วันที่ 4 ตุลาคม ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong ว่า น้ำท่วมครึ่งประเทศไทย: ฝน 165.5 มม. ที่แจ้งวัฒนะเมื่อวานนี้ ร้ายแรงแค่ไหนในทางสถิติ
ดร.สันต์ ทำกราฟปริมาณฝนตกใน กทม.ย้อนหลัง 5 ปี ดูจากสถิติบอกเลยยังไม่จบ ช่วงที่น่ากังวลที่สุดของ 5 ปีก่อนหน้าคือ 11 - 17 ต.ค.
ข่าวที่น่าสนใจ
ผมทำกราฟ กทม.ย้อนหลัง 5 ปี + ปีนี้ มาดูเทียบกันครับ
ปริมาณฝนที่แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. เมื่อวานนี้สูงมากถึง 165.5 มม. มีความน่าสนใจทางตัวเลขครับ
1. ฝน 165.5 มม. สูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ในรอบ 6 ปี โดย 2 ครั้งก่อนหน้านี้เกิดในปี 2560
2. ฝน 165.5 มม. เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในปีนี้
3. ปริมาณฝนที่มากกว่า 120 มม. เกิดขึ้น 20 ครั้งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา โดยเกิดในปีนี้ไปแล้วถึง 8 ครั้ง
4. จากข้อ 3 ฝนหนักเกิดขึ้นถึง 5 ใน 20 ครั้ง ช่วงหลัง 10 ต.ค. ของ 5 ปีก่อน แปลว่าปีนี้น่าจะยังไม่จบ ต้องลุ้นต่อ
5. ตัวเลขช่วงที่น่ากังวลที่สุดของ 5 ปีก่อนหน้าคือ 11 – 17 ต.ค. เกิด 120 มม.ถึง 4 ครั้งและน้ำเหนือก็จะลงมาถึง และน้ำทะเลก็ยังหนุนสูงอยู่
ปีนี้ฝนหนักจริง ๆ ครับ ส่วนสำคัญมาจากลานินญ่า และเป็นลานินญ่าที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จาก Climate Crisis เมื่อเดือนก่อนหลาย ๆ คนคงยังไม่ค่อยเชื่อเรื่องน้ำท่วมกับโลกร้อน ผ่านมาเดือนกว่า ๆ น้ำท่วมไปครึ่งค่อนประเทศแล้ว ก็หวังจริง ๆ ว่าความคิดน่าจะเริ่มเปลี่ยนกันได้ นี่เพิ่งเริ่มเดือน ต.ค. จากสถิติบอกเลยว่ายังไม่จบ และน้ำในเขื่อนตอนนี้ก็มากเหลือเกิน ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาดูเรื่องน้ำเขื่อนย้อนหลัง 10 ปีกับความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมระดับปี 2554 กันต่อครับ ต้องบอกเลยว่า ตัวเลขตอนนี้ ผมไม่สบายใจเลยครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง