“ราชกิจจานุเบกษา” หญิงท้อง 12-20 สัปดาห์ ตรวจ-ปรึกษาก่อนทำแท้งได้

ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งครรภ์, ยุติการตั้งครรภ์, หญิงตั้งครรภ์, ผดุงครรภ์, ทำแท้ง

"ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ประกาศสธ. หญิงท้อง 12-20 สัปดาห์ทำแท้งได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องได้รับการตรวจและปรึกษาก่อน

“ราชกิจจานุเบกษา” แพร่ประกาศ สธ. หญิงท้อง 12-20 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ แต่ต้องได้รับการตรวจและปรึกษาก่อน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“ราชกิจจานุเบกษา” เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 ระบุว่า มาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา กำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ก่อนตัดสินใจยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้การตัดสินใจของหญิงนั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้าน

 

 

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

1. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศใน “ราชกิจจานุเบกษา” เป็นต้นไป

2. ในประกาศนี้ 

  • การให้คำปรึกษาทางเลือก หมายความว่า การให้คำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ด้วยข้อมูล ที่หลากหลาย ถูกต้อง และรอบด้านตามประกาศนี้
  • ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วย วิชาชีพเวชกรรม
  • ผู้ประกอบวิชาชีพอื่น หมายความว่า

 

 

ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งครรภ์, ยุติการตั้งครรภ์, หญิงตั้งครรภ์, ผดุงครรภ์, ทำแท้ง

 

 

 

 

(1) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต นักจิตวิทยา หรือนักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน

(2) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปรึกษาทางเลือกในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน หรือ

(3) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปรึกษาทางเลือกในองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือองค์กรภาคประชาสังคมที่กรมอนามัยให้การรับรอง

 

 

 

 

  • หน่วยบริการปรึกษาทางเลือก หมายความว่า สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน หรือองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือองค์กรภาคประชาสังคมที่กรมอนามัยให้การรับรอง ที่มีบริการให้คำปรึกษาทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์
  • ข้อบังคับแพทยสภา หมายความว่า ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

3. หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์

  • ให้แจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อหน่วยบริการปรึกษาทางเลือกเพื่อดำเนินการให้หญิงนั้นเข้าสู่กระบวนการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือก
  • การแจ้งความประสงค์ตามวรรคหนึ่ง หญิงอาจแจ้งด้วยตนเอง เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ให้กรมอนามัยประกาศรายชื่อหน่วยบริการปรึกษาทางเลือกตามวรรคหนึ่งให้ประชาชนทราบ

 

 

 

4. เมื่อได้รับการแจ้งความประสงค์ตามข้อ 3

  • ให้หน่วยบริการปรึกษาทางเลือก ดำเนินการให้หญิงได้รับการตรวจวินิจฉัยอายุครรภ์ของหญิงจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามข้อบังคับ แพทยสภา

(1) ในกรณีที่ผลการตรวจปรากฏว่าหญิงมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ให้หน่วยบริการปรึกษาทางเลือกดำเนินการเพื่อให้หญิงได้รับการปรึกษาทางเลือก

(2) ในกรณีที่ผลการตรวจปรากฏว่าหญิงมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หากหญิงยืนยัน ที่จะยุติการตั้งครรภ์ ให้ดำเนินการเพื่อให้หญิงได้รับการยุติการตั้งครรภ์ตามข้อบังคับแพทยสภา

(3) ในกรณีที่ผลการตรวจปรากฏว่าหญิงมีอายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ ให้หน่วยบริการปรึกษาทางเลือกดำเนินการ เพื่อให้หญิงได้รับการดูแลช่วยเหลือหรือได้รับการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม แก่การตั้งครรภ์และเลี้ยงดูบุตรต่อไป แต่หากมีเหตุยุติการตั้งครรภ์อื่นตามมาตรา 305 (1) (2) หรือ (3) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้ดำเนินการตามข้อบังคับแพทยสภา

 

 

 

ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งครรภ์, ยุติการตั้งครรภ์, หญิงตั้งครรภ์, ผดุงครรภ์, ทำแท้ง

 

5. ผู้ประกอบวิชาชีพอื่น

  • เมื่อได้ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์ตามที่กรมอนามัยกำหนดและขึ้นทะเบียนกับกรมอนามัยแล้ว ให้เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกตามประกาศนี้

6. การให้คำปรึกษาทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์ ให้ผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้

  • การรับฟังปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ด้วยความใส่ใจและเป็นมิตร
  • การไม่ตีตราหรือตัดสินเกี่ยวกับการกระทำ การให้ถ้อยคำ การแสดงทัศนคติ หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ของหญิงตั้งครรภ์
  • การให้ข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้น ข้อมูลการยุติการตั้งครรภ์แบบ องค์รวม ได้แก่

(1) ความเสี่ยง

(2) ความปลอดภัย

(3) ข้อห้ามทางการแพทย์

(4) รวมถึงข้อมูลอื่น

 

 

 

  • เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือก อย่างรอบคอบ ทั้งด้านการตั้งครรภ์ต่อและการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจและวางแผนชีวิต ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและเงื่อนไขชีวิตของหญิง สามารถปฏิบัติได้จริงตามศักยภาพของตนเอง และรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจได้
  • การให้อิสระ ไม่โน้มน้าว และไม่บีบบังคับให้หญิงตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่ง
  • การรักษาความลับในการให้คำปรึกษาทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์

 

 

ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งครรภ์, ยุติการตั้งครรภ์, หญิงตั้งครรภ์, ผดุงครรภ์, ทำแท้ง

 

 

7. การให้คำปรึกษาทางเลือกให้ดำเนินการโดยเร็วและคำนึงถึงอายุครรภ์ของหญิง

  • ไม่ให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหากต้องมีการยุติการตั้งครรภ์

8. เมื่อหญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ได้รับคำปรึกษาทางเลือกเสร็จสิ้นแล้ว

  • ให้ผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกออกเอกสารตามแบบที่กรมอนามัยกำหนดแก่หญิง เพื่อแสดงว่าได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกตามประกาศนี้แล้ว โดยอาจทำในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ดังต่อไปนี้

(1) หากหญิงนั้นยืนยันที่จะตั้งครรภ์ต่อ ให้ผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกดำเนินการให้หญิงได้รับ การดูแลช่วยเหลือ หรือได้รับการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมแก่การตั้งครรภ์และเลี้ยงดูบุตรต่อไป

(2) หากหญิงนั้นยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ให้ผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกดำเนินการให้หญิง ได้รับการยุติการตั้งครรภ์ตามข้อบังคับแพทยสภา หากหญิงนั้นประสงค์จะได้รับความช่วยเหลือ ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำแนวทางการดูแลช่วยเหลือ หรือการจัดสวัสดิการสังคม ที่เหมาะสมแก่หญิงที่จะดำเนินการยุติการตั้งครรภ์ดังกล่าวด้วย

 

 

 

 

9. ในระหว่างการดำเนินการตรวจหรือให้คำปรึกษาทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์

  • หากข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีข้อบ่งชี้หรือกรณีเป็นไปตามมาตรา 305  (1) (2) (3) และ (๔) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกอาจให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ เพื่อดำเนินการยุติการตั้งครรภ์หรือดำเนินการอื่นใดให้เป็นไปตามที่กฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องกำหนด

10. ในระยะเริ่มแรก

  • ให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้ว ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกตามประกาศนี้ได้ โดยยังไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมตามข้อ 5 แต่ต้องไม่เกิน 365 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น