ปัจจุบันนันทพงศ์ทำงานเป็นนักแปลประจำโครงการทางรถไฟจีน-ไทย ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายทางรถไฟข้ามเอเชีย และจะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงรางมาตรฐานสายแรกของไทย
ทางรถไฟจีน-ไทย จะเป็นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดชายแดนอย่างหนองคาย ซึ่งจะมีสะพานเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว ทำให้อนาคตสามารถเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านลาว ไปสู่นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ด้าน วิโรจน์ ลับกฤชคม วิศวกร วัย 59 ปี กล่าวว่าทางรถไฟจีน-ไทย เป็นมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของการเชื่อมต่อ
ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าเมื่อทางรถไฟจีน-ไทย เปิดดำเนินการแล้ว ไม่เพียงแต่จะกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางรถไฟฯ ในไทย แต่ยังผลักดันการเชื่อมโยงเครือข่ายทางรถไฟทั่วเอเชีย และส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค
เครดิต: ซินหัว