“ศรีสุวรรณ” สวนสภาฯผู้บริโภคอย่าอวดเก่งกว่ากฤษฎีกาปมผนึกTRUE-DTAC

"ศรีสุวรรณ" สวนสภาฯผู้บริโภคอย่าอวดเก่งกว่ากฤษฎีกาปมผนึกTRUE-DTAC

สืบเนื่องจากกรณีที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการตามคำร้องขอของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในการขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติม เพื่อตีความกรอบอำนาจของบอร์ดกสทช. ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

ต่อมา เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นส่งถึงสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน กสทช. โดยมีสาระสำคัญ คือ คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่อาจให้ความเห็นในส่วนที่เป็นการใช้ดุลพินิจรวมทั้งการกำหนดมาตรการหรือเงื่อนไขต่างๆ อันเป็นหน้าที่และอำนาจของ กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระได้

โดยยืนยันว่า การควบรวมกิจการ TRUE – DTAC ไม่จำเป็นต้องให้บอร์ดกสทช.พิจารณาอนุมัติ เนื่องจากกฎหมายรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ตามประกาศกสทช.ปี 2553 ที่กำหนดให้การรวมธุรกิจต้องได้รับอนุญาตจากกสทช.ก่อนนั้น ได้ถูกยกเลิกแล้ว โดยมีประกาศ กสทช.ปี 2561 ขึ้นมาแทน และกำหนดเงื่อนไขเพียงว่า ให้การรวมธุรกิจกระทำได้โดยจัดทำรายงานส่งให้กสทช. โดยมีทั้งกรณีที่ต้องรายงานก่อนล่วงหน้าและรายงานหลังจากรวมธุรกิจแล้ว สอดคล้องกับมาตรา 77 วรรคสามของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จำเป็น

หรือ กสทช. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ สำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดมาบังคับใช้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ตามข้อ 12 ของประกาศปี 2561 นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่า กสทช. ต้องใช้อำนาจโดยคำนึงถึงความได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคกับการพัฒนากิจการโทรคมนาคม ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และ พ.ร.บ.บัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งกำหนดให้ กสทช. เพียงมีหน้าที่และอำนาจกำหนดมาตรการเพื่อป้องกัน มิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม เท่านั้น

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์แสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวว่า “ในเมื่อกฤษฎีกาตีความควบธุรกิจ TRUE-DTAC เป็นอำนาจ กสทช. ใช้ดุลยพินิจได้ แต่เหตุใดยังมีบางคน บางองค์กรทำตนเองเก่งกว่ากฤษฎีกา”

 

ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น สภาองค์กรของผู้บริโภค โดย นางสาว สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ได้ออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้สำนักงาน กสทช. หยุดปล่อยข้อมูลสร้างความสับสนเกี่ยวกับการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยอ้างว่าเป็นการความเข้าใจผิดในการตีความว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการพิจารณา และหากยังยืนยันไม่เดินหน้าตัดสินการควบรวมฯ กสทช. จะดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหากระทำผิดตามมาตรา 157 ว่าด้วยการละเลยการปฏิบัติหน้าที่

 

 

ขณะที่มีรายงานข่าวว่า บอร์ดกสทช. จะนำคำร้องของ TRUE และ DTAC มาดำเนินการอีกครั้งให้เสร็จสิ้นกระบวนการในวันที่ 12 ต.ค. 2565 นี้ หลังจากกรณีดังกล่าวยืดเยื้อมานานกว่า 7 เดือน และคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นทางกฎหมายอย่างชัดเจนมาแล้ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้การชลบุรี บูรณาการทุกภาคส่วน เข้มมาตรการ ดูแลความปลอดภัยและการจราจรให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในช่วงวันคริสต์มาสและเทศกาลเคาท์ดาวน์ 2567
พนักงานเซเว่น น้ำใจงามช่วยสาวลาว ขับเก๋งเสยแบริเออร์ล้อชี้ฟ้า เจ็บติดคารถ
เทศกาลส่งมอบความสุขวันคริสต์มาส
"ผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอน" ยันไม่มีเหตุความไม่สงบฝั่งตรงข้ามชายแดน
ตร.วางแผนรวบ 2 ผู้ต้องหา ยึดของกลางยาบ้าล็อตใหญ่ แอบซุกกล่องพัสดุส่งจากเชียงราย
“รศ.ดุลยภาค” สำรวจชายแดน พบหลักฐานทหารว้าล้ำเขตแผ่นดินไทย
รมว.ต่างประเทศ ยันรัฐบาลช่วย 4 ลูกเรือประมงเต็มที่
กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน พิสูจน์-สกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา
“ทักษิณ” เปิดตัว “ยลดา” ส่งสู้ศึกลงนายอบจ.โคราช บอกสนามนี้ไม่มีอะไรหนักใจ
ยาย "เจ้าของรองเท้ามือสอง" แจ้งเอาผิดคนโพสต์ แจกฟรี จนชาวบ้านแห่ขนกลับ ทำเสียหาย 8 หมื่นบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น