ดูชัดๆคำวินิจฉัยศาลรธน. “บิ๊กตู่” ยังไม่ครบ 8 ปี อธิบายชัดต้องเริ่มนับปี 60

ดูชัดๆคำวินิจฉัยศาลรธน. ชี้ “บิ๊กตู่” ยังไม่ครบ 8 ปี ได้ไปต่อถึงปี 68 ชี้ต้องเริ่มนับวันที่รธน.60 เริ่มใช้ ยันเอกสารประชุมกรธ.ครั้งที่ 500 เป็นเพียงการอธิบายแนวความคิด และหารือหลังธน.ใช้บังคับไปแล้ว1 ปี 5 เดือน

วันที่ 30 ก.ย. 65 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ เวลา 15.00 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏร ส่งคำร้องของ ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อขอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าสิ้นสุดลงของตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสองและมาตรา 158 วรรคสี่หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 2560 ได้กำหนดวิธีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี ซึ่งแตกต่างลงจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ คือการได้มาตรา 159 และตามบทเฉพาะการ มาตรา 272 การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 มีหลักการสำคัญว่า ให้พิจารณาเห็นชอบจากรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ต่อกกต. ก่อนการเลือกตั้ง และต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม จึงเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นเมื่อผู้ถูกร้องได้รับความเห็นชอบตามาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 ผู้ถูกร้องจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามรัฐธรรมนูญ 2560 โดยบริบูรณ์ และเป็นไปตามหลักทั่วไปของการมีผลบังคับใช้กฎหมาย และหลักความแน่นอนชัดเจนของกฎหมาย กล่าวคือการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ต้องพิจารณากระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 158 และ 159 โดยเฉพาะเงื่อนไขตามมาตรา 159 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ให้สภาฯให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี จากบุคคลที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม และเป็นผู้ที่มีชื่อในบัญชีพรรคการเมืองที่ได้แจ้งไว้

ผู้ถูกร้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 เมื่อ 24 สิงหาคม 2557 ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของสนช. และสนช.มาจากคสช.ถวายคำแนะนำ เห็นได้ว่าผู้ถูกร้องไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งต้องมีที่มาตามมาตรา 158 วรรคสอง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ แต่อย่างไรก็ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ให้ครม. ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 จนกว่าครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุต่อว่า ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ครม.ซึ่งมีผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ เป็นครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ 25602 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่มีความุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ ประการแรก เพื่อให้บทบัญญัติที่ยืนยันถึงหลักความต่อเนื่องของครม. กล่าวคือ แม้ครม.ซึ่งมีผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับอื่นอยู่ก่อนวันประกาศใช้ประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2560 แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 แล้ว ต้องถือว่าครม.ซึ่งแม้จะเข้าสู่ตำแหน่งโดยรัฐธรรมนูญฉบับอื่นก็ตาม ย่อมเป็นครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นต้นไป

ประการที่สอง เพื่อนำกฎเกณ์ของรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้บังคับใหม่ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาใช้บังคับแก่ครม.ที่มีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามหลักทั่วไปที่ครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ประกาศขึ้นมาใหม่ทุกประการทันที เว้นแต่ในบทเฉพาะกาลนั้นจะมีข้อแยกเว้นว่าไม่ให้นำเรื่องใดมาใช้บังคับกับครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้นหากมิได้บัญญัติยกเว้นบทบัญญัติในเรื่องใดไว้ ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเรื่องนั้นๆทั้งสิ้น ความมุ่งหมายของบทเฉพาะกาลมาตรา 264 จึงเป็นไปตามหลักทั่วไปของการใช้บังคับกฎหมายคือ ดังนั้นไม่ว่ากรณีใดเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ ทุกอย่างจึงต้องเริ่มนับทันที กรณีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ในเรื่องระยะเวลา 8 ปี จึงต้องเริ่มนับทันทีนับแต่รัฐธรรมนูญนี้มีผลเริ่มใช้บังคับ จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจึงวินิจฉัยได้ว่าผู้ถูกร้องซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญนี้ด้วย

 

สำหรับข้อกล่าวอ้างที่ว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 24/2564 เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเพื่อเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคการเมือง และการสิ้นสุดสมาชิกภาพของส.ส.ไม่ใช่โทษทางอาญาสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับคำร้องในกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยดังกล่าว เป็นกรณีเกี่ยวกับพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง อันเป็นเหตุให้ถูกยุบพรรคและเป็นผลให้กรรมการบริหารพรรคถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง และเป็นกรณีลักษณะต้องห้ามของส.ส.อันเป็นเหตุให้ส.ส.สิ้นสุดลง ทั้งสองกรณีดังกล่าว มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เขียนไว้โดยชัดเจนว่าให้มีผลย้อนหลังได้ แต่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้บัญญัติกรณีการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีให้มีผลย้อนหลังได้ คำวินิจฉัยทั้ง 2 ดังกล่าวจึงเป็นคนละกรณีกับคดีนี้ จึงไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้

ส่วนข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่า บันทึกการประชุมกรธ.ครั้งที่ 500 ระบุเจตนารมณ์การจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรคสี่ ประกอบกับประธานกธ.และรองประธานกรธ.คนที่ 1 ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การประชุมดังกล่าว เป็นเพียงการอธิบายแนวความคิดของกรธ.ในการจัดทำรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร และเป็นการพิจารณาภายหลังรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือน ประกอบกับความเห็นของประธานกธ.และรองประธานกรธ.คนที่ 1 ที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง มิได้นำไประบุไว้ในความมุ่งหมายและคำอธิบประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 นอกจากนี้ตามบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมกรธ.ที่พิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ตามาตรา 158 วรรคสี่ ไม่ปรากฏประเด็นในการพิจารณา หรืออภิปรายเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า สามารถนับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับในวันที่ 6 เมษายน 2560 และผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 264 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง จึงเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ ต้องอยู่บภายใต้บังคับตามมาตรา 158 วรรคสี่

 

ศาลรัฐธรรมนูญวิจิฉัยในตอนท้ายว่า การให้ครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นครม.ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนี้จะต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ เป็นวันเริ่มต้นเข้ารับตำแหน่ง ผู้ถูกร้องจึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามความในมาตรา 264 รัฐธรรมนูญ 2560 นับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ผู้ถูกร้องจึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังไม่ครบกำหนดเวลาตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องจึงไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมาก จึงวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่

 

ทั้งนี้มีรายงานว่ามติเสียงข้างมากของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคือ 6 ต่อ 3 เสียง สำหรับ 6 เสียงข้างมาก ประกอบด้วย 1.นายวรวิทย์ กังศศิเทียม, 2.นายปัญญา อุดชาชน 3.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ 5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์, และ 6.นายวิรุฬห์ แสงเทียน ส่วน 3 เสียงข้างน้อย ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2.นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์, และ 3.นายนภดล เทพพิทักษ์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น