วันที่ 23 กันยายน 2565 ที่วัดปอพราน หมู่1 ตำบลทุ่งอรุณ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย ประธานคณะกรรมการตรวจและประเมินผลงาน พล.ต.ต.ภูวดิท ชนะคชภัทร์ พล.ต.ต.ชัยวัฒน์ หัดกล้า พร้อมคณะฯ เดินทางมาตรวจเยี่ยมประเมินผลงาน ”โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชุมชนบำบัด” สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ของ สภ.โชคชัย บ้านใหม่หัวสะพาน หมู่16 ตำบลทุ่งอรูณ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ที่มีผลงานดีเด่นเป็นอันดับที่ 2 ของตำรวจภูธรภาค 3 ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการตรวจประเมินในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประเมินผลงานเข้าประกวดในระดับประเทศ โดยมี นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พล.ต.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย รอง.ผบช.ภ3 พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา นายธรรมธรรศ ทองสำโรง นายอำเภอโชคชัย พ.ต.อ.บุญโปรด ประเสริฐศักดิ์ ผกก.สภ.โชคชัย พ.ต.ท.รัฐวิชญ์ อนันต์ดิลกฤทธิ์ รอง.ผกก.ป.สภ.โชคชัย พร้อมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการชุมชนฯ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชมรมวัฒนธรรมฯพี่น้องประชาชนชาวชุมชนบ้านใหม่หัวสะพาน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมให้การต้อนรับ นำเข้าที่ประชุมรับฟังการบรรยายสรุปภาพรวมผลการดำเนินการ จากคณะทำงาน
ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดแผนด้านการป้องกันยาเสพติดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในทุกกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้มีภูมิคุ้มกัน มีทักษะในการป้องกันตนเองจากยาเสพติด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านชุมชนเพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาและชับเคลื่อนส่งต่อไปยังกลไกหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างอย่างเป็นระบบ เป็นรูปธรรม และมีความยั่งยืน ด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นภารกิจภายใต้แผนแม่บทตามยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง มุ่งยึดแนวคิดการแก้ไขปัญหายาเสพติดตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ในการดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนั้น การดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ การสร้างอาสาป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน การปรับระบบนิเวศสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา ฟื้พื้นฟูสมรรถภาพที่ครอบคลุมทุกมิติ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชนได้อย่างปกติสุขและเท่าเทียมบ้านใหม่หัวสะพาน หมู่ที่ 16 ตำบลทุ่งอรุณ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จึงได้ดำเนินโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ
พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย ประธานคณะกรรมการตรวจและประเมินผลงานโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2564 โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดแผน ด้านการป้องกันยาเสพติดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดในทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้มีภูมิคุ้มกัน มีทักษะในการป้องกัน ยาเสพติดโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชนสถานศึกษา รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน ชุมชนเพื่อลดปัญหายาเสพติด และลดปัญหาอาชญากรรม โดยชื่อโครงการชุมชนยั่งยืน มีความหมายชัดเจนอยู่แล้ว จึงกำหนดให้มีการบูรณาการกันดำเนินการประกอบไปด้วย ทีม ฝ่ายปกครอง ตำรวจ หมอ ทีมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คนในหมู่บ้าน หรือชุมชนร่วมมือกันต่อต้านยาเสพติด มาหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด ผู้ค้าจะไม่พูดถึงให้ดำเนินการตามกฎหมายไป ผู้เสพ แบ่งเป็นหลายกลุ่ม คนเสพที่มากถึงขั้นจิตหลอนแล้วก็ต้องส่งไปรักษา แต่บุคคลที่รักษาได้ทางทีมงานเคยทดลองมาแล้วหลายรูปแบบในที่สุดมาจบมาบำบัดที่ชุมชน โดยมีทีมหมอซึ่งมีกระบวนการบำบัดอยู่แล้ว ว่ามีขั้นมีตอนว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วมาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชาวบ้านกรรมการคุ้ม ผู้ใหญ่บ้าน ทีมอำเภอ ทีมตํารวจมาช่วยกัน นอกจากหมอจะรักษาแล้ว ยังจะมีกิจกรรมอื่นๆ มาร่วมกันทำเพื่อให้เด็กเหล่านี้กลับคืนมา ส่วนสาเหตุและปัญหาหลักของการติดยาเสพติด มาจากการคึกคะนองอยากลอง บางคนก็เพื่อนชักชวน บางคนก็ดูจากโซเซียล ยาเสพติดก่อให้เกิดปัญหาในสังคม เหตุผลหลักๆของการก่อเหตุต่างๆ ล้วมมาจากการเสพสารเสพติด ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้ดำเนินการโครงการชุมชนยั่งยืน เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการดูแลสอดส่องลูกหลาน และกลุ่มเสี่ยงที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับยาเสพติด ก็จะนำมาเข้าร่วมโครงการชุมชนยั่งยืน มีวิทยากรอบรมให้ความรู้ และสอนอาชีพต่างๆ เพื่อให้กลุ่มผู้บำบัดได้มีรายได้หลังจากที่ออกไปสู่สังคม ซึ่งตอนนี้มีโครงการทั้งประเทศ มีผู้บำบัดติดยาเสพติดประมาณ 10,000 ราย.
ภาพ-ข่าว อภิรักษ์ ศรีอัศวิน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา