สศช. ชงครม.เยียวยา 3จว.แดงเข้มเพิ่มเติม แรงงานใน-นอกระบบ กว่า 1.3 ล้านคน

ครม.เตรียมพิจารณาเยียวยาอีก 3 จังหวัดสีแดงเข้มตามประกาศ ศบค. ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา  ด้าน“สุชาติ” เผยเป็นพื้นที่เศรษฐกิจมีแรงงาน ม.33 มากกว่า 1 ล้านคน นอกระบบอีกกว่า 3 แสนคน

พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากที่บ้าน เพื่อเป็นการลดจำนวนเจ้าหน้าที่และลดการเดินทางตามมาตรการของรัฐ โดยวาระครม.ที่น่าสนใจติดตามวันนี้ เป็นการขออนุมัติมาตรการเยียวยาช่วยเหลืออีก 3 จังหวัดที่ถูกประกาศให้ล็อกดาวน์เพิ่มเติม คือ จ.ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับความเข้มข้นของการล็อกดาวน์ และเพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) รวมเป็น 13 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน

 

ขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงาน และผู้ประกอบการอันเนื่องมาจากข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 28) เพิ่มอีก3 จังหวัดนั้น ทำให้ต้องมีการขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือแรงงานทั้งในและนอกระบบประกันสังคมในพื้นที่ดังกล่าวจากเดิมที่ ครม.เคยอนุมัติไว้แล้วเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งอนุมัติการจ่ายเงินเยียวยาแรงงาน 9 กลุ่มธุรกิจ วงเงิน 30,000 ล้านบาท ในขณะที่การช่วยลดค่าครองชีพค่าน้ำค่าไฟฟ้าวงเงิน 12,000 ล้านบาท เป็นการช่วยเหลือทั้งประเทศอยู่แล้ว

 

ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน ส่งข้อมูลแรงงานใน 3 จังหวัดที่ประกาศเพิ่มเติมให้ สศช.แล้ว ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจมีแรงงานทั้งในและนอกระบบจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานในระบบประกันสังคมตาม ม.33 รวม 1 ล้านคน โดยชลบุรีมากที่สุด 7 แสนคน รองลงมาพระนครศรีอยุธยาและฉะเชิงเทรา รวมกันมากกว่า 3 แสนคน

 

สำหรับมาตรการเยียวยาใน 3 จังหวัด จะมีรูปแบบที่ ครม.อนุมัติ คือ การเยียวยาแรงงานในระบบประกันสังคมและนอกระบบ โดยในระบบประกันสังคมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มแรงงาน ม.33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุดไม่เกิน10,000 บาท

2.ผู้ประกอบการหรือนายจ้างตามหลักการให้ความช่วยเหลือ ได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน อัตรา 3,000 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน

3.ผู้ประกันตนตาม ม.39 และ ม.40 สัญชาติไทยที่ยังประกอบอาชีพจะได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่เป็นผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 สัญชาติไทย ที่ยังประกอบอาชีพให้เตรียมหลักฐานลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ม. 40 ภายในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อรับความช่วยเหลือ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รมว.สาธารณสุข" เตรียมลุยติดตั้ง "ตู้ห่วงใย" ช่วย "บัตรทอง" หาหมอสะดวกขึ้น
เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม "รมว.ปุ๋ง" ชวนสัมผัสเสน่ห์พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน รื่นเริง การแสดงศิลปวัฒนธรรมแบบเต็มอิ่ม งานฉลอง 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
"อัยการคุ้มครองสิทธิฯ" เยี่ยมครอบครัวเหยื่อ ตึก สตง.ถล่ม
ศาลอนุญาตให้ประกัน 3 ผู้ต้องหาคนไทย คดีนอมินีไชน่า เรลเวย์ฯ แล้ว
"ทบ." ขอแสดงความเสียใจ ครอบครัวผู้เสียชีวิต ปมอุบัติเหตุรถยนต์ทหาร เฉี่ยวชนกับจยย.พ่วงข้าง
สำนักวาติกันเตรียมจัดพิธีศพโป๊ปเสาร์นี้
"นายกฯ" ถกเข้มมาตรการสวมสิทธิ์สินค้าไทย จ่อปรับ กม.-เพิ่มบทลงโทษ
สหรัฐจ่อเก็บภาษีโซลาร์เซลล์ไทย 375%
ไฟไหม้เที่ยวบินเดลต้าเร่งอพยพผู้โดยสารอเมริกัน
โป๊ปสิ้นพระชนม์จากภาวะหัวใจล้มเหลว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น