วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 09.00 น. ศาลแพ่ง รัชดา ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่นักกิจกรรมและนักศึกษา รวม 7 คนร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง เป็นจำเลยที่ 1-6 ตามลำดับ จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่างวันที่ 15 – 22 ต.ค. 2563 และขอให้ชดเชยค่าเสียหายให้กับโจทก์ทั้ง 7 คน โดยมี นางสาวศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นิสิตคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทนายมารับฟังการอ่านคำพิพากษา
ศาลยกฟ้อง "ประยุทธ์" และคณะ หลังกลุ่มนศ.ยื่นฟ้องปมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข่าวที่น่าสนใจ
นางสาวศุกรียา ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าไปรับฟังคำพิพากษา ระบุว่า เวลาผ่านมานาน 2 ปีแล้ว ด้วยกระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า แม้ตอนนี้กำลังจะยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ตาม แต่เวลาที่ผ่านมาความเสียหายมันเกิดขึ้นไปแล้ว รวมไปถึงยังไม่มีใครได้รับการชดเชยจากความเสียหายที่เกิดขึ้น มีคนติดคุกทั้งจากคดีเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและมาตราอื่น ๆ จึงอยากให้สังคมสนใจและให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นกับคนเหล่านี้
“สิ่งที่ควรจะทำทันทีหลังจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินคือปล่อยตัวผู้ที่โดนคดีทันที พร้อมชดเชย เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างความเป็นธรรม ตนเองยืนยันในความเสียหายที่เกิดขึ้น เราต่างก็รู้ว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินมันไม่ได้มีไว้เพื่อควบคุมโรคแล้ว มีไว้เพื่อควบคุมเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งก็ควรมีมาตรการต่อไปว่าในอนาคตมันจะเป็นอย่างไร”
ส่วนกรณีศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันนี้ นางสาวศุกรียา ระบุว่า ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก เพราะคดี พ.ร.บ.ชุมนุมก็เพิ่งจะแพ้มา แต่ก็หวังลึก ๆ ว่าศาลแพ่งอาจจะไม่เหมือนที่อื่น ส่วนการที่ศาลยกฟ้องนั้น เราก็ไม่ได้แปลกใจเท่าไหร่ แค่ผิดหวังมากกว่า
ภายหลังจากศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาว่ามีคำสั่งยกฟ้อง นางสาวศุกรียา ระบุว่า ศาลพิพากษายกฟ้อง จากการกระทำทั้งหมดจำเลยที่เราฟ้องไป ศาลเห็นว่าเป็นไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ รวมไปถึงการสลายการชุมนุมในช่วงวันที่ 14 – 16 ตุลาคม 63 ไม่ได้เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และสมเหตุสมผล ส่วนการสลายกาชุมนุมที่แยกปทุมวันก็เป็นพื้นที่ของบุคคลสำคัญ จึงต้องรักษาความปลอดภัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง