กรมควบคุมโรค เผย เริ่มฉีด “ไฟเซอร์” บูสเตอร์โดส ส.ค.นี้ พร้อมยืนยันจองวัคซีนไว้แล้ว 100 ล้านโดส

อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุ เริ่มฉีดไฟเซอร์ บูสเตอร์โดส ส.ค.นี้ พร้อมยืนยันจองวัคซีนไว้แล้ว 100 ล้านโดส

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า วันนี้ได้ลงนามสัญญาจัดหาวัคซีน mRNA ระหว่างกรมควบคุมโรคและบริษัทไฟเซอร์ จำกัด จำนวน 20 ล้านโดส หลังจาก ครม.อนุมัติให้ลงนามในสัญญา ซึ่งตามแผนที่วางไว้จะส่งมอบภายในไตรมาส 4 และสหรัฐอเมริกาจะส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์บริจาคให้ไทย 1.5 ล้านโดสจะมาปลายเดือนนี้ ทำให้ฉีดครอบคลุมประชาชนมากขึ้นและควบคุมสถานการณ์โรคดียิ่งขึ้น

ส่วนปี 2565 จะหามาเพิ่มเติมต่อไป ตอนนี้ภาพรวมเราลงนามสัญญากับแอสตร้าเซนเนก้า 61 ล้านโดส จัดหาซิโนแวค 19 ล้านโดส และไฟเซอร์ 20 ล้านโดส จะมีวัคซีนที่จองซื้อและส่งมอบกันตามสัญญา 100 ล้านโดสในปี 2564 แต่ความต้องการฉีดวัคซีนของประชาชนมีจำนวนมาก สธ.จะจัดหามาเพิ่มเติม หากมีข่าวดีจะแจ้งให้ทราบต่อไป

นพ.โอภาส เปิดเผยอีกว่า สำหรับการลงนาม 3 ฝ่ายระหว่างกรมควบคุมโรค แอสตร้าเซนเนก้า และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2563 มีข้อตกลงว่าจะไม่เปิดเผยความลับในสัญญา ถ้าจะเปิดเผยต้องได้รับความยินยอม 3 ฝ่าย มิเช่นนั้นถือว่าทำผิดสัญญา ซึ่งอาจเป็นปัญหาได้ เพราะเมื่อผิดสัญญาก็อาจถูกยกเลิก ไม่มีการส่งวัคซีนให้ประเทศไทย การรักษาสัญญาเป็นเรื่องสำคัญ แต่ในสัญญาไม่ได้มีประเด็นอะไรซับซ้อน แต่ภาคเอกชนทำสัญญากับรัฐเขาคำนึงความลับทางการค้าที่อาจมีผลกับการทำสัญญากับอีกหลายประเทศ และการทำสัญญากับแอสตร้าฯ เป็นช่วงที่ยังไม่มีการผลิต จึงไม่สามารถกำหนดจำนวนที่ผลิตและจัดส่งให้ได้ จึงต้องเจรจากันล่วงหน้าในแต่ละเดือน

นพ.โอภาส เปิดเผยต่อว่า สำหรับผลการศึกษาการใช้ “ซิโนแวค” ในสถานการณ์จริงของประเทศไทย โดยติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า จ.ภูเก็ตฉีดเมื่อ เม.ย.- พ.ค. 64 ป้องกันการติดเชื้อ 90% สมุทรสาครช่วง เม.ย.ป้องกันติดเชื้อประมาณ 90% แต่เป็นช่วงของสายพันธุ์อัลฟา ส่วน มิ.ย.มีการระบาดในบุคลากรทางการแพทย์เชียงราย ศึกษาพบว่าประสิทธิภาพอยู่ที่ 82.8% แม้จะลดลง แต่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ส่วนการติดเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ทั้งประเทศรวบรวมโดยกรมควบคุมโรค ช่วง พ.ค.พบว่าป้องกันการติดเชื้อ 70.9% ข้อสังเกตคือประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเริ่มลดน้อยลง เพราะเชื้อกลายพันธุ์ เป็นสาเหตุที่ต้องหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อให้ดีขึ้น เป็นที่มาของการปรับสูตรฉีดวัคซีน

ขณะเดียวกันมีการศึกษาหลายหน่วยงาน ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และไบโอเทค พบว่า หากนำซิโนแวคเป็นเข็มแรก เว้น 3-4 สัปดาห์ฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเข็มสอง ประสิทธิภาพป้องกันโรคสูงขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบกับการฉีดซิโนแวค 2 เข็ม รวมถึงทำให้การฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะจากเดิมแอสตร้าฯ 2 เข็มต้องเว้นช่วง 12 สัปดาห์ หากปรับสูตรฉีดก็ใช้เวลา 4 สัปดาห์ ทำให้ภูมิคุ้มกันคนรับวัคซีนครบเพิ่มขึ้นมาก รองรับสถานการณ์การระบาดได้ดียิ่งขึ้น” นพ.โอภาสกล่าว

เมื่อถามถึงกรณีตัวเลข รพ.เอกชนและสถานเสริมความงามส่งรายชื่อบุคลากรจำนวนมาก เพื่อขอการจัดสรรวัคซีน นพ.โอภาส กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส จะมาถึงไทยปลายเดือนนี้ โดยจะเริ่มต้นฉีดได้ช่วงเดือนส.ค. ในการจัดสรรฉีดวัคซีนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ง สธ.และความเห็นชอบจาก ศบค. กำหนดดังนี้ 1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด หรือผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกันที่ฉีดไปแล้ว 2 เข็ม จะมีการกระตุ้นเข็ม 3 หรือ บูสเตอร์โดส 2.กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ระบาด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนเตือน ‘ฟิลิปปินส์’ ถอนระบบขีปนาวุธสหรัฐฯ ตามคำมั่น
ซานต้าเริ่มตระเวนแจกของขวัญในวันคริสต์มาสอีฟ
บริกส์รับไทยเป็นหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการมกราคมปีหน้า
ตำรวจเปรูปลอมตัวเป็น “เดอะ กริ๊นช์” ทลายแก๊งยาเสพติด
ปูตินเผยคืบหน้าแผนพัฒนาดินแดนยึดครองรัสเซีย
อธิบดีกรมการจัดหางาน รับมีการซื้อใบรับรองแพทย์ 'ตรวจโรคต่างด้าว' ขอความร่วมมือนายจ้างเข้มงวด หวั่นเกิดโรคระบาด
"แพทย์" เชียงใหม่ ยัน "แรงงานต่างด้าว" ห้ามหลีกเลี่ยง ต้องตรวจ 6 โรคร้ายแรง ก่อนทำงานในไทย
ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ค่าตอบแทน "ผู้เสียหายในคดีอาญา" ช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อ
"กิตติรัตน์" โพสต์ไม่มีอะไรค้างคาใจ "กฤษฎีกา" ชี้คุณสมบัติ ขัดนั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
"ทักษิณ" ลั่นเวทีเชียงใหม่ รับตำแหน่งสทร.ลุยทุกเรื่อง แขวะแรงทหารยึดอำนาจ ฟุ่ง" นายกอิ๊งค์" สไตล์ทำงานเหมือนตัวเอง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น