“รมว.มหาดไทย” ชี้ หากมรสุม-พายุไม่ซ้ำเติม จะสามารถจัดการมวลน้ำได้ หวังไม่ซ้ำรอยน้ำท่วมปี 54

"รมว.มหาดไทย" ชี้ หากมรสุม-พายุไม่ซ้ำเติม จะสามารถจัดการมวลน้ำได้ หวังไม่ซ้ำรอยน้ำท่วมปี 54

วันนี้ (5 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เผยสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันว่า มวลน้ำจะมาถึง จ.อุบลราชธานี วันที่ 8 ตุลาคมนี้ จะเป็นวันที่พีคสุด ส่วนระดับแม่น้ำโขงยังต่ำกว่าตลิ่ง จะเร่งระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยา การระบายน้ำของเขื่อนชัยนาทและเขื่อนเจ้าพระยา บวกกับแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำยังไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ถ้าไม่มีฝนเติมเข้ามาอีก

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนสถานการณ์น้ำภาพรวมจะไม่ซ้ำรอยกับปี 2554 ใช่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ถ้าไม่มีพายุหมุนฤดูร้อนเข้ามา หรือร่องมรสุมพาดผ่าน คาดว่าจะมีร่องมรสุมที่มาจากอิทธิพลความกดอากาศจากประเทศจีน ทำให้ร่องมรสุมต่ำทำให้เกิดฝนทางภาคใต้ของไทย ถ้าเป็นอย่างนั้น ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะได้รับผลกระทบน้อย ส่วนปี 2554 มีพายุหมุนฤดูร้อน 3 ลูก และมีร่องมรสุมพาดผ่านติดต่อกัน 3 ครั้ง จึงทำให้มีฝนมาก และระบายน้ำไม่ทัน แต่ปีนี้จะหนักในบริเวณน้ำไหลผ่าน ถ้าไม่มีมรสุมหรือร่องมรสุมเข้ามาอีก จะสามารถบริหารจัดการน้ำได้

เมื่อถามว่า ทุกพื้นที่มีแผนการรับมือ และแผนการเยียวยาประชาชนไว้พร้อมแล้วใช่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เมื่อเรารู้สถานการณ์น้ำก็จะต้องประเมินสถานการณ์ มวลน้ำจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิต และการสัญจร เราต้องเตรียมการ เช่น ที่พักพิงและการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ให้พร้อม เรากำลังดำเนินการอยู่ในทุกพื้นที่ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายร่วมกันดำเนินการ ส่วนเรื่องแผนเยียวยาเรามีระเบียบกระทรวงการคลังอยู่แล้วว่าจะทำอย่างไร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการว่า ถ้าเริ่มฟื้นฟูเยียวยาได้ ก็ให้เร่งสำรวจความเสียหายโดยเร็ว ดังนั้นทุกฝ่ายเตรียมการเรื่องข้อมูลในทุกพื้นที่ไว้แล้ว จะเร่งสำรวจและเร่งจ่ายเงินเยียวยาโดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ที่อาศัยที่จะเข้าไปซ่อมแซม

ส่วนกรณีที่ชาวบ้านเกิดความขัดแย้งให้ระบายน้ำ จะทำความเข้าใจอย่างไร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ประชาชนบางส่วนไม่อยากให้ปล่อยน้ำไปที่ทุ่ง เราไม่สามารถยั้งน้ำเหนือได้ ถ้าไม่เปิดก็อาจจะท่วมจึงต้องเปิดประตูระบายน้ำ แต่ชาวบ้านบางส่วนขอให้ทยอยปล่อย ให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด ถ้าปล่อยมากจะได้รับผลกระทบมาก ฉะนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจต่อประชาชนว่าเราต้องปล่อยเพื่อให้น้ำผ่านไปทัน อีกทั้งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ดูแลเรื่องนี้ เพราะน้ำจะเชื่อมต่อกันหมด จึงต้องดูว่าจะเปิดหรือปล่อยน้ำที่ไหน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
"ดร.ปณิธาน" ยกพัทยาโมเดล แก้ปัญหา "ชาวอิสราเอล" ล้นเมืองปาย แนะหน่วยมั่นคงบังคับใช้กม.ใกล้ชิด
"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ
นายกฯ รับรายงาน ตร.ไทย-กัมพูชา ร่วมมือทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฝั่งปอยเปต ช่วยเหยื่อคนไทยนับร้อย หลุดพ้น
“เทพไท” เชื่อ 44 อดีตสส.ก้าวไกล ลงชื่อรื้อ แก้ 112 ถูกตัดสิทธิ์ กระทบหนักยิ่งกว่าถูกยุบพรรค
"หม่องชิต ตู่" ส่งกำลังทหารกว่า 150 นาย คุมเข้มเคเคปาร์ค จับหัวหน้าแก๊งคอลเซนเตอร์ กวาดต้อน 450 เหยื่อต่างชาติ
ใต้ป่วนต่อเนื่อง คนร้ายลอบวางบึ้มหน้าร้านสะดวกซื้อ บันนังสตา ตร.เจ็บ 7 นาย-ชาวบ้านอีก 4 เช้านี้บึ้มรถยนต์อีก หน้าห้างสนามบินนราฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น