วันที่ 28 ก.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ กกต.ได้เผยแพร่แนวทางการปฏิบัติและข้อควรระวังในช่วงระยะเวลาการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้สมัครและพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและหน่วยงานของรัฐนั้น ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” ปรมาจารย์กฎหมายมหาชน ในประเด็น ข้อ 1.5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมือง ไม่สามารถมอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชน ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การมอบสิ่งของช่วยเหลืออุทกภัย วาตภัย เหตุอัคคีภัย และโรคระบาด หรือเหตุ อันเกิดขึ้นในลักษณะทำนองเดียวกัน นั้น “ดร.ณัฎฐ์”กล่าวว่า การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อความชัดเจนในข้อกฎหมายว่า สิ่งไหนทำได้หรือสิ่งไหนทำไม่ได้ หากท่านพิจารณาตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565
โดยแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 68 มาตรา 70 มาตรา 71 และมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 เห็นว่า กกต.ได้ออกระเบียบกติกาวิธีการหาเสียงล่วงหน้าตามมาตรา 68 แห่ง พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.เพราะกฎเหล็ก 180 วัน ถือได้ว่า เป็นการเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง 100% แต่ที่เคยให้สัมภาษณ์ที่ผ่านมามีข้อยกเว้น คือ การยุบสภา ไม่นับช่วงระยะเวลา 180 วัน กฎหมายบัญญัติให้การหาเสียงนับหนึ่งนับแต่วันยุบสภา ตามมาตรา 68(2) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ในส่วนที่ถาม การเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ส.ส.ในกฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่นี้ เพิ่งจะมีครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่กำหนดกรอบเวลา 180 วัน มาตรา 68(1) โดยมีข้อห้ามในมาตรา 73 หากอ่านเอกสารที่เผยแพร่ โดยสำนักกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง แนวทาง การดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเนื่องมาจากการครบอายุของสภา ผู้แทนราษฎร ซึ่งให้กระทำได้ตั้งแต่ 180 วันก่อนวันครบอายุ จนถึงวันก่อนวันเลือกตั้ง (เริ่มวันที่ 24 กันยายน 2565) หน่วยงานของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้สมัครและพรรคการเมือง โดยเฉพาะข้อ 1.5 เป็นข้อห้าม ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมือง ไม่สามารถมอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชน ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่ง การมอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชน ซึ่ง กกต.จะต้องควบคุมและจัดการเลือกตั้ง ส.ส.โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามความในมาตรา 224 (1)(2) แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตั้งข้อสังเกต ดังนี้