ครม.ต่อพ.ร.ก. ฉุกเฉินอีก2เดือน 1ส.ค. – 30ก.ย.

ครม.เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 2 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2564

วันที่20 ก.ค. 2564 น.ส.ไตรศุลี  ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า  คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 2 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2564 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)เสนอ  ซึ่งประกาศฉบับเดิมจะสิ้นสุดในวันที่ 31กรกฎาคม 2564 นี้  โดยสมช.ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) (ศบค.) เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ซึ่งในที่ประชุมปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานการแพร่ระบาดว่า สถานการณ์ในระดับโลก ยังพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากในหลายภูมิภาค ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้ออยู่ในอันดับที่ 62  อันดับหนึ่งคือสหรัฐอเมริกา อันดับสอง อินเดีย และอันดับสาม บราซิล

 

สำหรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในไทยระลอกเดือน เมษายน 2564 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 9 กรกฎาคม 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมจำนวน 288,643 ราย  ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากกว่าหลายพันคนต่อวัน และมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด -19 เป็นชนิดสายพันธุ์ใหม่(เดลต้า) สามารถแพร่ระบาดและติดต่อกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังพบสายพันธุ์เบต้า ที่มีความรุนแรงมาก อาจส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงขึ้น ขณะเดียวกันยังพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในจังหวัดที่มีสถานประกอบการ โรงงาน ตลาดค้าส่ง  และพบการระบาดต่อเนื่องจากผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับภูมิลำเนา ที่พักแรงงานก่อสร้างชั่วคราว ครอบครัว ตลาด สถานที่ทำงาน และสถานที่ชุมชนต่างๆ

 

สำหรับแนวโน้มการแพร่ระบาดในระยะต่อไป กระทรวงสาธารณสุขประเมินว่าจะมีผู้ติดเชื้อจำนวน 10,000รายต่อวัน หรือมีผู้ป่วยสะสมมากกว่า 100,000 ราย ภายในระยะเวลา 14 วัน ซึ่งจะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในอัตราเกิน 100 รายต่อวัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการกำหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อควบคุมและแก้ไขสถานการณ์โดยเร็ว เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านสาธารณสุข จะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระต่อบุคลากรทางการแพทย์ เตียงรักษา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์

 

ทั้งนี้ศปก.ศบค. พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและระยะต่อไปยังคงเป็นภัยคุกคามความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ออกไป เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการควบคุมและระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในสุขภาพและชีวิตของประชาชน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อนุทิน" สุดกลั้นน้ำตาคลอ มอบเงินเยียวยาทายาทผู้เสียชีวิต เหตุตึกสตง.ถล่ม
"ดร.พิชาย"สวนคำ"อดีตผู้ว่าสตง."เหตุอาคารถล่ม ไม่เกี่ยวฮวงจุ้ย แต่มันคือความพังทลายจริยธรรมการใช้อำนาจ
"ผบ.ตร." ลั่นผมไม่มีญาติแบบนี้ ซัด"ลูกนายกเบี้ยว" โอ้อวดโชว์สนิทเรียก "อาต่าย"
เปิดใจญาติห่วง "ลุงประจักษ์" เหยื่อ BMW หวั่นอาการแย่ เพราะป่วยเป็นโรคหัวใจโต
"เพจดังชมรม STRONG ต้านทุจริต" แฉสภาพเพดาน-คาน-ปล่องลิฟท์ตึก สตง. เทคอนกรีตไม่เต็ม รูโบ๋
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนเร่งปฏิรูปวงการประกันภัยและธนาคารด้วย AI .
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนสร้างสถิติ 'ชาอัดก้อน' หนักสุดในโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนผลักดันเกษตรทันสมัยด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยี .
"ดีเอสไอ-โยธาฯ" ประชุมลับ ตรวจเอกสารหลังเข้าค้น กิจการร่วมค้า 4 บริษัท ด้านวิศวกร 2 คน ขอให้ข้อมูลเป็นการส่วนตัว
"2 เศรษฐีใจบุญ" บริจาคเงินกว่า 40 ล้านบาท ช่วยหลายรพ. เผยเป็นผู้ให้แล้วรู้สึกอิ่มเอมใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น