“หมอมนูญ” เตือน มุดโพรงต้นไม้ในป่า เสี่ยงปอดติดเชื้อรามูลค้างคาว แนะติดป้ายอันตราย

หมอมนูญ เตือนนักท่องป่าเดินเข้าโพรงต้นไม้ใหญ่ดูค้างคาว เสี่ยงปอดติดเชื้อราเป็นโรคฮิสโตพลาสโมซิส หลังล่าสุดเอกซเรย์ปอดพบป่วย 7 รายมีจุดกระจายทั่วปอด แนะติดป้ายอันตรายห้ามเข้า

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่า ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า การเดินเข้าไปในโพรงต้นไม้ใหญ่ในป่า เพื่อชมค้างคาวในเวลาเพียง 2-15 นาที จะหายใจสปอร์ของเชื้อราฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม (Histoplasma capsulatum) ลอยขึ้นมาในอากาศจากมูลค้างคาวที่ตกลงบนพื้นดิน เข้าไปในปอด ทำให้ป่วยเป็นโรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 มีคณะเดินทางศึกษาธรรมชาติเข้าไปในโพรงต้นไม้ เท่าที่ทราบ 7 ใน 10 คนของคณะนี้ 2-3 สัปดาห์หลังเข้าโพรงต้นไม้ บางคนเริ่มป่วย ไอ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เอกซเรย์ปอด 7 คน มีจุดขนาดแตกต่างกันกระจายทั่วปอด ไล่ตั้งแต่คนมีจุดเล็กที่สุดในปอดขนาด 3 มิลลิเมตร (ดูรูป) ไปถึงคนที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาด 1 เซนติเมตรกระจายทั่วปอด (ดูรูป) คนที่มีก้อนในปอดพิสูจน์แล้วว่าเป็นโรคฮิสโตพลาสโมซิส ด้วยการตัดชิ้นเนื้อจากปอด พบเชื้อรา Histoplasma capsulatum เจริญเติบโตแบ่งตัวในปอด ต้นไม้ที่มีโพรงนี้ชื่อไทย “ช้าม่วง”

เป็นต้นไม้กลุ่มวงศ์ยาง อายุกว่า 100 ปี สูงกว่า 40 เมตร โพรงต้นไม้นี้เกิดตามธรรมชาติ แคบเข้าได้ทีละคน ต้องก้มศีรษะเพื่อเข้าในโพรง มีพื้นที่ในโพรงให้คนเข้าไปได้ 6-7 คน ความสูงของโพรง 3 เมตร (ดูรูป) เป็นที่พักอาศัยของ”ค้างคาวแวมไพร์แปลงเล็ก” Lesser false vampire bat (ดูรูป) บริเวณที่ค้างคาวอยู่สูงถึง 5 เมตรจากพื้น ค้างคาวชนิดนี้อาศัยในถ้ำและโพรงต้นไม้ ต้นไม้ต้นนี้อยู่ในป่าที่สมบูรณ์ โชคดีไม่เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม เพราะต้องให้คนในพื้นที่พาเดินเข้าไป อยู่ในบริเวณคลองวังหีบ หนานตากผ้า ต.นาหลวงเสน อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ผมได้แนะนำให้ติดป้ายเตือนที่หน้าโพรงต้นไม้ต้นนี้ “อันตราย ห้ามเข้าในโพรงต้นไม้ อาจติดเชื้อราจากมูลค้างคาว” (ดูรูป) และใครที่เคยเข้าไปในโพรงต้นไม้ต้นนี้ โดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย ควรไปหาแพทย์ ขอทำเอกซเรย์ปอด และแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่า ตัวเองอาจติดเชื้อราที่ก่อโรคฮิสโตพลาสโมซิส คนที่อายุน้อยสุขภาพแข็งแรง ถึงติดเชื้อรา ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ หายเองได้ ไม่ต้องรักษา คนที่อายุมากมีโรคประจำตัว ต้องรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อรา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สีจิ้นผิงชื่นชมความสำเร็จมาเก๊าหลัง 25 ปีใต้ร่มเงาจีน
รัสเซียจับผู้ต้องสงสัยลอบสังหารนายพลคิริลอฟ
“รัชดา” โพสต์ภาพคู่ “องคมนตรีลุงตู่” ชาวเน็ตถล่มไลค์ให้หาย “คิดถึง”
จีนสอนหลาก ‘วิชากีฬาฤดูหนาว’ ในฮาร์บิน
“พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม พื้นที่อำเภอสิชลนครศรีธรรมราช
ด่วน! เปิดภาพลับ ”ทหารไทย-ว้า” ก่อนวันเดดไลน์ โซเชียลวิจารณ์สนั่น
"แม่ทัพภาคที่ 3" ปัด 18 ธ.ค.นี้ ขีดเส้นตายขับไล่ "กลุ่มว้าแดง" ยืนยันอยู่ในขั้นตอนเจรจา
"TOPNEWS" จัดงานกอล์ฟการกุศล ครั้งที่ 3 ประจำปี 67 ระดมทุนช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง
โซเชียลวิจารณ์เพียบ สส.พรรคส้มยื่นร่างกม.แรงงาน เพิ่มสิทธิอื้อ ขึ้นค่าจ้าง ทำงานไม่เกิน 8 ชม.
ปธ.กกต.ลงนามตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง 415 คน ดูแลศึกเลือก อบจ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น