฎหมายแต่จัดการไม่ได้ ประชาชนจะมั่นใจ?
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ แจงราคาหมูปรับขึ้นเป็นวัฏจักรปกติช่วงหน้าร้อน ยันไม่ใช่การเอาเปรียบผู้บริโภค
“โฆษกกองทัพบก” เผย “ผบ.ทบ.” สั่งดูแลเป้าหมายอ่อนแอ เข้มใช้กฎหมาย-รักษาความปลอดภัย เหตุป่วนใต้
"รองนายกฯ ประเสริฐ" ผนึกกำลัง 16 พันธมิตรร่วม MOU แพลตฟอร์ม ‘DE fence’ ป้องกันโทร - SMS หลอกลวง สกัด “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” พร้อมเปิดใช้ 1 พ.ค. 68 นี้
"พล ร.9" ฝึกประจำปี 68 เป็นหน่วยกรมทหารราบผสม ปฏิบัติตามแผนการใช้กำลังทบ. เพิ่มขีดความสามารถให้กำลังพล พร้อมปกป้องผืนแผ่นดินไทยและพี่น้องปชช.
“ภุชงค์” ลุยตรวจสร้างทางพิเศษพระราม 3 เข้ม 5 กฎเหล็กความปลอดภัยโครงการก่อสร้างใหญ่ ป้องกันเหตุซ้ำรอย
"พิชัย" นำเปิดเวทีระดมสมอง รับมือมาตรการกำแพงภาษีสหรัฐฯ ชี้โอกาสสินค้าไทยสอดแทรกแทนจีน เร่งเจรจา FTA ยุโรป
สุดยื้อ "ร.ต.อ.จตุรงค์" นักบิน เสียชีวิตเป็นรายที่ 6 เหตุเครื่องบินเล็กตก ทะเลหัวหิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น